รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ชุมชน
ประวัติความเป็นมา/ทุนทางวัฒนธรรม ที่เป็นแรงบันดาลใจในการผลิต
ผ้าทอของชาวไทยพวน ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาที่ชาวไทยพวนสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่นมีเอกลักษณ์และลักษณะพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือ มีกรรมวิธีในการผลิตและวิธีการต่าง ๆ ที่ละเอียดอ่อน งดงามทั้งทางด้านการกำหนดลวดลาย สีสันที่โดดเด่นสะดุดตา ลวดลายต่าง ๆ ล้วนประณีตละเอียดอ่อน ทั้งกรรมวิธีการมัดหมี่ การควบเส้น การขิด การจก และการแต้มสี ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของผ้าทอของชาวไทยพวนอย่างแท้จริง ลวดลายบนผ้านุ่งที่ชาวไทยพวนนุ่งนั้น ล้วนแฝงด้วยคติความเชื่อในจารีตขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของตนเอง ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายายมาสู่รุ่นพ่อแม่และถึงรุ่นลูกหลานนานนับเวลาเกือบ 200ปี
สำหรับผ้าซิ่นทอมือ ผ้าของชาติพันธุ์พวนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ ออกแบบโดยคุณนลินรัตน์ คำปุ้ยธนันท์ธร หรือ มาดามลั่นทมโดยผ้าไทพวนเพชรบุรีจะสืบแบบจกหรือแบบขิด ไม่สืบมัดหมี่ มีการพัฒนาต่อยอดลายผ้า อันเป็นอัตลักษณ์ของไทยพวนเพชรบุรีโดยเฉพาะ
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ซิ่นไทยพวน มีจุดเด่น คือ เป็นผ้าทอมือแบบขิด มีลวดลายแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม หรือ 5 แบบ ได้แก่
นวลลีลาวดี , นิลลีลา ,จำปาขาว,ป้าวเชียงขวาง ,เจ้านางพวน ซึ่งทั้ง 5 แบบ แตกต่างกันที่ สี และ ลวดลายบนผืนผ้า ตลอดจนเสื้อที่สวมใส่กับซิ่น ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยพวนเพชรบุรี
กระบวนการ/วัสดุที่ใช้ในการผลิต
วัสดุที่ใช้ในการผลิต คือ ฝ้าย
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
1) ประโยชน์ใช้สอย .........ใช้นุ่งห่มร่างกาย
2) ราคา .........ผืนละ ๒,๕๐๐ – ธิบาย)๗,๕๐๐....บาท
3) วัสดุ/ส่วนประกอบ .....ผ้าฝ้ายทอมือ
4) ระยะเวลาในการผลิต ......1 เดือน
5) สถานที่ในการจัดจำหน่าย .....บ้าน ภายในชุมชน และส่งตามออเดอร์ที่ติดต่อทางไลน์ และเฟซบุ๊ค