ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 59' 21.9304"
15.9894251
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 19' 55.0708"
102.3319641
เลขที่ : 115792
ช่างจักสานกระติบข้าว
เสนอโดย ชัยภูมิ วันที่ 27 กันยายน 2554
อนุมัติโดย ชัยภูมิ วันที่ 3 เมษายน 2563
จังหวัด : ชัยภูมิ
1 2021
รายละเอียด

คำขวัญอำเภอคอนสวรรค์

กาหลงคอนสวรรค์ สำคัญพระใหญ่ ผ้าไหมมัดหมี่ มากมีหมอนขิด วิจิตรกระติบสาร

ชาวบ้านสุขหลาย มากมายนกเป็ดน้ำ งามล้ำวัฒนธรรม

ประวัติความเป็นมาของอำเภอ

เมืองคอนสวรรค์ เป็นเมืองเก่าโบราณเดิมชื่อว่า “เมืองกาหลง” เหตุที่มีชื่อว่า กาหลง

เนื่องจากเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร ผลาหาร ปักษาหาร ผลไม้นานาชนิด นก กา

บินผ่านเข้ามาหากินจนเพลินกับอาหารที่อุดมสมบูรณ์จนลืมกลับรัง (ที่ตั้งเดิมของเมืองกาหลงปัจจุบัน

คือ บ้านคอนสวรรค์ ม. ๘ ,๙,๑๑,๑๕ ตำบลคอนสวรรค์) เมืองกาหลง สันนิษฐานว่าจะสร้างพร้อมกับ

เมืองโคราช ตามตำนานเล่าว่าผู้สร้างเมืองคอนสวรรค์ หรือ เมืองกาหลง คือ พระยาขุนหาญ ซึ่งเป็น

ญาติกับเจ้าเมืองโคราช แต่จะสร้างปี พ.ศ. ใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด จากการค้นพบวัตถุโบราณสันนิษฐานว่าสร้างมาก่อน พ.ศ. ๒๓๖๙ ในสมัยทวารวดี ครั้นต่อมาเกิดสงครามชิงเมืองก่อให้เกิด

ความแตกแยกเป็นกลุ่มๆ บ้าง ก็อพยพไปอยู่ถิ่นอื่น เช่น บ้านแท่น บ้านมอญ บ้านดอนไก่เถื่อน

บ้านพักเกวียน บ้านเพชรใหญ่ ส่วนพวกที่ยังคงอยู่เมืองกาหลง ก็สร้างแปลนเมืองใหม่และเปลี่ยน

ชื่อเมืองกาหลง เป็นเมืองสวนหม่อน อยู่ต่อมาได้ระยะหนึ่ง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองคอนสวรรค์

ดังปรากฏเป็นชื่อบ้านคอนสวรรค์ มาจนทุกวันนี้

กระติบข้าว และก่องข้าว

กระติบข้าวและก่องข้าว เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวของชาวอีสาน ความแตกต่างของ

ภาชนะทั้งสองอยู่ที่รูปทรง โดยก่องข้าวจะมีลักษณะคล้ายกระบุงมีฝาปิดและมีขาทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็น

ฐานแยกสี่แฉก การสานด้วยไม้ไผ่มีความแน่นหนา เก็บขอบด้วยหวายโดยรอบ ส่วนกระติบข้าวนั้นพบเห็นได้ทั่วไปเป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาลหรือไม้เนื้ออ่อนขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายกว่าก่องข้าวเพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัว ก่องข้าวใช้ตอกที่ทำจากติวไม้ไผ่ (ส่วนผิว) ซึ่งมีความแข็งจึงสานยากกว่า ทำให้กระติบข้าวมีความแข็งแรงน้อยกว่า

ก่องข้าว ก่องข้าวและกระติบข้าวเป็นภาชนะในการเก็บอาหารที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา

เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบ

หรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็งซึ่งถูกนำมาใช้แทน ก่องข้าว หรือกระติบข้าว

ที่จำเป็นต้องใช้ผ้าขาวบางรองอีกที ก่อนบรรจุข้าวเหนียวถึงกระนั้นเม็ดข้าวที่อยู่ชิดรอบขอบกระติก

ก็ยังคงแฉะอยู่ดี ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้นชั้นในสุดจะสานด้วยตอก

ให้มีช่องว่างระหว่างตอกสานเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้

ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบหรือก่องข้าวยังคงความร้อนได้อีกนานโดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะจึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติก

ยุคใหม่ ในกรณีของกระติบข้าวจะเห็นว่าฝาปิดและตัวกระติบจะมีลักษณะที่เหมือนกันเพียงแต่มีขนาด

ที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลมมีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อยยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ(ปัจจุบันนี้ใช้เชือกไนล่อน

เพราะหาง่ายราคาถูกกว่า)

ช่างจักสานกระติบข้าว

การจักสานกระติบข้าว เป็นภูมิปัญญาในการทำภาชนะจากไม้ไผ่ ภาชนะเหล่านี้ใช้สอยมานานในท้องถิ่นอีสาน การทำต้องมีเทคนิค มีความรู้ในการคัดเลือกไม้ เพราะไม้ไผ่ที่จะสานกระติบข้าวได้ดี ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะการเลือกไม้ไผ่เป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษจะถ่ายทอด ต่อลูกหลานสืบมากล่าวคือ ไม้ไผ่ที่นิยมใช้ในการสานกระติบข้าวแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ ไม้บง หรือไม้ไผ่ตรง ไม้คาย และไม้ปล้องห่าง

คุณสมบัติของไม้ไผ่ที่ดีที่สุด คือ ไม้คาย จะเหนียวที่สุด และจักตอกง่าย ส่วนไม้บงจะมีคุณภาพรองลงมา

การสานกระติบข้าว ด้วยไม้ไผ่ทำกันอยู่หลายหมู่บ้าน ในจังหวัดชัยภูมิ แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ คือ กระติบข้าวบ้านสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

คำบอกเล่า/ตำนานของผลงาน

ความเป็นมาของงานจักสานกระติบข้าว เริ่มแรกจากตระกูลโสมชัยภูมิ มีการถ่ายทอด

การสานกระติบข้าวให้แก่ลูกหลานสืบต่อมา ทำในครัวเรือนสำหรับไว้ใช้ใส่ข้าวเหนียว ต่อมานายหมา

นางแหว โสมชัยภูมิ รับมรดกสืบทอดงานจักสาน และได้มีกรถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน สืบต่อกันมา

โดยมีการถ่ายทอดให้แก่บุตรสาว คือ นางคำภา ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้ขยายแพร่จากครอบครัว เป็นหลาย ๆ ครอบครัว จนถึงปี ๒๕๒๔ มีครอบครัวสานกระติบข้าวประมาณ ๕๐ % ของตำบล เนื่องจากมีรายได้ดี

มีผู้สนใจมาก

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอ และพัฒนาการอำเภอ

คอนสวรรค์ สำหรับจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เช่น มีด ไม้ไผ่ เส้นหวาย และมีการรวมจัดตั้งเป็นกลุ่ม

ชื่อ กลุ่มผู้นำอาชีพก้าวหน้า ซึ่งนางคำภา อาฤทธิ์ เป็นประธานกลุ่ม

เมื่อมีการรวมเป็นกลุ่ม มีการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย สำหรับใส่ข้าวเหนียว และสำหรับเป็นของชำร่วย ของขวัญ เช่น รูปหัวใจ รูปวงรี รูปวงกลม

ขั้นตอนกระบวนการผลิต/วิธีทำ

ขั้นเตรียมการ

๑) คัดเลือกไม้ไผ่

- ภูมิปัญญาเรื่องการคัดเลือกไม้ไผ่ คือ ไม้ไผ่ที่ใช้ในการจักสานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า๑ ปี

นำไม้ไผ่ไปรมควันให้เปลือกนอกสุก เพื่อป้องกันมอด และให้ไม้ไผ่มีความเหนียว นำไม้ไผ่มาผ่าเพื่อทำการจักตอกด้วยมีด จักตอกเป็นเส้นนำไปผึ่งแดดให้ความชื้นหมด

ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความสวยงามของเส้นตอก จึงมีการนำเครื่องรีดตอกเข้ามาใช้ เพื่อให้เส้นตอกมีความสวยงามยิ่งขึ้น

๒) เตรียมการย้อมสีตอกด้วยใบขี้เหล็ก

การย้อมสีตอกด้วยใบขี้เหล็กเป็นภูมิปัญญา การนำใบขี้เหล็กซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่นมา

ย้อมเส้นตอก เพื่อให้กระติบข้าว มีลวดลายที่สวยงามและเมื่อนำไปใส่ข้าว จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

ขั้นตอนการย้อมใบขี้เหล็กมีขั้นตอนดังนี้

๑. ต้มน้ำให้เดือด นำใบขี้เหล็กลงไปเคี่ยว ประมาณ ๔ ชั่วโมง จะได้น้ำต้มใบขี้เหล็กที่

มีสีเข้ม

๒. นำเส้นตอกลงไปต้มประมาณ๔-๕ ชั่วโมง

๓. นำเส้นตอกไปตากแดดให้แห้งแล้วนำไปสาน

ขั้นการผลิต

๑) นำเส้นตอกที่เตรียมไว้มาสานขึ้นต้นเป็นลายสอง สานไปเรื่อยๆ เป็นลายสองเวียน แล้วขึ้นโครง

เป็นลายสองยืน สานไปเรื่อยๆจนสุดไม้ตอก

๒) ม้วนปาก (พับเก็บปากกระติบ) เพื่อไม่ให้ตอกหลุด

๓) ใช้กรรไกรตัดตกแต่งขอบ ใช้น้ำราดเนื้อไม้ เพื่อไม่ให้เส้นตอกแตก แล้วพับปากกระติบ เข้าไปข้างใน

จะทำให้ได้รูปทรงตัวกระติบข้าว นิยมสาน๒ ชั้น เพื่อให้เก็บความร้อนได้ดี ทำให้ข้าวเหนียวนิ่ม

และอุ่นอยู่นานไม่แฉะ เพราะไอน้ำจากข้าวนึ่ง จะระเหยออกไปตามลายสานอย่างช้าๆ ไม่กลาย

เป็นหยดน้ำ

๑๒

๔) ขั้นการสานฝาตุ

สานฝาตุ คือ สานส่วนบนของฝากระติบข้าว สานเป็นลายตาเหลว เมื่อสานเสร็จแล้วใช้

กรรไกรตัดให้กลม นำฝากระติบมาประกอบเข้าที่ตัวกระติบข้าว

๕) เจาะรูที่หูกระติบ สอดเส้นหวายเพื่อถักวนรอบๆบนฝากระติบข้าวเพื่อให้ฝากระติบข้าวมีความคงทน

๖) วิธีการทำขากระติบข้าว

นำไม้เนื้ออ่อนมาขัดเป็นวงกลม ไม้เนื้ออ่อนที่นิยมใช้ คือ ไม้ข่อย ไม้มะขามเทศ ไม้มะกอก

เจาะรูที่ไม้เนื้ออ่อน แล้วใช้เส้นหวายยึดกับตัวกระติบข้าว จะได้กระติบข้าวมีขาตั้งพร้อมฝาปิด

ขั้นหลังการผลิต

๑. นำไปใช้สอยในชีวิตประจำวันด้วยการใส่ข้าวเหนียว

๒. สามารถดัดแปลงเป็นกล่องใส่กระดาษทิชชู

๓. สามารถดัดแปลงเป็นกล่องใส่เครื่องประดับ

ระยะเวลาในการผลิต

จำนวน ๑ วัน ต่อ ๑ชิ้นงาน

ลักษณะพิเศษของงาน

การย้อมตอก ย้อมด้วยใบขี้เหล็ก บางครั้งอาจใช้การรมควันเส้นตอก

สถานที่ตั้ง
ตำบล ศรีสำราญ
เลขที่ 129 หมู่ที่/หมู่บ้าน 12 ซอย - ถนน -
ตำบล ศรีสำราญ อำเภอ คอนสวรรค์ จังหวัด ชัยภูมิ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบล ศรีสำราญ
บุคคลอ้างอิง นางคำภา อาฤทธิ์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยภูมิ
เลขที่ 129 หมู่ที่/หมู่บ้าน 12 ซอย - ถนน -
ตำบล ศรีสำราญ อำเภอ คอนสวรรค์ จังหวัด ชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 36140
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chaiyaphum/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่