ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 0' 51.7032"
17.014362
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 42' 32.5296"
99.709036
เลขที่ : 169046
สุเทพเครื่องสังคโลก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2808
รายละเอียด
ชื่อ สุเทพเครื่องสังคโลก ประเภทและลักษณะ ร้านต้นแบบดั้งเดิมของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นถ้วย ชาม จาน ไหดิน โอ่งน้ำ กระปุก ช้อน ตลอดจนตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์ต่างๆ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเนื้อละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดเนื้อแตกลายงาสีเขียวไข่กา วิวัฒนาการของการเคลือบสีเขียวประณีตงดงาม ทำให้มีชื่อเรียกเครื่องปั้นดินเผานี้ว่า "เซลาดอน" ประวัติความเป็นมา คำว่า "สังคโลก" มีผู้สันนิษฐานไว้ต่างกัน บ้างว่ามาจากคำว่า "ซ้องโกลก" แปลว่าเตาแผ่นดินซ้อง บ้างว่ามาจากคำว่า "ซันโกโรกุ" หรือ "ซังโกโรกุ" ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งอาจเพี้ยนมาจากคำว่า "สวรรคโลก" อันเป็นชื่อที่แพร่หลายของเมืองเชลียงหรือศรีสัชนาลัยในพงศาวดารอยุธยา ซึ่งได้พบเตาผลิตมากมายในบริเวณนี้ที่จริงการผลิตเครื่องสังคโลกมีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวตำบลเมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ที่ชื่อ แฟง พรมเพ็ชร ได้ชื่อว่าเป็นผู้รักงานหัตถกรรมเชิงศิลป์นี้เป็นอย่างมาก ในฐานะเป็นตระกูลเก่าแก่ที่ผลิตเครื่องสังคโลกมาอย่างยาวนานและมีโอกาสได้นำ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จฯ มาสุโขทัยอีกด้วย สุเทพ พรมเพ็ชร อายุ 53 ปี เจ้าของร้าน "สุเทพสังคโลก" ซึ่งเป็น 1 ใน 9 ที่เป็นทายาทของแฟง พรมเพ็ชร ได้สานต่ออาชีพผลิตเครื่องสังคโลกจากรุ่นพ่อ และมีการพัฒนารูปแบบของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ยังเน้นรูปแบบตามของโบราณสมัยสุโขทัย ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาสมัยนั้นจะไม่มีการเคลือบหรือที่เรียกว่า "ของแดง" ถือเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ สนอง พรมเพ็ชร ภรรยาสุเทพได้ย้อนอดีตให้ฟังว่า หลังจากสามีได้รับการว่าจ้างจากกรมศิลปากรที่ 3 ให้เข้าร่วมงานในตำแหน่งช่างซ่อมโบราณวัตถุ ทำให้มีความคิดจะทำเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกเลียนแบบของโบราณ ซึ่งได้รับคำแนะนำจากนายมะลิ โครกสันเที๊ยะ หัวหน้ากรมศิลปากรที่ 3 สมัยนั้นในเรื่องเทคนิคการผลิตต่างๆ เช่นน้ำเคลือบจะต้องประกอบไปด้วย ขี้เถ้าไม้ หินและดิน เป็นต้น จนเกิดความชำนาญ ก่อนจะผันตัวเองมาตั้งโรงงานโดยใช้ชื่อว่า "สุเทพสังคโลก" และได้ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ญาติพี่น้องเพื่อทำเป็นอาชีพสร้างรายได้แก่ตน เองและครอบครัว "ที่นี่เป็นร้านแรก เก่าแก่ที่สุดของตระกูล ปัจจุบันมีอยู่ 3 สาขา ซึ่งเป็นร้านของญาติพี่น้องที่แยกตัวออกไปทำกัน ก็ยังใช้ชื่อสุเทพสังคโลก เช่นเดิม แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจที่ร้านนี้กัน เพราะเป็นร้านดั้งเดิม ถ้ามาสุโขทัยอยากจะได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสังคโลกส่วนใหญ่จะมาแวะที่ร้านกัน" สนองให้ความเห็นถึงกลุ่มลูกค้าที่เข้าร้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกหาซื้อผลิตภัณฑ์ถ้วย ชาม ชุดกาแฟ และพระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ราคาจำหน่ายมีตั้งแต่หลักสิบยันหลักแสน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของลูกค้าที่จะนำไปใช้สอย ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง วัสดุที่ใช้ ดินเหนียว, น้ำเคลือบ วิธีทำ ขั้นตอนแรกเตรียมดิน คัดแยกสิ่งสกปรกเสาเจือปนต่างๆ ออก แล้วนำมาขึ้นรูป การขึ้นรูปจะใช้แป้นหมุนการขึ้นรูปชิ้นงานเช่น ถ้วย ชาม ไห แจกัน ของประดับตกแต่ง เป็นต้น หรือใช้วิธีการปั้นมือ เทวรูป พระพิฆเนศ เป็นต้น นำชิ้นงานมาตกแต่งเก็บรายละเอียด เสร็จแล้วนำมาตากให้แห้ง ก่อนจะนำมาเผา เรียกว่าเผาดิบ เมื่อได้ชิ้นงานที่ผ่านการเผาดิบจะนำมาชุบน้ำเคลือบที่เตรียมไว้แล้วค่อยนำไปเผา บทบาทหน้าที่และความสำคัญในอดีตและปัจจุบัน - วิธีการเรียนการสอน มีการแนะนำและส่งเสริมการฝึกอาชีพให้กับชาวบ้านในการทำเครื่องสังคโลก ประโยชน์ของภูมิปัญญา เครื่อง สังคโลกสุโขทัย นับเป็นหัตถกรรมเชิงศิลป์อันล้ำค่า ที่ไม่เพียงแค่อนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ชื่นชมเท่านั้น ยังเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน คนเมืองพ่อขุนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย สถานที่ ร้านสุเทพสังคโลก เลขที่ 203/2 หมู่ 3 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย
สถานที่ตั้ง
ร้านสุเทพสังคโลก
เลขที่ เลขที่ 203
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สนอง พรมเพ็ชร
เลขที่ เลขที่ 203 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 3
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 08-7198-0203
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่