ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 50' 52.4152"
13.8478931
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 26' 37.5871"
101.4437742
เลขที่ : 160849
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยนายสรวิทย์ ศิลารัตน์
เสนอโดย ทาสรักผู้ภักดี วันที่ 26 กันยายน 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 27 เมษายน 2559
จังหวัด : ปราจีนบุรี
0 671
รายละเอียด

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพปุ๋ยหมักชีวภาพคือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำเอนไซม์ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช

วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพน้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100 รดบนกองปุ๋ยแต่ละชั้นความชื้น 30%แกลบสด 1 กิโลกรัม แกลบดำ 1 กิโลกรัม มูลสัตว์ต่าง ๆ กากถั่วต่าง ๆ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว 3 กิโลกรัม รำละเอียด 1 กิโลกรัมขยะสดต่าง ๆ 1 กิโลกรัม อินทรียวัตถุที่หาได้ในพื้นที่ หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้ 1 กิโลกรัม

วิธีทำ

1. ผสมน้ำเอนไซม์ น้ำตาล และน้ำ ในถังพลาสติก แล้วใช้บัวรดน้ำตักรดทีละชั้น

2. เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นให้หนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยกระสอบป่านหรือกระสอบปุ๋ย หรือคลุมด้วยแกลบสด หรือฟาง เพื่อไม่ให้ถูกแสงแดดประมาณ 5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2 หรือ 3 ไม่ต้องกลับกองปุ๋ย ถ้าปุ๋ยกองใหญ่มากใช้เวลา 20 วัน

3. บรรจุปุ๋ยหมักชีวภาพที่คลุกเคล้ากันดีแล้ว ในกระสอบปุ๋ย สามารถเก็บไว้นานเป็นปีปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีสารอาหารเหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อรา ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนแสดงว่ามีข้อผิดพลาด อุณหภูมิในการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนนานเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ให้พอดีประมาณ 30%

วิธีใช้

1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร

2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง ฟักทอง ควรใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผักประมาณ 2 กำมือ รดน้ำให้ชุ่ม ๆ

3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 2 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟาง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

4. ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งต่อ 1 กำมือ ใช้ 1 กิโลกรัม ต่อ 2x3 ตารางเมตรปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เวลาสลายสารอาหารสำหรับพืชเร็วกว่าปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื้นพอเหมาะ เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้จึงไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมาก ๆ และในดินควรมีอินทรีย์วัตถุพวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟาง และมีความชื้นเพียงพอ ต้นพืชจึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแต่ถ้าใส่ครั้งละมากเกินไปอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ส่วนจะให้ครั้งละปริมาณเท่าไร บ่อยครั้งเท่าไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น กรุณาประมาณและสังเกตความเหมาะสมด้วยปุ๋ยดินหมักชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า

วัสดุที่ใช้

1. ดินแห้งทุบให้ละเอียด ใช้ดินได้ทุกชนิด 5 ส่วน

2. ปุ๋ยคอกแห้งทุบละเอียด 2 ส่วน

3. แกลบดำ 2 ส่วน

4. รำละเอียด 2 ส่วน

5. ขุยมะพร้าวหรือขี้เค้กอ้อย 2 ส่วน

6. น้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100 คนให้เข้ากัน

วิธีทำ

1. ผสมวัสดุทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี

2. รดด้วยน้ำเอนไซม์ที่ผสมแล้ว บนกองวัสดุให้ความชื้นพอประมาณ กำแล้วใช้นิ้วดีดแตก ไม่ให้แฉะเกินไป

3. เกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ให้กองหนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยพลาสติก หรือกระสอบป่าน หมักไว้ 5 วัน จึงนำไปใช้ได้

4. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดีจะมีราสีขาวเกิดขึ้น มีกลิ่นหอม สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน ๆ

วิธีใช้

1. ผสมปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่า ๆ กัน คลุกจนเข้ากันดี เพื่อนำไปกรอกถุง หรือถาดเพาะกล้า หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้า จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง

2. นำไปเติมในกระถางต้นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี กระถางละ 2 กำมือ

หมวดหมู่
ปราชญ์ชาวบ้าน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๑๓๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ ๓
ตำบล โคกไทย อำเภอ ศรีมโหสถ จังหวัด ปราจีนบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กศน.ศรีมโหสถ
ถนน ถนนสุวินทวงศ์
ตำบล โคกปีบ อำเภอ ศรีมโหสถ จังหวัด ปราจีนบุรี
โทรศัพท์ 0-3727-6472 โทรสาร 0-3727-6472
เว็บไซต์ http://203.172.141.237/simaho/index.php
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่