ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 7' 9.052"
8.1191811
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 6' 4.8593"
99.1013498
เลขที่ : 192669
ลอยเรือ แหลงตง เกาะพีพี
เสนอโดย กระบี่ วันที่ 3 เมษายน 2563
อนุมัติโดย กระบี่ วันที่ 3 เมษายน 2563
จังหวัด : กระบี่
0 192
รายละเอียด


ประเพณีลอยเรือ หรือลอยเรือชาวเลชาวเลอูรักลาโว้ย เกาะพีพี

เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวเลที่ยึดถือปฏิบัติและสืบทอดกันมาช้านาน โดยชาวเลมีความเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์เพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้านรอดพ้น จากสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งปวง ด้วยการขออำนาจจากผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านให้ช่วยขับไล่สิ่ง อัปมงคล และรวมทั้งเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงความขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองให้พวกเขาได้ อยู่รอดปลอดภัยตลอดฤดูมรสุม โดยใช้เรือเป็นพาหนะบรรทุกสิ่งชั่วร้ายออกไป ปล่อยให้ไหลไปตามสายน้ำ

ชาวเล ถือว่าการลอยเรือเป็นประเพณีสำคัญที่สุดในรอบปี นิยมจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งๆ ละ 3 วัน คือในวันขึ้น 14, 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ ของเดือน 6 กับเดือน 11 ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุม ส่วนวันลอยเรือชาวเลบางแห่งจะพากันไปเซ่นไหว้ผีหมู่บ้านก่อนเพื่อความเป็น สิริมงคล ส่วนในการต่อเรือพิธี หรือ ปลาจั๊ก ซึ่งทั้งหมู่บ้านจะต่อกันเพียงลำเดียว ไม้ที่ใช้ต่อเรือจะเป็นไม้เนื้ออ่อน ส่วนมากนิยมใช้ไม้ระกำ โดยเรือปลาจั๊กจะมีขนาดกว้าง 2 ฟุต ยาวประมาณ 6 ฟุต ตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ใบเรือทำจากผ้าดิบ และยังมีการแกะสลักไม้ระกำ เป็นนายท้ายเรือ พายนำเครื่องใช้ประจำวัน อาทิ มีด ครก เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ ใส่ไปในเรือด้วย จากนั้นเมื่อทำการต่อเรือเสร็จแล้ว ในตอนค่ำ ผู้นำครอบครัวจะนำตุ๊กตาที่แกะสลักเป็นรูปคนโดยแกะจากไม้ระกำ ตามจำนวนสมาชิกของครอบครัว พร้อมทั้งตัดเล็บมือ เล็บเท้า เส้นผมของทุกคนในบ้าน ตลอดจนของแห้ง เช่น กะปิ เกลือ หมาก พลู ที่เตรียมมาใส่ลงไปในเรือด้วย

สำหรับการลอยเรือนั้น ในตอนค่ำจะมีหนุ่มสาวชาวเล ร่วมกันเต้นรำวง ร้องรำรองแง็งกันอย่างครึกครื้นสนุกสนานจนกระทั่งถึงรุ่งสางของวันใหม่ จากนั้นก็จะมีการนำรือปลาจั๊กปล่อยลงกลางทะเล เมื่อแน่ใจว่าเรือได้ลอยหายลับไปแล้ว จึงเป็นอันว่าเสร็จพิธีกรรมหลัก

หลังจากนั้นพวกผู้ชายจะเข้าป่าไปหาไม้มาทำเป็นรูป ไม้กางเขนจำนวน 7 อัน ที่ปลายไม้ทั้งสองด้านติดใบกะพ้อ นำไปปักเรียงเป็นแถวตามแนวตั้งจากบกออกสู่ทะเลตรงบริเวณที่วางเรือพิธี ไม้นี้ชาวเล เรียกว่า กายู่ฮาปัด เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ คอยปัดรังควานไม่ให้สิ่งอัปมงคลกลับเข้ามาในหมู่บ้านอีก ชาวบ้านจะปักไม้นี้ไว้จนถึงเช้าวันพรุ่ง จึงถอนออกไปปักใหม่เป็นแนวนอนยาวตลอดตั้งแต่หัวหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้าน เป็นอันเสร็จพิธีลอยเรือ บรรดาพี่น้องชาวเลจากที่ต่างๆที่สนุกสนานรื่นเริงกันมาหลายวันก็ถึงคราวต้อง เลิกรา รอจนกว่าพิธีลอยเรือในครั้งหน้าจะเวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่งจึงถอนไม้กายู่ปา ฮัดท่อนเก่าออก เพื่อนำท่อนใหม่มาปักแทน

สถานที่ตั้ง
จังหวัด กระบี่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด กระบี่ อีเมล์ plan413@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่