ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 57' 45.697"
15.9626936
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 41' 42.4784"
102.6951329
เลขที่ : 149728
นางปราถนา เวียงวิเศษ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้าไหมมัดหมี่
เสนอโดย phrayalaw.np วันที่ 8 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 8 สิงหาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 423
รายละเอียด

นางปราถนา เวียงวิเศษ:ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้าไหมมัดหมี่อยู่บ้านเลขที่53หมู่ที่2บ้านถนนงาม ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์08 5361 4033เกิดวันที่8พฤษภาคม2518และเป็นคนบ้านถนนงาม ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา โดยกำเนิด ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา โดยมีที่นา จำนวน12ไร่ ปัจจุบันได้เป็นสมาชิกของกลุ่มทอผ้าวิสาหกิจผสมผสาน ชุมชนบ้านถนนงาม
การเรียนรู้และการสืบทอดภูมิปัญญา:นางปราถนา เวียงวิเศษได้เรียนรู้วิชาการทอผ้าไหมมัดหมี่ มาจากสมาชิกของกลุ่มทอผ้าวิสาหกิจผสมผสาน ชุมชนบ้านถนนงามเมื่อประมาณ พ.ศ.2546เนื่องจากในสมัยที่ยังเด็กแม่ไม่เคยพาทำผ้าไหมมัดหมี่ แม่จะพาทำนาอย่างเดียว หลังเสร็จฤดูกาลทำนาก็ไปรับจ้างอย่างอื่น ทั้ง ๆ ที่บ้านข้างเคียงเขาทอผ้าไหมกันแทบจะทุกหลังคาเรือนครั้นเมื่อแต่งงานมีครอบครัว และมีลูก2คน นางปราถนา เวียงวิเศษ จึงได้ฝึกหัดครั้งแรกเริ่มจากการเป็นลูกมือเพื่อน ๆ สมาชิกกลุ่ม ด้วยการเรียนรู้กระบวนการทอผ้าไหมมัดหมี่ทุกกระบวนการ ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม หมัดหมี่ ทอผ้าไหม แล้วค่อยพัฒนามาเป็นมัดหมี่เอง และทอผ้าไหมมัดหมี่ตามลำดับ และเริ่มมีความสามารถ ตลอดจนมีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้นมีการพัฒนาฝีมือการทอผ้าและเพิ่มการทอผ้าไหมมัดหมี่อย่างจริงจัง เพื่อให้มีรายได้เสริมเพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายให้สมาชิกทุกคนในครอบครัว นอกจากนั้นยังนำเงินส่วนหนึ่งมาส่งให้ลูกได้เรียนหนังสือ ด้วยการทอผ้าไหมเองบ้าง หรือทอรับจ้างบ้าง เพราะรายได้จากการทำนาเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย นางปราถนา เวียงวิเศษ จึงได้มีความมุมานะ อดทนและฝึกฝนพัฒนาฝีมือการทอผ้าไหมมาโดยตลอดจนเกิดความชำนาญ อีกทั้งได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อขายเป็นรายได้เสริมตลอดไปให้มีเงินใช้ภายในครอบครัวไม่ขาดเขินซึ่งนับได้ว่าเป็นรายได้ที่ดีพอสมควร เพื่ออนาคตของครอบครัว และลูก ๆ โดยหวังไว้ว่าลูก ๆ คงได้เรียนหนังสือสูง ๆ มีงานดี ๆ ทำ สามารถดูแลครอบครัวและช่วยพ่อกับแม่ได้และจากการนางปราถนา เวียงวิเศษ เป็นคนขยันในการเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาด แม้ว่าจะมีอายุยังไม่มากนัก แต่ฝีมือก็ไม่ได้แตกต่างจากคนอื่น ทำให้สามารถทำตามลายต่าง ๆ ได้หรือสามารถสร้างลายเอง เลียนแบบและ ดัดแปลงลวดลายได้ หรือจะทอผ้าไหมตามใบสั่งของลูกค้า จนเป็นที่ยอมรับของสมาชิกกลุ่มทอผ้าวิสาหกิจผสมผสาน ชุมชนบ้านถนนงาม และมีรายได้จากการทอผ้าไหมมัดหมี่ไม่น้อยกว่า3-4หมื่นบาท ต่อปี

ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหมมัดหมี่:นางปราถนา เวียงวิเศษ มีความชำนาญในเรื่องการทอผ้าไหมมัดหมี่ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การสาวไหม การด่องไหม การย้อมสี การกวักไหม (แกว่งไหม) การปั่นหลอด การสืบหูก การมัดหมี่ จนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการทอผ้าให้เป็นผืนผ้าที่มีลวดลายที่สวยงาม ตามความต้องการทั้งของสมาชิกเองและลูกค้า

การทอผ้าไหมมัดหมี่นับเป็นมรดกภูมิปัญญาที่สำคัญของชาวบ้านถนนงาม ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา ซึ่งมีขั้นตอนที่ได้มีการสั่งสมสืบทอดจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่นแทบจะทุกหลังคาเรือนนั่นคือการมัดหมี่ซึ่งเป็นการเตรียมลวดลายเส้นหมี่ (เส้นไหม) ก่อนที่จะทอเป็นผ้า ช่างทอผ้าหรือช่างมัดหมี่จะวางแผนออกแบบลวดลายผ้าก่อนที่จะย้อมสีเส้นด้าย และจะย้อมเส้นไหมเฉพาะที่เป็นเส้นต่ำ (เส้นพุ่ง) เพื่อทำให้เกิดลวดลาย ส่วนเส้นยืนจะใช้สีเดียวเป็นพื้นนางปราถนา เวียงวิเศษสามารถคิดลวดลายขึ้นเองได้ ส่วนลายที่มัด บ่อย ๆ หรือลูกค้าสั่งบ่อย ๆคือ หมี่หมากจับ ลายฟองน้ำ ลายเต่าน้อย หมี่ร่าย หมี่ลายงูเหลือม ลายโบราณ ลายหมี่ขั้นเครื่อง หมี่ลายหงส์ ลายสร้อยดอกหมาก ลายหมี่กงเอง หมี่ขอ หมี่เก่าน้อย หมี่แตงโม หมี่กงเจ็ดหมี่แมงดา หมี่เรือหงส์นก หมี่ปลาหมึกน้อย หมี่หนู หมี่กาหลง หมี่มะเขือพวงหมี่เขมร ลายหมี่น้ำพองเครือ ลายสร้างสรรค์หรือลายอื่น ๆ ที่ลูกค้าชื่นชอบตามแต่ละยุคแต่ละสมัย เป็นต้น

หมวดหมู่
ปราชญ์ชาวบ้าน
สถานที่ตั้ง
บ้านถนนงาม
เลขที่ 53 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านถนนงาม
ตำบล บ้านหัน อำเภอ โนนศิลา จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางปราถนา เวียงวิเศษ
บุคคลอ้างอิง นภสร พระยาลอ อีเมล์ phrayalaw.np@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วธจ.ขอนแก่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน ที่ว่าการอำเภอโนนศิลา
ตำบล โนนศิลา อำเภอ โนนศิลา จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40110
โทรศัพท์ 08 1874 7167, 08 172
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่