ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 12.576"
17.02016
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 1.32"
99.7337
เลขที่ : 169033
เครื่องหั่นยาสูบ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2575
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ เครื่องหั่นยาสูบ ประเภทและลักษณะ เครื่องหั่นใบยาสูบ มีลักษณะคล้ายม้านั่งทำด้วยไม้ มีขา ๒ หรือ ๓ ขา ขาด้านหัวทำด้วยไม้หนาประมาณ ๒ นิ้ว กว้างประมาณ ๖ - ๘ นิ้ว ยาวประมาณ ๓๐ นิ้ว สูงจากพื้นดินประมาณ ๑๒ นิ้ว เจาะรูกลมตรงกลางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๔ นิ้ว ไม้พื้นยาวประมาณ ๓๖-๔๐ นิ้ว หนา ๔ - ๖ นิ้ว เซาะร่องตรงกลาง ปลายสอบนำไปตีประกอบกับขาหน้าให้ร่องอยู่ตรงกับรู ทำขาหลังด้วยไม้ค้ำยัน ๒ ขา หรือไม้แผ่นก็ได้ ประวัติความเป็นมา เป็นเครื่องมือของชาวบ้านที่ใช้หั่นใบยาสูบ ส่วนใหญ่จะพบเจอในพื้นที่ที่มีการปลูกต้นยาสูบ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันในภาคเหนือ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง วิธีทำ นำใบยามาซ้อนกันแล้วม้วนให้กลมใส่ไปในรูวงกลมให้พ้นขอบรู แล้วใช้เหล็กแผ่นขนาดความยาวประมาณ ๑๐ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว ลับด้านหนึ่งให้คมเหมือนมีดหั่นใบยาสูบที่พ้น ขอบรู มืออีกข้างหนึ่งค่อย ๆ เลื่อนใบยาสูบและหั่นไปเรื่อย ๆ จนหมด บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา ใช้หั่นใบยาสูบเพื่อทำเป็นยาเส้นก่อนที่จะนำไปตากแห้ง และใช้หั่นผักสำหรับเลี้ยงหมูได้ เป็นเครื่องมือที่สามารถทำได้ง่าย ชาวบ้านสามารถทำได้เอง และใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เมื่อ ทำแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี ใช้สะดวกและมีคุณภาพเหมาะแก่การทำใช้สำหรับอุตสาหกรรมใน ครอบครัว สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเหล็ง จันทร์ฉาย
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055)633350, 087-201
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่