ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
เลขที่ : 169164
ขุบ (อีทุบ)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1359
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ ขุบ (อีทุบ) ประเภทและลักษณะ ขุบ ทำมาจากท่อนไม้เนื้อแข็ง ที่มีขนาดความยาวประมาณ 2 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร การทำจะใช้ขวานถาก ไม้ให้เป็นเฟือง 7-8 เฟือง ที่ปลายท่อนขุบทั้งสองด้าน จะทำเป็นเดือยกลม ๆ ไว้ เพื่อเป็นเพลาสอดกับไม้ ที่เจาะรูไว้สำหรับใส่เดือย ตีไม้ยึดหรือทำเดือยใส่ไม้ตั้ง หรือลูกตั้งนั้น ทำไม้คานยาว ๆ สองท่อนยึดกับตัวขุบ แล้วใช้ควายหรือวัวลาก เพื่อใช้งานเรียกว่า ตีขุบ ประวัติความเป็นมา ขุบ เป็นเครื่องมือในการเตรียมสำหรับการทำนาดำของชาวนาในสมัยก่อน จะใช้กันในแถบพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยและหลายจังหวัดทางภาคเหนือและภาคกลาง ปัจจุบันไม่มีการใช้แล้วเนื่องจากมีรถไถเข้ามาใช้แทน ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง วิธีทำ ขุบ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการย่อยดิน และบดทับวัชพืชให้จมในดิน ซึ่งเป็นการเตรียมดินก่อนปลูกข้าว ของชาวนาโดยมากมักใช้ขุบในแปลงนาที่พึ่งถางใหม่ๆ ที่มีตอไม้ และหญ้าขึ้นอยู่มากๆ โดยชาวนาจะใช้วัว หรือควายในการลากขุบ ซึ่งเฟืองจะทำหน้าที่ย่อยดินในเวลาขุบหมุน โดยขุบจะหมุนตีดินไปเรื่อยๆ จนกว่าดินเหลวได้ที่เหมาะสำหรับเพาะปลูกข้าวได้ บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา การเตรียมดิน สำหรับการทำนาดำ สถานที่ ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ บ้านเลขที่
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ บ้านเลขที่ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่