ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 3.432"
17.01762
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 42' 32.7276"
99.709091
เลขที่ : 169053
วัดตระพังทอง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2403
รายละเอียด
ชื่อ วัดตระพังทอง อายุ สมัยสุโขทัย ตามประวัติได้สร้างมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง อยู่ภายนอกตัวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีถนนจรดวิถีถ่องผ่านหน้าวัด สถานภาพของสถานที่ เป็นวัดได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมศิลปากร พื้นที่ตั้งวัดอยู่ในเขตชุมชนและภายในวัดยังมีสระน้ำขนาดใหญ่ประมาณ ๒๐ ไร่อยู่หน้าวัด กลางสระน้ำเป็นเกาะ เนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ ความสำคัญในอดีต - สภาพทางภูมิศาสตร์ ตั้งบนพื้นที่ราบ มีน้ำล้อมรอบ สภาพทางเศรษฐกิจสังคม - ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม สิ่งสำคัญของวัดนี้ยังมี รอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย จำหลักเป็นลายมงคล 108 ประการ ได้เคลื่อนย้ายมาจากเขาพระบาทใหญ่ ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้าง ประดิษฐานไว้ ณ เขาสุมนกูฏ เมื่อปี พ.ศ. 1902 ประวัติความเป็นมา เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำที่เรียกว่า ตระพังทอง มีเจดีย์ประธานทรงประธานทรงระฆัง ใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐาน ส่วนด้านบนใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างโดยรอบเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายล้อมจำนวน 8 องค์ สำหรับโบสถ์ ซึ่งปัจจุบันยังเห็นผนัง และรูปทรงหลังคาค่อนข้างสมบูรณ์นั้น เป็นเพราะเมื่อราว 100 กว่าปีที่แล้ว พญารณชัยชาญยุทธ (ครุฑ) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยได้มาบวชเณร และได้เรี่ยไรทรัพย์ก่อสร้างโบสถ์ โดยก่อลงบนฐานโบสถ์เก่าสมัยสุโขทัย และในปี พ.ศ. 2548 ก็ได้มีการบูรณะอุโบสถขึ้นอีกครั้ง สถานที่สำคัญ เจดีย์ประธานทรงประธานทรงระฆัง โบสถ์ และรอยพระพุทธบาท
หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดตระพังทอง
เลขที่ เลขที่ ๑๖๔
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดตระพังทอง
เลขที่ เลขที่ ๑๖๔
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ ๐ ๕๕๖๙ ๗๑๓๓ ,๐ ๕๕๖
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่