ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 10' 25.0848"
7.173634657530501
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 36' 51.0236"
100.61417321435545
เลขที่ : 165883
ควน ทวนยก - ครูปี่โนรา ศิลปินแห่งชาติปี 53
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 28 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สงขลา
0 2583
รายละเอียด

เมื่อพูดถึงโนรา หรือเพลงพื้นบ้านเช่นการเล่นหนังตะลุง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือดนตรีประกอบการแสดง ปี่ เป็นเครื่องดนตรีหลักที่ทำให้เกิดอรรถรสในการชม แน่นอนว่าถ้าพูดถึงเสียงปี่โนราหรือหนังตะลุง คงไม่มีใครไม่รู้จักครูควน ทวนยก ครูปี่โนรา ศิลปินแห่งชาติประจำปี2553สาขาการแสดงพื้นบ้าน ครูควนได้รับการถ่ายทอดวิชาทางด้านดนตรีไทยมาจากปู่ คือ นายตุด ทวนยกที่เป็นหัวหน้าวงและครูสอนปี่พาทย์ที่ตำบลวัดขนุน ช่วงที่ครูควนเรียนปี่วงปี่พาทย์อยู่นั้นก็ได้เรียนปี่หนังตะลุงไปด้วย โดยการเลียนแบบ “ครูพักลักจ่า” จากนายปี่หนังตะลุงทั่วไป โดยเฉพาะจากนายปี่ล่อง ไสยะ น้าชายซึ่งเป็นนายปี่ที่มีชื่อเสียงของนายหนังเยง บ้านปะโอ อ.สิงหนคร จนกระทั่งอายุ 16 ปี ครูควนจึงได้ออกโรงเป็นนายปี่หนังตะลุงตัวจริงเป็นครั้งแรกให้กับนายหนังเพียร (หนังเพียร เกาะสมุย) เนื่องจากตอนนั้นนายหนังเพียรเกิดขาดนายปี่ขึ้นมาอย่างกะทันหัน หลังจากนั้นครูควนก็มีผลงานเป็นนายปี่หนังตะลุงให้กับนายหนังหลายคณะในสงขลาและนครศรีธรรมราช เช่น หนังจวน พี่เณรน้องเณร หนังครูเสวก และหนังสมปองเป็นต้น หลังจากที่ครูควนเป็นนายปี่ได้สักระยะหนึ่งก็เข้าบรรจุรับราชการที่วิทยาลัยครูสงขลา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา) ตั้งแต่ปี 2516จนเกษียณอายุราชการ ครูควนได้ถ่ายทอดวิชาเป่าปี่ให้นักศึกษาชาวิชาเอกดนตรี หลังเกษียณเป็นลูกจ้างชั่วคราว บุคลากรด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จนถึงปัจจุบัน

เราสามารถติดตามผลงานของครูควนได้จากผลงานท่านที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ถึง50บทเพลง โดยเฉพาะเพลงในชุดระบำ นาฏยรังสรรค์ของโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละคร เทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์ผลงานประเภทเพลงประกอบระบ่าของนายควน ทวนยกนั้น ใช้วิธีการบรรจุท่านองเพลงตามลักษณะของท่าร่า โดยยึดความสอดคล้องของท่านองเพลงและท่าร่าเป็นหลัก หากท่านองเพลงมีความยาวไม่พอดีกับท่าร่าก็ต้องใช้วิธีเพิ่มหรือตัดทอนท่านองเพลงแล้วแต่กรณี ส่วนท่านองเพลงที่น่ามาใช้นั้นได้คัดเลือกมาจากท่านองเพลงเก่าที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุงและโนราในอดีต ท่านองเพลงส่วนมากเป็นเพลงเก่าที่ไม่ค่อยมีผู้น่ามาบรรเลงในปัจจุบัน การน่าท่านองเพลงเก่าเหล่านั้นมาใช้บรรเลงประกอบระบ่าจึงเป็นการสืบทอดเพลงดังกล่าวไม่ให้สูญหายอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ท่านองเพลงที่น่ามาใช้นั้นยังได้คัดสรรเอาท่านองเพลงที่มีส่าเนียงแขกปนอยู่ เพื่อแสดงออกถึงความเป็นดนตรีท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่าให้บทเพลงต่าง ๆ เหล่านั้นมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมพุทธและมุสลิมผสมผสานอยู่ด้วยกัน

หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ถนน กาญจนวนิช
ตำบล เขารูปช้าง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
บุคคลอ้างอิง wannarat suntiamorntut อีเมล์ suntiamorntut@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน Department of Computer Engineering, Prince of Songkla University
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่