ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 21' 31"
19.3586111
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 26' 24"
98.4400000
เลขที่ : 192681
สะพานบุญโขกู้สุ่ย หมู่บ้านแพมบก
เสนอโดย kwan rattanaporn วันที่ 3 เมษายน 2563
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 3 เมษายน 2563
จังหวัด : แม่ฮ่องสอน
0 183
รายละเอียด

สะพานบุญโขกู้สุ่ยสะพานไม้ไผ่แห่งศรัทธา ตั้งอยู่ในหมู่บ้านแพมบก ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองปายประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสะพานไม้ไผ่ที่ทอดยาวคดเคี้ยวไปในทุ่งนาข้าวโดย มีฉากหลังเป็นภูเขาสวยงามจนกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของเมืองปาย

โขกู้โส่ เป็นภาษาไทยใหญ่ คำว่าโข แปลว่าสะพาน และ กู้โส่ แปลว่า กุศล หรือ บุญ แปลเป็นภาษาไทยว่า สะพานบุญโขกู้สุ่ย เกิดขึ้นจากพระอาจารย์สาคร จารุธัมโม ผู้ดูแลสำนักสงฆ์คายคีรี ได้มีแนวคิดที่จะทำสะพานเชื่อมระหว่างสำนักสงฆ์ กับหมู่บ้านแพมบก เพื่อให้พระสงฆ์สามารถเดินไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ที่ห่างกันประมาณ 1 กม. เดิมพระสงฆ์จะต้องเดินผ่านทุ่งนาข้าวของราษฎรซึ่งเส้นทางที่แคบลื่นในหน้าฝน สร้างความลำบากในการเดินทางและชาวบ้านที่จะเดินทางมาทำบุญที่วัด จึงปรึกษากับคณะศรัทธาญาติโยม ในหมู่บ้านแพมบก บ้านปางตอง และบ้านแม่แลบ ในการที่จะสร้างสะพานบุญขึ้นมา และคณะศรัทธาต่างเห็นชอบ จึงได้ลงมือสร้างสะพานขึ้นมาเมื่อต้นปี พ.ศ.2559สะพานบุญโขกู้สุ่ย มีความยาวทั้งหมด 815 เมตร สูงจากพื้นดินประมาณ 1-2 เมตร สร้างขึ้นจากโครงปูนและเหล็ก ใช้ไม้ไผ่สานเป็นพื้นด้านบน กว้างประมาณ 1 เมตร สองฟากฝั่งทางเดินจะเป็นนาข้าวสุดกว้างไกล ซึ่งถือว่าเป็นสะพานไม้ไผ่อีกแห่งหนึ่งที่มีความสวยงามและยาวมาก มองจากมุมสูงจะเห็นว่าบ้านเรือนของชาวบ้านนั้นอยู่ติดริมทุ่งนากันเลยทีเดียว

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน แพมบก
จังหวัด แม่ฮ่องสอน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง รัตนาภรณ์ ใจดี
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่