ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 17' 57.23"
15.2992305555556
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 6' 24.84"
105.1069
เลขที่ : 169947
ตะเกียงเจ้าพายุ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1868
รายละเอียด
ตะเกียงเจ้าพายุ ตัวตะเกียงทำจากโลหะ กระจก ไส้ให้แสงสว่างทำจากใยสังเคราะห์ วิวัฒนาการมาจากโฮงขี้ไต้หรือกะบอง ใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิง โดยใช้แรงอัดจากลมพ่นน้ำมันออกมาเป็นฝอยหรือละอองที่ไส้ใยสังเคราะห์และต้องอัดลมหรือเติมลมทุกระยะ ตัวตะเกียงเจ้าพายุจะมี นมหนู มีวาล์ว มีท่อส่งน้ำมัน ตัวเปิดปิดน้ำมัน มีเกจ์วัดความดัน ไส้ตะเกียง ประวัติความเป็นมาของตะเกียงเจ้าพายุดวงแรกของโลกได้ถือกำเนิดขึ้นตามที่มีเอกสารยืนยัน ในปี ค.ศ. 1895 โดย Meyenberg, Wendorf และ Henlein ตะเกียงประเภทนี้นอกจากใช้บ้านเรือนแล้วยังได้ถูกนำไปใช้ในโคมไฟตามถนนหนทาง รวมถึงประภาคาร สมัยก่อนบ้านที่มีตะเกียงเจ้าพายุจะค่อนข้างมีฐานะ เช่น บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเอาไว้จุดแสงสว่างตอนมีงานบุญ หรือประชุมกับลูกบ้าน เมื่อวิวัฒนาการมาถึงการใช้กระแสไฟฟ้า การใช้ตะเกียงเจ้าพายุ ก็ลดน้อยลงไปมาก จนแทบไม่มีแล้ว กลายเป็นวัตถุโบราณเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แทนหรือเอาไว้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนร้านค้า ตะเกียงเจ้าพายุ อายุ 100-120 ปี บริจาคโดยชาวบ้านสว่าง เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสว่างพิมพ์ธรรม หมู่ 2 บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ อุบลราชธานี
สถานที่ตั้ง
หมู่ 8 ถ.สถิตย์นิมมานกาล
เลขที่ บ้านสว่างอ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ หมู่ 8 ถ.ส หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านสว่างออก
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 08 6702 7652
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่