ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 18' 14"
19.3038889
ลองจิจูด (แวง) : E 97° 58' 37.9999"
97.9772222
เลขที่ : 193277
ประเพณีปอยต้นธี
เสนอโดย kwan rattanaporn วันที่ 17 กันยายน 2563
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 17 กันยายน 2563
จังหวัด : แม่ฮ่องสอน
0 466
รายละเอียด

วันแรกของการประกอบพิธี เป็นวันตัดต้นธี เรียกว่า โกวกะควาง

วันที่ 2 วันประดับตกแต่งต้นธี เรียกว่า หม่ากะควางเกลอ

วันที่ 3 วันปลุกต้นธี เรียกว่า เบาถ่างกะควาง

ต้นธีที่นำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรม ทำจากไม้ลูกหว้า หรือไม้สะเป่ (ภาษาไทยใหญ่) หรือ ภาษากะเหรี่ยงแดง เรียกว่า ตะมอเหมาะ และกะเหรี่ยงคอยาว เรียกว่า กะเม่มา

ต้นหว้าชาวกะเหรี่ยงแดงหรือกะเหรี่ยงคอยาว มีความเชื่อว่า ต้นหว้าเป็นต้นไม้ต้นแรกที่เกิดขึ้นในโลก ถือเป็นไม้มงคลที่นิยมนำยอดของต้นหว้ามาขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายแล้วจะได้สิ่งดีๆสมดั่งใจหวัง

ปอยต้นธีมาจากภาษาไทใหญ่ คำว่าปอย หมายถึง งาน คำว่าต้นธี หมายถึง ต้นไม้ที่มีการแกะสลัก และมีการประดับตกแต่งให้สวยงามโดยมีลักษณะคล้ายร่ม (ธี ภาษาไทใหญ่แปลว่าร่ม) เมื่อนำคำ 2 คำมาประสมกัน เป็นปอยต้นธี จะหมายถึง งานประเพณีปีใหม่ ของกลุ่มชาติพนธุ์กะเหรี่ยงแดง และกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคอยาว

ประเพณีปอยต้นธีเป็นงานประเพณีที่มีต้นกำเนิดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มีการจัดงานขึ้นครั้งแรก เมื่อปีจุลศักราช 1576 หรือปีพุทธศักราช 2363 ที่เมืองลอยก่อ รัฐคะยา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นประเพณีที่มีมาแต่งสมัยโบราณกาลการจัดประเพณีปอยต้นธีของทุกๆปี จะมีการจัดงานขึ้นที่เมืองต้นกำเนิดก่อนที่เมืองอื่นๆจะได้จัดงานประเพณีต่อไป

สถานที่ตั้ง
บ้านห้วยปูเเกง
อำเภอ เมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัด แม่ฮ่องสอน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
https://korkan2543.maggang.com/%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9
บุคคลอ้างอิง รัตนาภรณ์ ใจดี อีเมล์ kwankaw5604105339@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัด แม่ฮ่องสอน
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่