ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 26' 17.9999"
16.4383333
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 50' 20"
102.8388889
เลขที่ : 138288
พระพุทธรูป : หลวงพ่อพระลับ
เสนอโดย wallop25 วันที่ 9 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 26 ตุลาคม 2564
จังหวัด : ขอนแก่น
0 1481
รายละเอียด

ประวัติหลวงพ่อพระลับ(พระศรีสัตนาคนหุต)

ประวัติหลวงพ่อพระลับ “พระพุทธศรีสัตนาคนหุต” หรือ “หลวงพ่อพระลับ” เป็นพระพุทธรูปบางมารวิชัยหล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งองค์และทั้งฐานขนาดหน้าตักกว้าง 11นิ้ว สูง 29นิ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิ บนแท่นสัมฤทธิ์ รูปสับคันช้าง(แหย่งช้าง) องค์พระจะเอนไปทางด้านหลังเล็กน้อยพระลับจัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาว “สกุลช้างเวียงจันทน์” คล้ายพระพุทธรูปบางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้วกรุงเวียงจันทน์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24

ตามประวัติเล่าว่า เมื่อ พ.ศ.1797 เมืองล้านช้าง(เวียงจันทร์) เป็นอิสระจากการปกครองของขอมพร้อมทั้งเมืองล้านนาเมื่อ พ.ศ.2058 กษัตริย์ล้านช้างได้สถาปนาเมืองเวียงจันทน์ขึ้นเป็นเมืองหลวงขนานนามว่า “กรุงศรีสัตนาคนหุต” เมืองที่มีช้างล้านตัวหรือมีช้างร้อยนหุต (1 นหุต เท่ากับ 10.000) เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์มีนโยบาย ที่จะขยายอาณาเขตออกไปทั่วราชอาณาจักรโคตรบูรณ์และอาณาจักรล้านนาเพื่อสมัครพรรคพวกไว้สู้กับขอม การดำเนินนโยบายดังกล่าวพระองค์เห็นว่าประชาชนในอาณาจักรแถบนี้ นับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานพระองค์จึงได้อาศัยพระพุทธศาสนาเป็นสื่อสัมพันธ์เพื่อให้เมืองต่างๆ อ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้นของพระองค์ จึงได้หล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขึ้น ชาวเมืองทั้งหลายเรียกกันว่า “พระพุทธศรีสัตนาคนหุต” หรือ “พระศรีสัตนาคนหุต” ส่วนพระพุทธรูปที่หล่อด้วยแก้วนั้นชาวเมืองนิยมเรียกกันว่า “พระแก้วล้านช้าง”

เหตุที่มีชื่อเรียกว่า “พระลับ” สืบเนื่องมาจากครั้งเวียงจันทร์กับกรุงธนบุรีเป็นอริกัน พระเจ้ากรุงธนบุรี บัญชาให้พระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพมาตีเวียงจันทร์ ทำสงครามอยู่เป็นเวลา 4 เดือน จนเวียงจันทน์แตก พระมหากษัตริย์ศึกได้จัดการปกครองเวียงจันทน์ใหม่เสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระบาง พระสุก พระใส พระเสริมกลับกรุงธนบุรี โดยผ่านทางอุดร ขอนแก่น และนครราชสีมา ช่วงนี้พระวอที่อยู่นครจำปาศักดิ์ทราบข่าวจึงได้แจ้งข่าวมายังท้าวศักดิ์ผู้เป็นหลาน ไห้เก็บพระพุทธรูปศรีสัตนาคนหุตและพระแก้วล้านช้างให้มิดชิดและให้ถือเป็นความลับอย่างยิ่ง ท้าวศักดิ์และพระราชครูหลวงได้ปฏิบัติตาม โดยได้ก่อเจดีย์ขึ้นที่วัดเหนือ 9 องค์ มีรูปร่างเหมือนกันเพื่อพรางตาคนแล้วนำพระพุทธรูปศรีสัตนาคนหุตและพระแก้วล้านช้างมาบรรจุไว้ในเจดีย์องค์เดียวกัน ส่วนองค์อื่นไม่บรรจุอะไร เมื่อประชาชนไม่เห็นพระพุทธรูปดังกล่าว ก็โจษจันกันไปต่างๆ นานา ว่าเห็นองค์พระหายตัวได้เอง จึงเป็นที่มาของชื่อ หลวงพ่อพระลับ ปัจจุบันได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในห้องพิเศษของวัดธาตุพระอารามหลวงจนถึงปัจจุบันได้เวลา ๒๐๐ ปีเศษ

หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดธาตุ พระอารามหลวง
เลขที่ 237 ถนน กลางเมือง
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ประวัติหลวงพ่อพระลัย วัดธาตุ พระอารามหลวง
บุคคลอ้างอิง นายวัลลภ ศรีธรธรราษฎร์ อีเมล์ wallop401@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000
โทรศัพท์ 0-4324-5013 โทรสาร 043245014
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ขอนแก่น 9 มิถุนายน 2555 เวลา 09:55
ดีมากจร้า...สืบค้นหมวดนี้เลยนะพี่วัลภล..OK..
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่