ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 34' 44.832"
17.57912
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 42' 39.276"
101.71091
เลขที่ : 168954
พระครูญาณทัสสี (คำดี ปภาโส)
เสนอโดย MoCSpecial วันที่ 26 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เลย
0 1125
รายละเอียด

หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นเกจิอาจารย์กรรมฐานรูปหนึ่ง เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตโต และอาจารย์สิงห์ ขนตยาตโม เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2445 ปีขาล เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายพร นางหมอก นินเขียว ที่บ้านหนองคู ตำบลนาหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 3 คน

หลวงปู่คำดี ปภาโส อุปสมบทเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นพระมหานิกาย ต่อมาได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติ ได้ออกธุดงคกรรมฐานไปตามท้องที่จังหวัดต่างๆ ในปี พ.ศ. 2498 ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่แห่งนี้มาตลอด ในปี พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่เป็นที่พระครูญาณทัสสี พระครูชั้นโทฝ่ายวิปัสสนาธุระ และในปี พ.ศ. 2521 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกฝ่ายวิปัสสนาธุระ

พระครูญาณทัสสี (หลวงปู่คำดี ปภาโส) ได้มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลวที่โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 รวมอายุได้ 82 ปี

หลังจากงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระอาจารย์สีทน สีลธโนพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์และประชาชนได้ร่วมกันสร้างพิพิธภัณฑ์สำหรับบรรจุอัฐิ เครื่องอัฎฐบริขารและของใช้ต่างๆรวมทั้งรูปเหมือนของหลวงปู่ไว้เป็นอนุสรณ์สถาน เป็นอาคารทรงจตุรมุข สูง 32 เมตร ผนังภายนอกภายในและพื้นในปูด้วยหินอ่อนและหินแกรนิตจากประเทศอิตาลี เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 เสร็จเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2531 สิ้นค่าก่อสร้าง 7 ล้านบาท
เมื่อปี พ.ศ. 2495 มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ซึ่งเดินทางธุดงค์มาจาก จังหวัดขอนแก่น คือ หลวงปู่คำดี ปภาโส ได้เดินทางธุดงค์มาจากถ้ำกลาง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยหลวงปู่คำดีจะหาที่วิเวกสงบๆจำพรรษา และหลวงปู่คำดี ปภาโส เองท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูรัสติโต และหลวงปู่เสาร์ กันตสิโล ซึ่งทั้งสองรูปนี้ถือเป็นปฐมครูฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานของไทย โดยหลวงปู่คำดี ท่านเป็นศิษย์ลำดับต้นๆเลยทีเดียว และเชื่อกันว่าหลวงปู่คำดีเป็นผู้บรรลุแล้วแห่งทางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า หรือสำเร็จอหันต์นั้นเอง มาปักกรดที่ถ้ำผาปู่ โดยถ้ำผาปู่ในสมัยก่อนเป็นบริเวณที่เงียบสบงมาก เวลากลางคืนก็สงัดมีแต่เสียงจิ้งหรีดเรไร เหมาะมากสำหรับการนั่งกรรมฐาน ด้วยเหตุนี้เองหลวงปู่จึงได้นำศิษยานุศิษย์ของท่านจำพรรษา อยู่ที่นี่อย่างถาวร โดยหลวงปู่คำดีนั้น ท่านมาจำพรรษาในตอนแรกชาวบ้านไม่ชอบท่านมาก เพราะสมัยก่อนชาวไทเลยเป็นคนใจดำ ไม่ชอบไทยใต้ ดังนั้นวันหนึ่ง หลวงปู่มีกิจนิมนต์ไปในหมู่บ้าน หลวงปู่จึงเดินทางไปพอกลับมามีชาวบ้าน 2-3 คนมาลอบทำร้ายท่าน โดยใช้ก้อยหินขว้างท่าน แต่ไม่โดนท่าน ศิษย์เห็นดังนั้นจะแก้คืนแต่หลวงปู่บอกว่าไม่ต้องทำอะไรเขาปล่อยเขาไป ศิษย์ต้องยอมทำตาม แต่เมื่อหลายวันผ่านไปปรากฏว่า ชาวบ้านผู้ที่ลอบทำร้ายท่านฟ้าผ่าตาย


และอีกคนหนึ่งเป็นบ้าโดยมาทราบสาเหตุ
แต่+F4อย่างไรก็ตามหลวงปู่ก็พยายามที่จะรวบรวมให้ชาวบ้าน ช่วยกันสร้างวัดถ้ำผาปูขึ้น ซึ่งในตอนแรกเป็นไปด้วยความยากลำบากมาก เพราะชาวบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือ แต่หลวงปู่ก็มิเคยย่อท้อ โดยหลวงปู่เอาความดีและคุณธรรมเข้าช่วย และในที่สุดความดีและเมตตาธรรมของหลวงปู่สำเร็จ โดยตั้งเป็นวัดธรรมยุติ มีการสร้างศาลาการเปรียญ หอระฆัง กุฏิ ที่พักค้างคืน และหลวงปู่มีดำริ ที่จะสร้างศาลาการเปรียญอเนกประสงค์แต่ยังไม่ได้สร้างหลวงปู่ก็มรณภาพเสียก่อน และก่อนที่ท่านจะมรณภาพนั้น ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดแกล้าโปรดกระหม่อมจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สถาปนาเป็น พระครูสัญญาบัตร เทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาจุระ ที่พระครูญาณทัสสี และหลังจากที่หลวงปู่ได้พัฒนาวัด จนมาเป็นที่รู้จักในระดับหนึ่ง หลวงปู่ก็ได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2527 ยังความเศร้าสลดใจ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างมาก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้พระราชทานเพลิงศพ ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติอย่างยิ่ง

สถานที่ตั้ง
อำเภอ เมืองเลย จังหวัด เลย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่