ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
เลขที่ : 169199
พานหมาก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1827
รายละเอียด
ชื่อ พานหมาก ประเภทและลักษณะ พานหมาก หรือเชี่ยนหมาก เป็นภาชนะสำหรับใส่อุปกรณ์เกี่ยวกับการกินหมาก รวมทั้ง หมาก ใบพลู และปูน ผู้ที่มีฐานะอาจใช้เครื่องโลหะ หรือเครื่องฝังมุก มีลวดลายสวยงาม บางแห่งชาวบ้านจะใช้ไม้มาทำเป็นพานหรือกล่องใส่ ทำลวดลายประดับ หรืออาจใช้ตะกร้ามาใส่ก็มี นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ประกอบอีกคือ กรรไกรคีบหมาก เป็นกรรไกรทำด้วยเหล็ก ลักษณะคล้ายคีมมีคมด้านเดียว เอาไว้หั่นหมาก เมื่อจะใช้เอาหมากสอดระหว่างกรรไกรแล้วใช้มือบีบเพื่อผ่าหมาก หรือแบ่งหมากออกเป็นส่วนๆ เต้าปูน นิยมใช้เครื่องเคลือบ สำหรับใส่ปูนแดง ตะบันหมาก เป็นกระบอกทองเหลือง มีวัสดุด้ามยาว ปลายแบนทำหน้าที่คล้ายสิ่ว เอาไว้สำหรับตำลงไปในกระบอกให้แหลก เหมาะสำหรับคนชรา ที่ไม่สามารถเคี้ยวหมากแก่ได้ ภาษาถิ่นใต้เรียกตะบันหมาก ว่า ยอนหมากหรือ ยอน กระบอกที่ทำด้วยทองเหลืองจัดเป็นยอนสำหรับผู้มีอันจะกิน หากเป็นชาวบ้านทั่วไปอาจใช้กระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกไม่เกิน 1 นิ้ว เหล็กที่ไว้ตำหมากกับยอน เรียกว่า ตายอน ประวัติความเป็นมา หมากนับเป็นพืชสำคัญในหลายวัฒนธรรม สำหรับในวัฒนธรรมไทยนั้น การกินหมาก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหลายๆ ประเพณีที่สำคัญ การกินหมาก กล่าวมาแล้วว่าชาวไทยนิยมกินหมากกับพลู (และปูนแดง) โดยมากจะนำใบพลูที่ไม่แก่ หรืออ่อนจนเกินไป มาทาด้วยปูนแดง แล้วกินกับหมากที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวด้วยกัน จะมีน้ำหมากสีแดง ซึ่งจะต้องบ้วนทิ้ง การกินหมากทำให้ฟันดำ แต่ปากแดง ในสมัยโบราณ ชาวไทยทั้งหญิงชาย ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยชรา ล้วนแต่กินมากทั้งสิ้น ส่วนต้นหมากนั้น เป็นพืชที่ขึ้นง่าย พบได้ทั่วไปในสวน หาหมากกินได้ไม่ยาก ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง ขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับหมากมีดังนี้ ขันหมาก เป็นขันใส่หมากพลู เพื่อแสดงความเคารพ เช่น หากเชิญหมอทำพิธีจะต้องยกขันหมาก ซึ่งในขันหมากดังกล่าวนอกจากมีหมากพลูแล้วยังต้องมีดอกไม้ธูปเทียนและ เงินหัวขันหมาก ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวรวมถึงการที่เจ้าบ่าวจะต้องเตรียมขันหมาก มอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวในวันหมั้น หรือสู่ขอ หรือวันแต่ง การแห่หรือการไปสู่ขอ เรียกว่า แห่ขันหมาก หาก หมั้นแล้วไม่แต่งงาน เรียกว่า หม้ายขันหมาก วัสดุที่ใช้ ไม้ วิธีทำ - บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต ปัจจุบันนี้ คนไทยกินหมากน้อยลง แต่ยังมีหมากพลูจัดเป็นชุดขาย โดยมากนิยมนำไปเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา การกินหมากจนเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมมากอย่างจริงจัง นั่นคือ ใช้หมาก เป็นเครื่องต้อนรับแขก การเตรียมหมากพลูเพื่อต้อนรับแขก จึงนับเป็นการต้อนรับที่ดี ผู้ที่มีฐานะ จะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับหมากที่สวยงาม สถานที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ โทร. 0 5567 1143, 0
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่