ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 48' 9.9396"
14.802761
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 36' 37.188"
100.61033
เลขที่ : 169622
บ้านวิชาเยนทร์
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : ลพบุรี
0 2184
รายละเอียด
บ้านวิชาเยนทร์ หรือ บ้านหลวงรับราชทูต : บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สร้างขึ้นใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทูตจาก ประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2228 ได้พัก ณ สถานที่ แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า บ้านหลวงรับราชทูต และเนื่องจากสถานที่นี้เป็นที่พำนักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนาง สำคัญในสมัยนั้นด้วย ในภายหลังจึงได้ ชื่อว่า "บ้านวิชาเยนทร์" อีกชื่อหนึ่ง พื้นที่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูตแบ่งออกเป็น 3 ส่วน สังเกตได้จาก ประตูเข้าด้านหน้า ซึ่งสร้าง ไว้สำหรับเป็นทางเข้าออกแต่ละส่วนคือ ส่วนทิศตะวันตก ส่วนกลาง และส่วนทาง ทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกเป็นกลุ่มอาคาร ได้แก่ตึก 2 ชั้น หลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคารชั้นเดียว แคบ ยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ส่วนกลางมีอาคารที่สำคัญ คือ ฐานของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเข้าใจว่า เป็นหอระฆังและโบสถ์คริสตศาสนา ซึ่งอยู่ทางด้านหลังซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่ กลุ่มอาคารใหญ่ 2 ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้า เป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้ม ประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียว กันกับทางทิศตะวันตก ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านหลวงรับราชทูตบางหลัง เป็นแบบยุโรป อย่างแท้ จริง โดยเฉพาะ อาคารใหญ่ทางทิศตะวันออกก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะ ศิลปะตะวันตก แบบเรอเนสซองส์ ซึ่งเจริญแพร่หลายในระยะเวลาเดียวกัน และที่สำคัญอีกคือ อาคารที่เป็น โบสถ์คริสตศาสนา ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วมีเสาปลายเป็น รูปกลีบบัวยาว ซึ่งเป็นศิลปะแห่งไทย โบสถ์เหล่านี้ถือว่าเป็นโบสถ์คริสตศาสนาหลังแรกในโลก ที่ตกแต่งด้วย ลักษณะ ของโบสถ์ทางพระพุทธศาสนา
หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ ซอยวิชาเยน
จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จังหวัด ลพบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่