ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 12.576"
17.02016
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 1.32"
99.7337
เลขที่ : 169025
เกวียน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1522
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ เกวียน ประเภทและลักษณะ เกวียน หรือล้อ บางที่เรียก “กระแทะ” เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง แต่ละท้องถิ่นจะมีรูปร่าง และขนาดที่แตกต่างกันไป เกวียนทำจากไม้เนื้อแข็ง มีล้อ 2 ล้อ และตัวเรือนมีลักษณะ เป็นแคร่สี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบรรทุกสิ่งของหรือคน โดยจะยกขอบด้านข้างทั้ง 2 ข้างสูง ใช้ไม้กระดานปูพื้น บ้างก็มีประทุนครอบกันแดดฝน ให้แก่ผู้ขับและผู้โดยสารหรือสิ่งของที่บรรทุก เกวียนมี 2 แบบคือ เกวียนเดี่ยว (ใช้วัวหรือควายตัวเดียว) กับเกวียนคู่ (ใช้วัวหรือควาย 2 ตัว ) การทำเกวียนทำโดยไม่ต้องใช้ตะปู ใช้วิธีการขัดกันและเชือกผูกเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีแอกซึ่งก็คือ ไม้ที่ใช้พาดคอสัตว์เพื่อเทียมเกวียน มีสายรั้งคอสัตว์เพื่อป้องกันเชือก ที่ผูกคอสัตว์ไม่ให้หลุดจากปลายแอก การใช้ประโยชน์: เป็นพาหนะใช้เดินทางและบรรทุกข้าวหรือสิ่งของ ไปในที่ต่างๆ ประวัติความเป็นมา เกวียนเป็นพาหนะที่สำคัญของคนสมัยก่อนทั้งในขนสัมภาระเสบียงสำหรับใช้ในการออกศึก ใช้ขนของในการหลบหนีอพยพ เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกับเกษตรกรไทยสมัยก่อนมาก ใช้บรรทุกข้าวขึ้นยุ้ง ขนของหรือสินค้าออกไปขายในต่างถิ่นต่างแดนจนถึงต่างประเทศ และใช้ในการขนพืชผลทางการเกษตรออกสู่ตลาด ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง วิธีทำ การบังคับวัวหรือควายเทียมเกวียน จะใช้วิธีเจาะจมูกร้อยสายตะพายโยง ไปที่ผู้ขับบนเกวียนถือสำหรับบังคับให้วัว หรือควายหยุดเดินหรือเลี้ยว ในการบังคับวัวหรือควายนั้น มีภาษาชาวนาหรือชาวเกวียนที่ใช้กับวัวหรือควายอยู่ 2 - 3 คำคือคำว่า "ทูน" แปลว่า ชิดข้างใน "ถัด" แปลว่าชิดข้างนอก "ยอ" แปลว่า หยุด เป็นต้น บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกับเกษตรกรไทยสมัยก่อนมาก ใช้ขนส่งทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ขนสินค้าและสัมภาระที่ต้องการ เป็นพาหนะสำหรับใช้เดินทาง สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเหล็ง จันทร์ฉาย
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055)633350, 087-201
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่