ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 17' 0.0434"
15.2833454
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 39' 41.688"
104.6615800
เลขที่ : 192911
ธรรมาสน์สิงห์เทินบุษบก
เสนอโดย อุบลราชธานี วันที่ 26 พฤษภาคม 2563
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 26 พฤษภาคม 2563
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 405
รายละเอียด

ธรรมาสน์ตั้งอยู่ภายในศาลาการเปรียญมีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันตก ศิลปะพื้นเมือง และศิลปะจีน ผ่านฝีมือช่างชาวเวียดนามเป็นประติมากรรมรูปสิงห์แบบสิงโตจีนขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูนสูงจากพื้น รองรับบุษบกในผังสี่เหลี่ยมประดับปูนปั้น ทาสีสันสดใส ธรรมาสน์หลังนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2468-2470 โดยช่างชาวเวียดนามชื่อ "เวียง" และอำนวยการก่อสร้างโดยพระอุปัชฌาย์วงค์ พรหมฺสโร ฐานชั้นแรกของธรรมาสน์เป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1.80-2.80 เมตร บริเวณล่างหน้ากระดานซึ่งรองรับขาสิงห์ ประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปต่างๆ โดยด้านหน้าของฐานหน้ากระดาน เป็นประติมากรรมพระพุทธรูปซึ่งมีนกเกาะอยู่บนพระเพลา รูปสตรีอุ้มเด็ก รูปบุรุษสูงอายุยืนถือไม้เท้า และช้าง สันนิษฐานว่าประติมากรรมเหล่านี้แสดงเรื่องพระเวสสันดรชาดก นอกจากนี้บริเวณฐานหน้ากระดานยังมีประติมากรรมปูนปั้นประกอบอื่นๆ อีก เช่น รูปบุคคล เทวดา หรือบุคคลขั้นสูง และรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ม้า งู และจรเข้

ตัวสิห์ อยู่ในลักษณะยืน สูงประมาณ 1.50 เมตร ลำตัวยาว 1.80 เมตร หันหน้ไปทางทิศตะวันออก ตัวสีขาวเขียนเป็นลายเกล็ดสีน้ำเงินสลับเหลือง ประดับปูนปั้นแบบนูนต่ำเขียนสีฝุ่นลาพรรณพฤกษา บริเวณแผงคอและดวงตาทั้งสองข้งประดับกระจก บริเวณสะโพกมีลายเมฆแบบจีน ส่วนหางมีลักษณะคล้ายหางนกในศิลปะจีน มีลายเมฆประดับอยู่ตามขนหาง ด้านหัวสิงห์อ้าปาก มีหงอนเป็นกระหนกเปลวขนาดลดหลั่นกันที่หลังสิงห์เทินบุษบกทรงสี่เหลี่ยมสูงจากพื้น 1.40 เมตร หลังคาซ้อชั้นเสากลมมีบัวรองรับ ส่วนหัวเสาทำเป็นบัวหงาย ตัวเสามีลายมังกรนูนต่ำพัน ผนังทั้งสี่ด้านเจาะเป็นช่องโค้งบริเวณผนังประดับด้วยลวดลายปูนปั้นนูนต่ำเขียนสีฝุ่น ผนังธรรมาสน์ด้านทิศเหนือ คือ ฝั่งซ้ายของตัวสิงห์ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเขียนสีเป็นภาพเทวดาและนาฟ้าประดับด้วยลวดลายในศิลปะจีน รูปสัตว์ท่ามกลางพรรณพฤกษา ส่วนล่างของนางฟ้าเป็นรูปหงส์ด้านที่ปรากฏภาพเทวดาเป็นภาพเสือคาบดอกไม้ และมีนกเกาะอยู่บนตัวมังกร ผนังธรรมาสน์ด้านทิศใต้ คือ ฝั่งขวาของตัวสิงห์ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเขียนสีเป็นรูปนกท่ามกลางพรรณพฤกษา ด้านหนึ่งมีภาพทหารพนมมืออีกด้านหนึ่งทำเป็นภาพทหารกระทำวันทยหัตถ์แสดงความเคารพ ผนังธรรมาสน์ด้านทิศตะวันออก ประดับภาพปูนปั้นภาพบุคคลแต่งกายอย่างชาวจีน ไว้ผมเปียยางบุคคลนุ่งโจงกระเบน และบุคคลแต่งชุดสากล ผู้ชายสวมหมวกและผู้หญิงสวมหมวกกระโปรง และมีลายพรรณพฤกษา โดยมีภาพนกแทรกอยู่ ผนังธรรมาสน์ด้านทิศตะวันตก ด้านหลังของตัวธรรมาสน์เป็นลวดลายปูนปั้นรูปนกเกาะอยู่บนกิ่งไม้ รูปบุคคลยืนบนช้างและรูปเทวดายืนบนม้า มีบานหน้าต่างไม้ฉลุทางสีทอง เครื่องบนของธรรมาสน์เป็นเครื่องไม้โดยทำเป็นชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป 3 ชั้น มีการฉลุและแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ มีทั้งภาพสัตว์ในวรรณคดี เทวดา นก ลายพรรณพฤกษา และลวดลายซึ่งใช้ประกอบในศิลปะไทย ลวดลายเหล่านี้ตากแต่งด้วยการปิดทองและเขียนสีบนพื้นที่สีแดงและบางส่วนยังประดับกระจกสีอีกด้วย

ห้องที่ 1 เขียนเป็นภาพตารางขนาดใหญ่อยู่กลางและมีนาคพันอยู่ในรอบ ด้านข้างเขียนเป็นภาพบุคคลดันวงล้อ และมีภาพมังกรคายลายพรรณพฤกษา

ห้องที่ 2 เขียนเป็นภาพพระราหู ดอกไม้ ใบไม้และรูปสัตว์และช่องเล็กเขียนรูปดวงดารามีภาพบุคคลแลสัตว์ประกอบ

ห้องที่ 3 เป็นภาพดวงดาราขนาดใหญ่ล้อรอบด้วยกามเทพหรือคิวปิดบริเวณด้านข้างของดาราเขียนภาพพญานาคพันกายมนุษย์ ตัวพญานาคคายพรรณพฤกษามีรูปสัตว์ได้แก่ เต่า กิเลน มังกร และหงส์ ประกอบอยู่ส่วนอีกด้านมีบุคคลนั่งอู่บนพญานาค 2 ตัว กำลังอุ้มเด็กและเทินถาดผลไม้

ห้องที่ 4 เป็นภาพดวงดาราขนาดใหญ่ กลางดวงดาราเป็นรูปสตรีฟ้อนรำบนตัวหงส์แบบจีนด้านข้างเป็นภาพเทพและอสูรกำลังรบกัน

พบว่าสีที่นิยมเขียนเป็นหลัก คือ ฟ้าคราม เหลือง แดง เขียว ขาว ดำ ลักษณะการเขียนภาพมีความงดงามตามแบบศิลปะพื้นเมือง และศิลปะฝีมือช่างชาวเวียดนาม

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านชีทวน
ตำบล ชีทวน อำเภอ เขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี
บุคคลอ้างอิง นายวิญญู จูมวันทา อีเมล์ thapakron1976@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี อีเมล์ thapakron1976@gmail.com
ถนน สุรศักดิ์
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000
โทรศัพท์ 045244531 โทรสาร 045244533
เว็บไซต์ www.province.m-culture.go.th/ubonratchathani
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่