ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 40' 22.247"
13.6728464
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 14.7994"
100.5707776
เลขที่ : 193703
ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOT ธัญพืชประคบพลูสุข วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ
เสนอโดย สมุทรปราการ วันที่ 12 พฤษภาคม 2564
อนุมัติโดย สมุทรปราการ วันที่ 1 มิถุนายน 2565
จังหวัด : สมุทรปราการ
0 573
รายละเอียด

ลูกประคบ..ภูมิปัญาไทยดั้งเดิมของชาวบ้านมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ปัจจุบันมีการพัฒนาลูกประคบเรื่อยมา เพื่อปรับรูปลักษณ์ให้ทันสมัยใช้งานได้สะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ได้ผลิตลูกประคบรูปทรงที่หลากหลาย ใช้งานได้สะดวก แค่เพียงนำเข้าไมโคเวฟเท่านั้น ก็สามารถใช้งานได้ นางสาวศิริพร พูลสุข ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ เล่าว่า ย้อนกลับไปเมื่อปี2539 มีอาชีพเป็นผู้ช่วยพยาบาล และสนใจศึกษาเรื่องสมุนไพรจากภูมิปัญหาไทยดั้งเดิมเกี่ยวกับลูกประคบสดๆ จึงทดลองทำโดยช่วงแรกทำเองใช้เอง เมื่อใช้ดีจึงได้มาเปิดบ้านของตนเองให้เป็นบ้านนวดประคบฟรีให้กับคนที่สัญจรผ่านไปมา พอมาถึงปี 2540 ยุคฟองสบู่แตก ชาวบ้านตกงานกันมาก จึงได้ชวนคนในชุมชนมาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำลูกประคบ จากนั้นก็เริ่มจ่ายงานให้กับผู้สนใจเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพเสริม

หลังจากนั้นไม่นานได้นำผลิตภัณฑ์ไปขายที่ตลาดน้ำบางผึ้ง เพราะเห็นว่าที่นี่เปิดให้ขายผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ แต่ต้องแตกต่างและไม่ซ้ำกับคนอื่นๆ จึงเป็นการจุดประกายพัฒนาลูกประคบให้มีความแตกต่างจากที่อื่น เพราะลูกประคบไทยแบบดั้งเดิมนั้นใช้ ไพล ขมิ้น ตะไคร้ ใบมะกูดนำมาใส่ผ้าดิบและห่อ ใช้ซึ้งนึ่งประคบ ปัญหาก็คือเวลานำมาใช้ประคบจะเลอะเสื้อผ้าลูกค้า เป็นคราบซักไม่ออก และเรื่องของอุณหภูมิการนึ่งจะควบคุมได้ยาก หากเปิดแก๊สทิ้งไว้จะอันตราย จึงได้คิดค้นว่าทำอย่างไรจึงจะพัฒนาในเรื่องของความสะอาด ความปลอดภัย และใช้งานได้สะดวก

จนมาได้ความคิดในการปรับใช้ธัญพืชทดแทน นอกจากไม่เปรอะเปื้อนเสื้อผ้าแล้ว ยังเก็บความร้อนได้นาน ยืดอายุการใช้งานให้อยู่ได้นานนับปี เพียงเก็บในที่แห้งมิดชิด ใส่กล่อง หรือถุงซิปล็อก จากร้านลูกประคบสุมนไพรธรรมดา จึงได้มาเป็นธัญพืชประคบพูลสุขที่ตอบโจทย์ลูกค้า และในปี 2548 ก็ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำให้ธัญพืชประคบพูลสุขเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีจำหน่ายทั้งหน้าร้าน ส่งโรงพยาบาล และขายออนไลน์

ส่วนการออกแบบนั้นศิริพรเล่าว่าต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานเป็นหลัก และรับกับสรีระของร่างกาย เพราะผลิตภัณฑ์ที่นี่มีทั้งแบบดั้งเดิม แบบหมอนตัวยู และแบบเข็มขัด ผ่านการตัดเย็บอย่างดี ทนทาน และมีปลอกสวมทับคล้ายหมอน สามารถถอดซักได้ สามารถนำไปประคบได้ทั้งหน้าท้อง หลัง ไหล่ หรือส่วนที่มีอาการปวดเมื่อย และนวดประคบกายภาพบำบัด ในการแก้อาการไหล่ติด ปวดเอวร้าวลงขา เข่าบวม ข้อต่อคอเสื่อม จะทำให้อาการดีขึ้น

นอกจากนี้ที่ศูนย์ฯ ยังเปิดให้ชุมชนอื่นๆ และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำลูกประคบ และบริการนวดประคบฟรี วางต้นคอ วางเอว ให้นั่งประคบพักผ่อนหย่อนใจ ถ้านวดแบบสปาแก้อาการเช่น ไหล่ติดจะมีค่านวดให้ชาวบ้านที่มาคอยบริการชั่วโมงละ 300 บาท โดยจะแบ่งเงินให้ชาวบ้าน 200 บาท และเก็บเป็นค่าลูกประคบ ค่าน้ำ ค่าไฟไว้ใช้จ่ายภายในศูนย์ฯ 100 บาท ศิริพรบอกว่าในอนาคตไม่คิดที่จะหยุดพัฒนา ยังคงมีแผนที่จะทำลูกประคบลักษณะแบบผ้าพันคอ ประคบได้ทั้งคอและมือแบบที่จะล้วงเข้าไปในปลายผ้า เวลาเดินทางไปต่างประเทศจะได้ช่วยแก้อาการมือชาจากอากาศหนาวได้ด้วย

จุดเด่นของลูกประคบพูลสุข

ภายในลูกประคบจะไม่ใช้สมุนไพรแต่จะอัดแน่นด้วยธัญพืช ที่หลากหลายชนิด อาทิ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ลูกเดือย และข้าวเหนียวเขี้ยวงู แต่งกลิ่นด้วยการบูร โดยเมล็ดถั่วจะช่วยเก็บความร้อนและให้แคลเซียมบำรุงกระดูก ลูกเดือยช่วยแก้เรื่องอาการเหน็บชา และข้าวเหนียวจะช่วยในเรื่องกระดูกเสื่อม ส่วนการบูรช่วยบำรุงหัวใจ ลดบวม และกลิ่นเย็นๆ ของมันช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายโล่งจมูก

หากสนใจติดต่อได้ที่ นางสาวศิริพร พูลสุข ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ ที่อยู่ 31 หมู่ 3 ตําบลบางนํ้าผึ้ง อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130 เบอร์โทรศัพท์ 08-4009-2266

ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOTธัญพืชประคบพลูสุข วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ

สถานที่ตั้ง
นางสาวศิริพร พูลสุข
เลขที่ 31 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล บางน้ำผึ้ง อำเภอ พระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ธัญพืชประคบพลูสุข วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ - อบจ. นิวส์ ฟ้าใหม่ (fah-mai.com)
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สมุทรปราการ
โทรศัพท์ 08-4009-2266
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่