ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 4' 31.368"
13.07538
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 0' 8.424"
100.00234
เลขที่ : 169360
วัดสำมะโรง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เพชรบุรี
2 3653
รายละเอียด
วัดสำมะโรงจดทะเบียนปีพ.ศ.2484 ประวัติวัดตามที่กล่าวขานกันมาว่าทำไมถึงเรียกว่าสำมะโรง เดิมเรียกว่า สามพันโลงหรือ สามพันโพลงซึ่งมีตำนานเล่าขานด้วยกัน 2ตำนาน ตำนานแรกเล่ากันมาว่ามีเรือสำเภามาล่มอยู่ที่หน้าหมู่บ้านจึงทำให้น้ำในเรือมาก เรือไม่สามารถจะแล่นไปได้ จึงได้มาขอยืมไม้โพลงของชาวบ้านนำไปวิดน้ำ กล่าวว่าโพลงน้ำในเรือออกได้ถึง 3,000โพลง ที่ตรงนี้จึงเรียกกันว่า สามพันโพลงแล้วเรียกเพี้ยนมาเป็น สำมะโรงจนถึงปัจจุบันนี้ ตำนานที่ 2เล่ากันว่า มีพี่น้องอยู่ สองคนแย่งชิงสมบัติกันเนื่องด้วยมารดาที่ตายไปแล้วยังไม่ได้แบ่งสมบัติไว้ทำให้พี่น้องเกิดแย่งชิงกันจนมีคนแนะนำให้พนันกันโดยแบ่งนาคนละครึ่งและทำลูกคันกันตรงกลางใครสามารถโพลงน้ำเข้าเต็มนาก่อนจะได้ที่ดินนั้นไป สองพี่น้องต่างโพลงน้ำเข้านาเพื่อต้องการที่ดินแปลงนี้ แต่ผลสรุปว่าทั้งสองโพลงน้ำเข้านาได้เต็มพร้อมกันและจำนวนที่โพลงได้คนละ 1,500โพลง เท่ากัน รวมได้ 3,000โพลงประธานในที่นั้นจึงตัดสินว่าขอยกที่ดินนี้สร้างวัด เพื่ออุทิศให้กับบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งสองพี่น้องเห็นด้วยและสร้างวัดให้มีชี่อว่า วัดสามพันโพลงและเรียกเพี้ยนกันเรื่อยมาจนเป็นสำมะโรง ถ้าจะกล่าวว่าวัดสำมะโรงได้สร้างข้นเมื่อใดนั้นคงไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่สันฯษฐานกันว่าสร้างมาในสมันรัชกาลที่ 4 แต่เดิมวัดสำมะโรงไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งวัดในปัจจุบันแต่วัดจริงตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 300เมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 10ไร่โดยชาวบ้านเรียกกันว่าเกาะกลางหรือเกาะร้าง เล่ากันว่าครั้งพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแต่แล้วนั้นทหารพม่าได้เผาวัดวาอารามทิ้งเผาบ้านเรือนหลังสงครามสงบลงบ้านสำมะโรงหรือบ้านสามพันโพลง ก็มีคนเข้ามาอาศัยเข้ามาตั้งรกรากอาศัยทำมาหากินผู้คนอยู่เย็นเป็นสุขก็มีคนคิดริเริ่ม จะซ่อมแซมวัดสามพันโพลง ปัจจุบันวัดสำมะโรงได้รับการบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาแต่ก็ยังคงโบราณสถานที่เก่าแก่เอาไว้บ้างบางส่วนเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวัดสำมะโรงนี้ก็คือเมื่อเข้ามาในวัดนี้จะสดุดตาพุทธวิหารมากที่สุดซึ่งทำจากไม้สักทั้งหลัง แกะสลักทั้งหลังโดยใช้ช่างจากอยุธยา ที่วัดแห่งนี้จะมีประเพณีทำบุญรอบวัดประจำหมู่บ้านซึ่งจะทำก่อนสงกรานต์สิ้นสุดวัดที่12เมษายน มี7สถานทีและมีการจัดงานประจำปีทุกปีวัดสำมะโรงมีพระลูกวัดจำนวน 9รูปมีพระครูใบฎีกาพงศ์เทพ สิริปุญโญเป้นเจ้าอาวาสวัด
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดสำมะโรง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล สำมะโรง อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พระใบฎีกาพงศ์เทพ สิริปุญโญ
ชื่อที่ทำงาน วัดสำมะโรง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล สำมะโรง อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76000
โทรศัพท์ 081-8579615
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่