ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 46' 39.7308"
13.777703
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 20.2356"
100.505621
เลขที่ : 162726
โบสถ์ฟรังซิสเซเวียร์
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 4 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 4 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 4024
รายละเอียด

โบสถ์ฟรังซิสเซเวียร์ เป็นโบสถ์นิกายโรมันคาทอลิค สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระยาวิเศษสงคราม และพระยาณรงค์ฤทธิ์ โกษา นายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพ ซึ่งเป็นคาทอลิก ได้ช่วยเหลือกลุ่มของคริสตังญวณที่หนีการเบียดเบียนศาสนา ในประเทศอันนัมเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับกองทัพไทย พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระทัยเมตตา จึงได้พระราชทานที่ดินซึ่งอยู่ติดกับวัดคอนเซ็ปชัญ อีกทั้งทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างโบสถ์หลังหนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ โบสถ์หลังนี้สร้างด้วยไม้ไผ่ในปี ค.ศ.1835(พ.ศ. 2378) ใช้ชื่อว่าวัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์

ต่อมาในปี ค.ศ. 1837(พ.ศ. 2380) เกิดพายุใหญ่พัดโบสถ์พังเสียหายพระสังฆราชกรูเวอซีได้ออกเงินให้สร้างวัดใหม่ เป็นไม้ และได้นำพระรูปแม่พระและรูปนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ จากมะนิลามาตั้งในวัดหลังที่สองนี้

เมื่อกลุ่มคริสตังที่สามเสนเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ที่อยู่อาศัยแคบลง จึงได้มีการสร้างวัดด้วยอิฐที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 10 ปี และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2410 จึงเป็นโบสถ์หลังที่ 3 และใช้ชื่อว่าโบสถ์ฟรังซิสเซเวียร์ มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบนีโอโกธิคที่งดงาม โดยผนังเป็นการก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ ไม่ใช้เหล็กและเสาเข็ม บนเพดาน มีดาวประดับเป็นลักษณะท้องฟ้า และภายในตกแต่งกระจกสีเป็นเรื่องราวในคัมภีร์ทั้งพระธรรมใหม่และพระธรรมเก่า อันงดงามสวยงาม ภายในกว้างขวาง สามารถรองรับคริสตังจำนวนมากสำหรับการทำพิธี

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
โบสถ์ฟรังซิสเซเวียร์
เลขที่ 94 ซอย มิตตคาม ถนน สามเสน
ตำบล วชิรพยาบาล อำเภอ เขตดุสิต จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่