ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 17' 57.23"
15.2992305555556
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 6' 24.84"
105.1069
เลขที่ : 169953
พิณ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1679
รายละเอียด
พิณ คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่มีใช้ในการแสดงทั่วไปในอีสาน โดยมักจะนำมาบรรเลงคู่กับแคนในการแสดงหมอลำ ส่วนประวัติความเป็นมาของพิณไม่สามารถหาต้นตอได้ว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นคนแรก แต่ถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีเล่นกันมาช้านาน และมีแพร่หลายในหลากหลายประเทศ แต่อาจมีรูปร่างและชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น สำหรับพิณพื้นบ้านอีสาน จะมีรูปร่างคล้ายกีต้าร์ของดนตรีสากล มักทำด้วยไม้ท่อนเดียว มาขุดและเจาะให้มีรูปร่างเหมือนตัวพิณ พิณจะมีส่วนประกอบสำคัญอยู่สามส่วน คือ (1) กล่องเสียง (2) คอพิณ และ (3) ลูกบิด พิณอาจจะมีได้ตั้งแต่ 2 สาย 3 สาย และ 4 สาย ก็ได้ วิธีการเล่น จะใช้มือซ้ายจับตรงส่วนคอ แล้วใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย กดเสียงที่ต้องการตามลายพิณ ส่วนมือขวาจะใช้ดีดสายตรงลำโพงเสียง อาจดีดด้วยนิ้วโป้งหรือใช้ปิ๊กกีตาร์ก็ได้ เวลาดีดสาย 1 และสาย 2 เพื่อเล่นทำนอง ให้ดีดสาย 3 เป็นเสียงประสานด้วย ซึ่งเสียงของสาย 3 นี้ จะทำหน้าที่เหมือนกับการเคาะลูกเสิบของโปงลางหรือลูกติดสูดของแคน คือทำหน้าที่เป็นเสียงประสานไปตลอดเพลง อย่างไรก็ตามยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ในชื่อเรียกของพิณ บางตำรากล่าวว่าในภาคอีสานบางท้องถิ่น เช่น จังหวัดอุบลราชธานี จะเรียกพิณ ว่า “ซุง” จังหวัดชัยภูมิเรียกว่า “อีเต่ง” แต่ลักษณะโดยรวมของพิณจะไม่แตกต่างกัน แต่ก็จะมีบางท้องที่ที่แยกพิณกับซุงออกจากกัน ซึ่งความแตกต่างก็คือ “พิณจะใช้สายกีตาร์ มีเสียงแหลม เพราะไม่ได้เจาะเป็นโพรง แต่จะเจาะเป็นรูเท่านั้น ซึ่งจะดีดคู่กับเสียงหมอลำผู้หญิง ซึ่งเล่นกับหมอลำซิ่งในปัจจุบัน ส่วนซุงใช้สายลวดเบรกรถจักรยาน ซึ่งเป็นเกลียวแข็งแรงกว่าสายกีตาร์ เมื่อดีดแล้วจะเป็นเสียงทุ้มกังวานเพราะเจาะเป็นโพรง ส่วนใหญ่จะเล่นกับคณะหมอลำโบราณย้อนยุค และที่สำคัญการดีดพิณจะต้องดีดที่ละสาย ส่วนการดีซุงจะดีดทุกสาย” (อ้างอิงจาก สอนผลิตพิณ-ซุงอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ใน หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2553) ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญจะได้ศึกษาต่อไป
สถานที่ตั้ง
หมู่ 8 ถ.สถิตย์นิมมานกาล
เลขที่ บ้านสว่างอ
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ หมู่ 8 ถ.ส หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านสว่างออก
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 08 6702 7652
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่