ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 22' 23.02"
14.3730611111111
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 53' 34.06"
99.8927944444445
เลขที่ : 170909
ไทยทรงดำ ชาวไทยเชื้อสายลาวโซ่ง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 1568
รายละเอียด
ชาวไทยทรงดำ หรือลาวทรงดำ หรือลาวโซ่ง เป็นชนกลุ่มน้อยที่ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่บริเวณมณฑลกวางสี ยูนาน ตังเกี๋ย ลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง สิบสองปันนา จนคลอบคลุมถึงบริเวณตอนเหนือของเวียดนาม โดยชาวไทยทรงดำที่อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของเวียดนามได้ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยสงครามในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ พ.ศ.2322 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองเพชรบุรี เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศใกล้เคียงกับแหล่งอาศัยเดิม และในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 4 ได้มีการกวาดต้อนชาวไทยทรงดำเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีก จากประชากรที่เพิ่มขึ้นชาวไทยทรงดำจึงได้ขยายถิ่นฐานบ้านเรือนออกไปตามจังหวัดข้างเคียงเช่น ราชบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี โดยมีหลักฐานคือ พ.ศ.2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงกรมหมื่นดำรงราชนุภาพ(ยศในขณะนั้น) ได้กล่าวถึงชาวลาวโซ่งที่อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรีเพื่อหาแหล่งทำกินใหม่ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยอาชีพหลักคือการทำนา ชาวไทยทรงดำเป็นชนกลุ่มที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนอย่างเหนียวแน่น หากมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยก็เพียงเล็กน้อยตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปโดยยังยึดรากแก่นของตนเป็นที่ตั้ง เช่นการแต่งกาย การเซ่นผี การปลูกบ้านสร้างเรือน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ชาวไทยทรงดำจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากชนชั้นปกครองในสิบสองปันนา และชนชั้นล่างหรือประชาชนทั่วไป ทำให้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องการถือผีเป็นสิ่งที่ชาวไทยทรงดำให้ความสำคัญ และมีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่นการนับถือพระแม่ธรณี พระแม่โพสพ และที่สำคัญที่สุดคือผีบรรพบุรุษ ที่เรียกว่าผีเรือน หรือผีเฮือน ประเพณีและพิธีกรรมชองชาวไทยทรงดำต่างๆมีดังนี้ 1. ประเพณีไหว้ศาลประจำหมุ่บ้าน 2. ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ 3. ประเพณีเสนเฮือน (เสนเรือน) 4. การแต่งงาน 5. งานศพ 6. การปัดรังควาน 7. ประเพณีการละเล่น
หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
อำเภอ อู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อำเภอ อู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่