ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 44' 13.3105"
18.7370307
ลองจิจูด (แวง) : E 97° 52' 19.776"
97.8721600
เลขที่ : 193278
ประเพณีปอยเหลินสิบเอ็ด
เสนอโดย kwan rattanaporn วันที่ 17 กันยายน 2563
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 17 กันยายน 2563
จังหวัด : แม่ฮ่องสอน
0 307
รายละเอียด

ชาวไตหรือไทใหญ่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะที่แม่ฮ่องสอนชาว พื้นเมืองส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทใหญ่ พวกเขามีประเพณีหนึ่งที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาแต่บรรพบุรุษคือ “ปอยเหลินสิบเอ็ด” “ปอยเหลินสิบเอ็ด” เป็นคำไทใหญ่ “ปอย” หมายถึง งานบุญ “เหลิน” คือ เดือน “ปอยเหลินสิบเอ็ด” คือ งานบุญเดือนสิบเอ็ด หรืองานบุญออกพรรษานั่นเอง โดยมีที่มาจากพุทธประวัติเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าเสด็จกลับจากจำพรรษาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชาวไตได้นำเหตุการณ์จากพุทธประวัติ ช่วงนั้นมาสืบทอดประเพณี และมีพิธีกรรมการละเล่นต่าง ๆ เช่น การสร้างปราสาท เรียกว่า “จองพารา” เพื่อรับ เสด็จพระพุทธเจ้า แต่งตัวเป็นสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ ออกมาร่ายรำถวายเป็นพุทธบูชา การตักบาตรเทโว และการ หลู่เตนเหงหรือการถวายต้นเทียนหนึ่งพันเล่ม เป็นต้น

สมัยก่อนจะใช้เวลานานนับเดือนเพื่อตระเตรียมข้าวของเครื่องใช้สำหรับงานปอย คนเฒ่าคนแก่จะพา กันเหลาไม้ไผ่ตกแต่งโครงปราสาทแล้วปิดทับด้วยกระดาษสา ติดประดับกระดาษสีซึ่งฏลุลายไว้วิจิตรบรรจง ชาวไตเชื่อว่าหากใครสร้างจองพารารับเสด็จพระพุทธเจ้าจะนำมาซึ่งสิริมงคล เสริมส่งบุญญาบารมีแก่ตนและ ครัวเรือน จึงพากันสร้างจองพาราขนาดใหญ่ถวายไว้ที่วัดประจำหมู่บ้าน และจองพาราขนาดเล็กตั้งไว้ตามที่สูง และเหมาะสมของบ้านเรือน เมื่อถึงเทศกาลงานปอยเหลินสิบเอ็ด จองพาราที่นิยมทำกันนั้นมีหลายขนาดลดหลั่น กันตามสถานะดังนี้

1. จองยอดหรือผาสาด (ปราสาท) เป็นจองพาราขนาดใหญ่สูง 3 เมตร ถึง 5 เมตรก็มี ยอดปราสาทอาจมียอดเดียว ห้ายอดหรือเจ็ดยอด โครงสร้างสลับ ซับซ้อน ใช้เวลาและทุนการจัดทำสูง เป็นจองพาราที่สวยงาม วิจิตรตระการตา นิยมตั้งบูชาไว้ตามวัดประจำหมู่บ้านและวัดทั่วไป

2. จองกอ ใหญ่รองจากจองยอด มีส่วนประกอบคล้ายกันแต่ลดขนาดลง มีปราสาทยอดเดียว ลวดลาย ประกอบไม่ละเอียดเท่า จองกอใช้ตั้งบูชาที่วัดและตามบ้านของผู้มีฐานะดี

3. จองปีต่าน เป็นจองพราราที่ไม่มียอด มีเฉพาะส่วนปราสาทและฐาน ทำขึ้นเพื่อตั้งบูชาตามบ้านเรือน ทั่ว ๆ ไป

4. จองผาสาน คือ จองสาน ชาวบ้านจะเอาตอกไม้ไผ่สานเป็นรูปจองพาราขนาดเล็ก ทำขึ้นบูชากัน ทั่วไป ทำได้ง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยากนัก การบูชาจองพาราทั้งบ้านและวัด จะเริ่มตั้งแต่ตอนเย็นของวันขึ้นสิบสี่ค่าเดือนสิบเอ็ด โดยนำจอง

พาราตั้งบนชั้นนั่งร้าน ตกแต่งด้วยเครื่องห้อยจากผลหมากรากไม้ที่มีในท้องถิ่น ต้นกล้วย ต้นอ้อยผูกไว้ที่เสา นั่งร้าน ประดับโคมไฟในยามค่ำคืน พอเช้ามือวันขึ้นสิบห้าค่ำ วันออกพรรษาจะนำ “ข้าวซ่อมต่อ” คือ อาหาร หวาน คาว ผลไม้ ใส่กระทงใบตองวางไว้ในจองพารา จุดธูปเทียนกล่าวอัญเชิญพระพุทธเจ้าให้เสด็จประทับยัง จองพารา ทำเช่นนี้ตลอดเจ็ดวันแล้วจึงรื้อถอนจองพารานั้นทิ้งหรือเผาเสีย ปีหน้าจึงค่อยทำขึ้นบูชาใหม่ ในยาม ค่าคืนก่อนวันออกพรรษา แต่เดิมชุมชนชาวไตจะมีตลาดนัดออกพรรษา ซึ่งมักเรียกกันว่า “ตลาดแสงเทียน” ด้วย สมัยก่อนไม่มีไฟฟ้า ชาวไตพากันจุดเทียนซื้อขายข้าวของกันแต่ยามย่ ารุ่ง ตลาดจึงสว่างไสวไปด้วยแสงเทียนนับ ร้อยพันเล่ม ยามค่ำคืนจะมีมหรสพการละเล่นต่าง ๆ มีการ “เฮ็ดกวาม” ขับเพลงไต ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงพุทธ ประวัติชาดก ใจความงานปอย ตลอดจนการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง มีการ “ก้าแลว” หรือ “ฟ้อนดาบ” ของคน หนุ่ม และมีการประกวดประชันตีกลองก้นยาว เป็นที่สนุกสนานครื้นเครง ช่วงนี้ไปจนถึงวันแรมสิบห้าค่ าเดือน สิบเอ็ด ชาวไตมีความเชื่อว่า หมู่บ้านของตนคือ สังกัสสะนคร ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์มาโปรด ชาวเมืองพากันปลื้มปิติในบุญบารมี แม้แต่สัตว์ต่าง ๆ รำไต ฟ้อนดาบ ฟ้อนรูปสัตว์นานา “กิ่งกะหล่า” คือ กินรา หรือกินรี ฟ้อนกำเป้อหรือผีเสื้อ พากันร้องรำทำเพลงที่วัดกันทุกคืน ในคืนสุดท้ายเรียกว่า คืน “อ่องจ๊อด” หรือ “ก๋อยจ๊อด” ก็พากันเดินร้องเล่นไปตามถนนตามบ้าน บ้านไหนมีหญิงสาว พวกหนุ่ม ๆ ก็พากันไปร้อง “เฮ็ด กวาน” เกี้ยวพาราสี ทั้งเล่นอวดฝีมือฟ้อนดาบ ฟ้อนอาวุธประชันกัน พอหลังวันออกพรรษาจะมีพิธี “หลู่เตนเหง” หรือพิธีถวายเทียนพันเล่ม มีเจ้าภาพรวบรวมเทียนจากญาติมิตรพี่น้องจนครบพันเล่ม แห่ขบวนตีฆ้องกลอง ประโคมไปถวายวัดเป็นพุทธบูชา นอกจากนี้ยังมีการ “ถวายเทียนต้นเกี๊ยะ” โดยรวบรวมเศษไม้เกี๊ยะ ซึ่งเป็น ต้นไม้ที่มีน้ำมันในลำต้น มัดเป็นต้นเทียนขนาดใหญ่ สูงกว่าสองเมตรครึ่ง นำไปถวายวัดต่าง ๆ และแน่นอนว่ามี การรำการฟ้อนรูปสัตว์ตีฆ้องตีกลองร่วมขบวนแห่ไปด้วยเช่นกัน

สถานที่ตั้ง
จังหวัด แม่ฮ่องสอน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
มงคล เปลี่ยนบางช้าง.2548. บทร้องเล่นและเพลงพื้นบ้านภาคเหนือและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์แม๊ค. หน้า 55-58.
บุคคลอ้างอิง รัตนาภรณ์ ใจดี อีเมล์ kwankaw5604105339@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัด แม่ฮ่องสอน
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่