ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 54' 1.2672"
14.900352
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 29.2752"
100.508132
เลขที่ : 169479
ตำนานเขาสมอคอน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ลพบุรี วันที่ 23 มกราคม 2565
จังหวัด : ลพบุรี
0 2684
รายละเอียด

ตำนานเขาสมอคอน ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เขาสมอคอนเป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจหลายตำนานด้วยกัน จากบันทึกในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานกล่าวไว้ว่า เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของ สุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระจ้ารามคำแหงมหาราชและ พระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพระเยา เมื่อทรงเยาว์ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ซึ่งสมัยนั้น กษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน และบันทึกของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ว่า เขาสมอคอน เหมือนเกาะอยู่กลางทุ่งไปทางด้านเหนือ มีถ้ำ และมีวัดโบราณอยู่ที่เขานี้หลายแห่ง และมีเรื่องตำนานในพงศาวดารเมืองหริภุญไชยว่า เมื่อครั้งขอมเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองละโว้ มีฤาษีองค์หนึ่งชื่อว่า สุกะทันต์ จำศีลอยู่ที่เขาสมอคอน ได้เป็นผู้ทูลให้พระเจ้ากรุงละโว้ตั้งนางจามเทวีราชธิดาไปครองเมืองหริภุญไชย(ลำพูน) มีเรื่องราวพิสดารอยู่ในหนังสือเรื่องจามเทวีวงศ์ ส่วนตำนานจากเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อครั้งที่พระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ หนุมานขันอาสาไปหาต้นสังกรณีตรีชวา ด้วยความรีบร้อน จึงแบกภูเขาเอาไปทั้งลูก ระหว่างทาง เศษดิน หิน ร่วงหล่นยังทุ่งนาแห่งหนึ่งเกิดเป็นเทือกเขาเล็กๆ ขึ้นกลางทุ่งนาจึงเรียกทุ่งนาแห่งนั้นกันต่อๆ มาว่าเขาสมอคอน มาจนบัดนี้ บางเล่าต่างกันไปว่า ขณะที่หนุมานกำลังเหาะกลับจากเก็บสังกรณีตรีชวา เห็นไฟกำลังไหม้ทุ่งแดงฉานจึงสลัดหินดินทรายที่ติดมากับต้นสังกรณีตรีชวาให้ร่วงหล่นเพื่อดับไฟ หินทรายเหล่านั้นกลายเป็นเทือกเขาสมอคอน บริเวณเขาสมอคอนมีวัดเขาสมอคอนซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่ชาวจังหวัดลพบุรีต่างก็รู้จักดี เพราะอยู่คู่กับเขาสมอคอนมาเป็นเวลาช้านาน

สถานที่ตั้ง
วัดเขาสมอคอน
ตำบล เขาสมอคอน อำเภอ ท่าวุ้ง จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบล เขาสมอคอน อำเภอ ท่าวุ้ง จังหวัด ลพบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่