ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 45' 41.2308"
15.7614530
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 4' 43.3636"
102.0787121
เลขที่ : 116459
ใบเสมาบ้านกุดโง้ง
เสนอโดย ชัยภูมิ วันที่ 10 ตุลาคม 2554
อนุมัติโดย ชัยภูมิ วันที่ 3 เมษายน 2563
จังหวัด : ชัยภูมิ
0 621
รายละเอียด

ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

ที่ตั้ง บ้านกุดโง้งตั้งอยู่ ณ ต.บุ้งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ตรงกับเส้นรุ้ง-แวง 15 47 9 เหนือ 102 6 55 ตะวันออก

การเดินทาง

จากจังหวัดชัยภูมิ ตามทางงหลวงสาย 202 ถึงบ้านกุดตุ้ม เลี้ยวขวาเข้าทางสาย

กุดตุ้ม-บุ้งคล้า เข้าไปตามทางจนถึงหมู่บ้านกุดโง้งและต่อไปถึงวัดกุดโง้ง

ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีลักษณะคล้ายเกาะ มีลำน้ำประทาวล้อมรอบพื้นที่เป็นที่ราบส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับชุมชนสมัยทวารดีอื่นๆ เช่นที่ นครปฐม ฯลฯ คือ บริเวณที่เป็นเมืองโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนจะมีคูน้ำ หรือใช้คูน้ำเป็นคูเมืองล้อมรอบ

การพบใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง

ใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง พบกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณรอบหมู่บ้าน แต่เดิมใบเสมาเหล่านี้จะจมอยู่ในดิน มีเฉพาะส่วนยอดโผล่ขึ้นมาให้เห็น ไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป ยกว้นใบเสมาภาพชาดกที่ไม่ได้ฝังจมดินอยู่เหมือนใบเสมาอื่นๆ แต่ปับอยู่กลางแจ้งขอบเนินดินเตี้ยๆ ขนาดเล็ก 2 เนิน (ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพื้นที่ทำนา) ที่อยู่ห่างจากเขตหมู่บ้านไม่ไกลนักโดยเนินดินแรกพบว่ามีการปักใบเสมาเป็นรูปวงกลมล้อมรอบเนินดิน โดยปักเป็นเสมาคู่ มี 5 จุด ส่วนเนินดินที่ 2 ซึ่งอยู่ห่างจากเนินดินแรกไปทางทิศตะวันตกเล็กน้อย ก็มีลักษณะและทิศทางในการปักเหมือนกัน เนินดินที่ปักใบเสมารูปชาดกทั้งสองนี้ มีขนาดเล็กและไม่พบเศษอิฐหรือซากศาสนสถานบริเวณเนินดินดังกล่าวเลย จึงสันนิษฐานว่าใบเสมาภาพชาดกที่อยู่รอบเนินดินนี้คงใช้ปักเป็นเครื่องหมายแสดงถึงลานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่าที่จะใช้เป็นเสมารอบอุโบลถ และช่วงเวลาต่อมาอาจได้มีการใช้ใบเสมานี้เป็นสิ่งเคารพนับถือภายในหมู่บ้านด้วย เพราะใบเสมาที่เป็นรูปพระพุทธรูปเจ้าประทับนั่งแสดงธรรมที่พบกลางเนินดินแรกนั้น ได้มีร่องรอยของการปิดทองอันแสดงถึงการใช้เป็นที่กราบไหว้บูชาทำนองเดียวกับพระพุทธรูป

การเก็บรักษา

ใบเสมาที่เป็นภาพเล่าเรื่องชาดกเหล่านี้ต่อมาได้มีการนำมาเก็บรักษาไว้ในวัดศรีปทุมคงคารามอันเป็นวัดประจำหมู่บ้านโดยมีการสร้างอาคารถาวรขึ้นข้างโรงเรียนบ้านกุดโง้งที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาใบเสมาภาพชาดก

ประเภทของใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง

ใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง จังหวัดชัยภูมิ สามารถแบ่งกลุ่มตามลักษณะรูปร่างและลวดลายได้ดังนี้ คือ

1. รูปร่าง

โดยทั่วไปเป็นแบบแผ่นหิน ที่มีทั้งแบบแผ่นเรียบสลักลวดลายและเล่าเรื่องชาดกแต่อย่างไรก็ดียังมีใบเสมาภาพชาดกอีก 1 หลัก ในอาคารจัดแสดงที่มีลักษณะคล้ายใบเสมาแบบแท่งหิน คือค่อนข้างเป็นแท่งเหลี่ยมมียอดกลมบน และมีความหนมาก ซึ่งใบเสมารูปทรงแบบนี้ที่บ้านกุดโง้ง พบน้อยกว่าแบบเป็นแผ่นแบน

2. ลวดลาย

ใบเสมาที่บ้านกุดโง้งมีการแกะสลักลวดลายต่างๆ ประดับลงไปหลายๆ แบบ โดยสามารถแบ่งออกเป็นลวดลายต่างๆ ได้ดังนี้

2.1 ลวดลายที่ไม่ใช่ภาพเล่าเรื่อง ประกอบด้วย

2.1.1 ลายรูปเสมา ได้แก่ที่สลักลงเป็นโครงรูปเสมาที่ขอบใบเสมาทำให้แลดูคล้ายเป็นใบเสมาซ้อนกัน 2 หรือ 3 ชิ้น หรือมีการสลักลวดลายชนิดอื่นอยู่ในลายใบเสมาอีกทีหนึ่ง

2.1.2 ลายรูปสถูปได้แก่ที่สลักเป็นรูปสถูปหรือรูปยอดสถูปมักมีรูปทรงสูง แหลม เกือบจดปลายใบเสมา บางหลักมีลายลูกแก้วหรือวงแหวนคั่นอยู่ที่โคนยอดสถูป ลายประเภทนี้มักสลักอยู่ในหลายรูปใบเสมาอีกทีหนึ่ง ซึ่งส่วนมากแล้วลายรูปสถูปนี้จะพบแต่ส่วนยอด เนื่องจากส่วนอื่นๆ มักถูกฝังจมอยู่ในดิน

นอกจากลายที่กล่าวไปแล้ว ยังมีใบเสมาอีกชิ้นหนึ่งซึ่งหักเหลือแต่ฐานที่ปรากฏลายรูปกลับบัวปะดับอยู่ สันนิษฐานว่าคงเป็นลายที่รองรับภาพเล่าเรื่องหรือภาพบุคคลซึ่งเป็นที่นิยมทำใบเสมาทวารดีทั่วไป

2.2 ลวดลายที่เป็นภาพเล่าเรื่อง

ใบเสมาเล่าเรื่องที่บ้านกุดโง้ง ปัจจุบันตั้งอยู่ในอาคารจัดแสดงมี 12 หลัก ประกอบด้วยใบเสมาที่สามารถสันนิษฐานได้ว่านำมาจากชาดก หรือพุทธประวัติตอนใดเพียง 9 เรื่อง นอกจากนั้นไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องราวได้ เนื่องจากแตกหักไปมาก หรือลวดลายสลักลบเลือน โดยใบเสมาซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ว่านำมาจากชาดดกหรือพุทธประวัติตอนใดนั้น ประกอบด้วย

ภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรม เรื่องพรหมนารทชาดก (ทศชาติ) เรื่องมโหสถชาดก (ทศชาติ) สันนิษฐานว่าเป็นภาพพระศรีอริยเมตรัย สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องเตมีย์ชาดก (ทศชาติ) เรื่องวิฑูรรบัณฑิตชาดก (ทศชาติ) สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจันทกุมารหรือปัญจาวุธชาดก สันนิษฐานว่าเป็นอัทพชาดก เรื่องภูริทัตชาดก (ทศชาติ)

ดังนั้น เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ใบเสมาภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ส่วนมากแล้วล้วนแต่เป็นภาพที่แสดงพระชาติต่างๆ ของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ “ทศชาติ”ซึ่งเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ได้นำมาจาก “นิบาต”และ “มหานิบาตชาดก”เป็นสำคัญ

คุณค่า

ใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง ได้แสดงถึงความเจริญของพระพุทธศาสนาในท้องถิ่นภาคอีสนเมื่อนับพันปีที่ผ่านมา และยังบ่งบอกถึงความเชื่อในเรื่องของชาติต่างๆ ของหระพุทธเจ้าซึ่งแต่ละชาติล้วนแล้วแต่แผงคติธรรมอันน่าสนใจ และนำไปปฏิบัติตาม นอกจากนั้นศิลปะลวดลายต่างๆ ที่คนโบราณฝากเอาไว้บนใบเสมาเหล่านี้ ยังแสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดเรื่องราวในชาดกออกมาเป็นภาพที่สามารถเข้าใจได้ง่ายและเด่นชัด ตลอดยังสามารถบอกถึงลักษณะของการแต่งกายและเครื่องประดับต่างๆ ที่คนสมัยนั้นใช้ ดังนั้นใบเสมาที่บ้านกุดโง้งจึงมีคุณค่าสูงทั้งทางด้าน

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
ใบเสมาบ้านกุดโง้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านกุดโง้ง ซอย - ถนน -
ตำบล บุ่งคล้า อำเภอ เมืองชัยภูมิ จังหวัด ชัยภูมิ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บเสมาบ้านกุดโง้ง
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยภูมิ
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองชัยภูมิ จังหวัด ชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 36000
โทรศัพท์ 044-812984 โทรสาร 044-812984
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chaiyaphum/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่