ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 12.576"
17.02016
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 1.32"
99.7337
เลขที่ : 169031
เครื่องฝัดข้าว (สุโขทัย)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2794
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ เครื่องฝัดข้าว (สุโขทัย) ประเภทและลักษณะ เครื่องฝัดข้าว เป็นเครื่องเป่าลมซึ่งมีชุดใบพัดหลายใบอยู่ข้างในตัวสีฝัดข้าว ทำด้วยไม้ผสมเครื่องเหล็ก รูปทรงเหมือนหัวแมงปอ ใช้มือหมุนและผลัดกันหมุนทีละคนก็สามารถหมุนได้อย่างดี ประวัติความเป็นมา อุปกรณ์และเครื่องใช้ในการฝัดข้าวก็จะทำขึ้นเป็นชุด โดยมากก็ทำขึ้นด้วยมือ ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมทั้งทรัพยากร วัตถุดิบและเทคโนโลยีในท้องถิ่น เช่น เครื่องไม้และเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ มาใช้ในการทำเครื่องฝัดข้าว ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง และเครื่องเหล็ก วิธีทำ เกษตรกรจะใช้กระบุงโกยข้าวเปลือกและเทใส่สีฝัดข้าวจากด้านบน ลมแรงจากสีฝัดข้าวจะเป่าข้าวเปลือกที่นวดแล้วแยกออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่เป็นเมล็ดข้าวเปลือกจะมีน้ำหนักมาก ก็จะร่วงลงด้านล่างและไหลออกมาตามรางด้านหน้า เกษตรกรและแขกผู้มาเอาแรงกันก็จะช่วยกันโกยออก แยกเป็นกองข้าวเปลือกที่ฝัดแล้ว อีกส่วนหนึ่ง เป็นเมล็ดข้าวลีบ เศษฟางข้าว และสิ่งที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเมล็ดข้าว ก็จะถูกลมแรงมากจากเครื่องฝัดข้าวเป่าออกไปไกล เกษตรกรจะเก็บส่วนนี้ไว้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงเผาถ่านหรือคลุมแปลงปลูกผัก เป็นปุ๋ยโดยธรรมชาติ อีกส่วนหนึ่ง น้ำหนักน้อยกว่าเมล็ดข้าว แต่ก็ไม่ปลิวออกไปไกลมากนัก จะหล่นกองอยู่ตรงท้ายเครื่องฝัดข้าว ตรงส่วนนี้อาจจะมีเมล็ดข้าวปะปนอยู่กับข้าวลีบและเศษฝาง ขณะเดียวกัน ระหว่างโกยเมล็ดข้าวเปลือกใส่ลงไปในสีฝัดข้าว ก็จะมีข้าวเปลือกบางส่วนลงเหลือกติดลานข้าว รวมทั้งบางส่วนที่มีก้อนดินและเศษไม้ เศษหิน เจือปนเกษตรกรก็จะนำเอาทั้ง ๒ ส่วนนี้มาฝัดด้วยกระด้ง เพื่อแยกเมล็ดข้าวออกมาด้วยมือและแรงคน บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต ในขณะที่ฝัดข้าว หากมีคนมาเอาแรงและช่วยกันลงแขกมาก ก็จะขนข้าวที่ฝัดแล้วเก็บเข้ายุ้งฉางเลย ข้าวที่นวดแล้วและยังไม่ได้ฝัด จะกองอยู่อีกทางหนึ่ง และข้าวที่ฝัดแล้วก็จะกองอยู่อีกทางหนึ่ง เจ้าภาพการฝัดข้าว จะต้อนรับขับสู้แขกและผู้มาเอาแรงเป็นอย่างดี ทั้งอาหารการกิน น้ำท่า ขนมทำเอง รวมทั้งการทำอุ เหล้าขาว และข้าวหมากสำหรับเด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และผู้ไม่นิยมดื่มเหล้าขาว ซึ่งจะเลือกเอาจากข้าวเหนียวอย่างดีและหมักอย่างดีเพื่อเตรียมต้อนรับแขกฝัดข้าวอย่างเป็นการเฉพาะ วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นเครื่องมือการเกษตรในการทำข้าวหลังเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเหล็ง จันทร์ฉาย
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055)633350, 087-201
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่