ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 24' 10.2406"
6.4028446
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 42' 23.4151"
101.7065042
เลขที่ : 58648
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชย้อนรอนประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ
เสนอโดย admin group วันที่ 12 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย นราธิวาส วันที่ 19 ตุลาคม 2566
จังหวัด : นราธิวาส
2 7834
รายละเอียด

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชย้อนรอนประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ เป็นพิพิธภัณฑ์จำลองวังของเจ้าเมืองยี่งอ เป็นสถานที่เก็บเครื่องไม้เครื่องมือเครื่องใช้ของเจ้าเมืองยี่งอ ตัวอาคารเป็นอาคารทรงไทยภาคใต้มีลักษณะสวยงาม ๑. ประวัติความเป็นมา “โครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ” “เมืองยี่งอ” อาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองยือรีงา” ถือเป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่ง ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ที่น่าสนใจและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในอดีตนั้น “เมืองยี่งอ” เป็นส่วนหนึ่งของเมืองสาย (อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน) ถูกสร้างขึ้นโดย “นิอาดัส” (Nik Adas) ท่านผู้นี้เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ “ปาฆาร์ รูยง มินัง กาเบาว์” (Pagar Ruyong Minung Kabao) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย (จากการบันทึกของนายอดุลย์ ณ สายบุรี ทายาทรุ่นที่ ๕ ของนิอาดัส) หลังจากนั้น “นิอาดัส” ได้รวบรวมชนชาวพื้นเมืองเดิมสร้างเมืองยี่งอขึ้น และสถาปนาตนเองเป็นเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมา “นิอาดัส” ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมืองสาย ทำการปกครองเมืองสายบุรี แต่ได้ตั้งบ้านเรือนของตนอยู่ในเมืองยี่งอเช่นเดิม เมื่อท่านสิ้นพระชนม์แล้ว พระศพของท่านถูกฝัง ณ สุสานลางา ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าสนามกีฬาเทศบาลตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสในปัจจุบัน สำหรับเมืองสายบุรีนั้นมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเฉกเช่นเดียวกับเมืองปัตตานี ในพญาตูนักพา ผู้เป็นเจ้าเมืองปัตตานีคนแรกที่เข้ารับศาสนาอิสลามโดยเปลี่ยนชื่อเป็นสุลต่านอิสมาแอลชาห์ พระองค์มีบุตรคนหนึ่งชื่อว่า ซีตีอาแอซะห์ บุตรีคนนี้ต่อมาได้แต่งงานกับเจ้าเมืองสายบุรีที่ชื่อราชาญะลาลุดดิน (Tenku Jala Luddin) เป็นหลักฐานแสดงว่าเมืองสายบุรีนั้นมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานไม่แพ้เมืองปัตตานี เมื่อกล่าวถึงสายบุรีในอดีตนั้น เขตการปกครองของเมืองสายบุรีในอดีตแตกต่างจากเขตการปกครองในปัจจุบัน ด้วยเมืองสายบุรีในอดีตนั้นมีพื้นที่ครอบคลุม ตั้งแต่อำเภอเมือง อำเภอยี่งอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จนถึงอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน ในยุคที่มีการแบ่งเมืองปัตตานี ออกเป็น ๗ หัวเมืองปักษ์ใต้ในปี ๒๕๓๙ ศูนย์อำนาจในการปกครองของเมืองสายบุรีตั้งอยู่ที่อำเภอยี่งอ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ศูนย์อำนาจของเมืองสายบุรีได้ย้ายไปยังเมืองสายบุรี หลักฐานที่ปรากฏในเรื่องการย้ายศูนย์อำนาจครั้งนี้ ปรากฏในบันทึกการเดินทางมายังเมืองสายบุรีของนายเฮนรี่ หลุยส์ (Henry Louise) ในปี ๒๔๓๗ เขาได้บันทึกไว้ว่า “Jeringo (Jeringa)” , which had at one time been the capital of the state of Sai (Saiburi / Taluban). There are here remains of an old brick – built palace, which must have had at one time a rather fine gateway. It is said to have been left by the present Rajah some twenty years ago. And is now in a state of extreme decay. ๒ แปลความหมายเป็นภาษาไทยได้ว่า “ยี่งอ” ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของเมืองสาย ยังคงมีร่องรอยหลงเหลือของวังเก่าที่สร้างด้วยอิฐ ครั้งหนึ่งทางเข้าค่อนข้างงดงาม กล่าวกันว่ามีการย้ายโดยเจ้าเมืองคนปัจจุบันเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วมา และในปัจจุบันเป็นเมืองที่เสื่อมลง อีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงการย้ายศูนย์อำนาจจากเมืองยี่งอไปยังเมืองใหม่ที่ตะลุบันหรือสายบุรี เป็นบันทึกของรัชกาลที่ ๕ ครั้งเสด็จประพาสปักษ์ใต้ มีความว่า “ลำน้ำเมืองสายนี้มีทางแยกไปได้ ๓ ทาง คือทางยี่งอเมืองเก่า ซึ่งอยู่สูงขึ้นไประยะทางวันหนึ่ง พระยาสายเห็นว่าฤดูแล้งน้ำแห้งเรือเดินไม่ตลอด จึงได้เลื่อนลงมาตั้งเสียที่เมืองใหม่ได้ ๑๘ ปีมาแล้ว” ลำดับเจ้าเมืองของสายบุรี ๑. นิอาดัส (Nik Adas) หรือนิดะ พระยาสุริยสุนทรบวรภักดีศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย ขอบเขตประเทศมลายู (สมัยรัชกาลที่ ๒) ๒. ตนกูญะลาลุดดิน (Tenku Jala Luddin) หรือนิละไบ บุตรชายของ นิอาดัส (สมัยรัชกาลที่ ๓) ๓. ตนกูอับดุลกอเดร์ (Tenku Abdul Kadir) หรือนิแปะ บุตรชายของตนกู ญะลาลุดดิน เป็น พระยาสุริยสุนทรบวรภักดีศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลยขอบเขตประเทศมลายู (สมัยรัชกาลที่ ๕) ๔. ตนกูอับดุลมุตตอลิบ (Tenku Abdul Muttalib) หรือนิปิ น้องชายของตนกูอับดุลกอเดร์ นับเป็นเจ้าเมืองสายบุรีคนสุดท้าย (สมัยรัชกาลที่ ๕) จากเรื่องราวที่กล่าวมาข้างต้น นางวิลาวัณย์ ต่วนเพ็ง นายกเทศมนตรีตำบลยี่งอ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลยี่งอหลายๆท่าน มีความคิดเห็นและต้องการให้อำเภอยี่งอเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงได้คิดที่จะดำเนินการจัดทำ “โครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์ เมืองยี่งอ” ขึ้น โดยมีประวัติและความเป็นมาดังนี้ ๑. พุทธศักราช ๒๕๔๙ เทศบาลตำบลยี่งอ ได้บรรจุโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอไว้ในแผนพัฒนาเทศบาล แผนงานการศาสนาและวัฒนธรรม งานศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ๒. พุทธศักราช ๒๕๕๐ ผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลเห็นชอบให้จัดซื้อที่ดิน เนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ซึ่งตั้งอยู่ ณ บริเวณหมู่ที่ ๗ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ๓ เพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ในวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ๓. พุทธศักราช ๒๕๕๑ เทศบาลตำบลยี่งอได้เขียนและเสนอโครงการเพื่อขอรับ การสนับสนุนงบประมาณ (เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ) จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา (ศอ.บต.) เพื่อก่อสร้างอาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ วงเงิน ๔,๒๐๓,๐๐๐ บาท (สี่ล้านสองแสนสามพันบาทถ้วน) ๔. พุทธศักราช ๒๕๕๒ เทศบาลตำบลยี่งอได้จัดตั้งงบประมาณจากการประชุมสภาเทศบาล สมัยสามัญ สมัยที่ ๑ ประจำปี ๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยใช้งบประมาณจ่ายขาดเงินสะสมโดยสภาได้อนุมัติให้มีการจัดตกแต่งภายใน พร้อมจัดหาครุภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ภาพถ่าย และวัตถุโบราณต่างๆ วงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ๕. พุทธศักราช ๒๕๕๓ เทศบาลตำบลยี่งอได้จัดตั้งงบประมาณ เพื่อใช้สำหรับการจัดซื้อครุภัณฑ์และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม วงเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท ตลอดจนได้จัดทำพิธีเปิดโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ขึ้นในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กมล รอดคล้าย รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มาเป็นประธานเปิดโครงการฯ ดังกล่าว วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ๑. เพื่อส่งเสริมให้สถานที่แห่งนี้ได้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของเมือง ยี่งอในอดีตกาล ๒. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยสามารถดึงดูดความสนใจให้เยาวชน ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มาศึกษา เรียนรู้ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเมืองยี่งอได้ดียิ่งขึ้น ๓. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่า รู้จักอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่เป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาของเมืองยี่งอสืบไป ๔. เพื่อให้สถานที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ จำลองวังเก่าเมืองยี่งอ โดยได้จัดแสดงสิ่งของ วัตถุโบราณต่างๆที่น่าสนใจ อาทิเช่น กริชโบราณ เครื่องทองเหลืองโบราณ ถ้วยชามลายครามสมัยโบราณ ผ้าปาเต๊ะลายอินโด เตียงโบราณ โต๊ะเครื่องแป้งโบราณ ตลอดจนจำลองวิถีชีวิตของชาวบ้านสมัยโบราณ ฯลฯ ๕. เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความรัก ความหวงแหน และภาคภูมิใจเมืองยี่งอซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน ๔ ๒. แนวทางการพัฒนาโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ตั้งแต่ปีพุทธศักราชการ ๒๕๕๑ จากการที่เทศบาลตำบลยี่งอได้เขียนและเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ) จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา (ศอ.บต.) วงเงิน ๔,๒๐๓,๐๐๐ บาท (สี่ล้านสองแสนสามพันบาทถ้วน) เพื่อก่อสร้างอาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอขึ้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายบ้านทรงไทยโบราณ ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ห้องครัว ระเบียง และบันไดทางขึ้นอาคารซึ่งมีทั้งหมด ๓ ด้าน โดยได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารฯดังกล่าวแล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ หลังจากนั้นเป็นต้นมาเทศบาลตำบลยี่งอได้จัดทำการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆบริเวณอาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ให้ดูสวยงาม สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยการปลูกหญ้าแฝก ปลูกต้นไม้ทั้งที่เป็นไม้ดอกและไม้ประดับ อาทิเช่น ต้นแผ่บารมี ต้นหมากแดง ต้นหมากเหลือง ต้นไผ่ ต้นยือรีงา ต้นโกสน ต้นหางกระรอก ต้นตะเคียน ต้นมะม่วง ต้นมะพร้าว ดอกพุธ ดอกคุณนายตื่นสาย ดอกลีลาวดี ดอกเข็ม ดอกดาวเรือง ดอกเฟื่องฟ้า ดอกกล้วยไม้นานาชนิด ฯลฯ เนื่องจากสีเขียวของต้นไม้และสีสันของดอกไม้ที่มีความสวยงามจะทำให้ผู้ที่มาเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน อาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอรู้สึกสดชื่น ปลอดโปร่ง และมีความสุข นอกจากนี้แล้ว เทศบาลตำบลยี่งอได้จัดตั้งงบประมาณ ประจำปี ๒๕๕๒ จากการประชุมสภาสมัยสามัญสมัยที่ ๑ / ๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยใช้งบประมาณจ่ายขาดเงินสะสมวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยการจัดตกแต่งภายในพร้อมจัดหาครุภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ภาพถ่าย และวัตถุโบราณต่าง ๆ ดังนี้ ๑. จัดจ้างทำผ้าม่านเพื่อตกแต่งภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการและห้องครัวให้มี ความสวยงาม ๒. จัดซื้อเตียงเหล็กโบราณ ที่กั้นฉากโบราณ ตลอดจน กระจกแต่งหน้าโบราณ ที่มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปี เพื่อตกแต่งภายในห้องนอนซึ่งได้จำลองเป็นห้องบรรทมของเจ้าเมืองเมืองยี่งอในอดีต ๓. จัดจ้างทำตู้ซึ่งทำด้วยไม้ตำเสา กระจกใสรอบด้าน สำหรับใส่เครื่องมือ เครื่องใช้ และวัตถุโบราณต่าง ๆที่ได้รับบริจาคจากชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ฯเพื่อเก็บไว้ที่อาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ สำหรับให้เยาวชน ประชาชนตลอดจนนักท่องเที่ยวได้ศึกษา เรียนรู้ถึงประวัติ ความเป็นมา เรื่องราวความสำคัญของเมืองยี่งอ อาทิเช่น กริชโบราณ เครื่องทองเหลืองโบราณ ชุดถ้วยชามโบราณลายคราม ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาฝีมือของกลุ่มแม่บ้านอำเภอยี่งอ ฯลฯ ๕ ๔. จัดจ้างทำป้ายประวัติความเป็นมาของเมืองยี่งอ ๕. จัดจ้างจัดทำป้ายป้ายประวัติของโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ๖. จัดจ้างทำป้ายประวัติเจ้าเมืองสาย ซึ่งประกอบด้วย ๖.๑ นิอาดัส (Nik Adas) หรือนิดะ พระยาสุริยสุนทรบวรภักดีศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย ขอบเขตประเทศมลายู (สมัยรัชกาลที่ ๒) ๖.๒ ตนกูญะลาลุดดิน (Tenku Jala Luddin) หรือนิละไบ บุตรชายของ นิอาดัส (สมัยรัชกาลที่ ๓) ๖.๓ ตนกูอับดุลกอเดร์ (Tenku Abdul Kadir) หรือนิแปะ บุตรชายของตนกูญะลาลุดดิน เป็น พระยาสุริยสุนทรบวรภักดีศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลยขอบเขตประเทศมลายู (สมัยรัชกาลที่ ๕) ๖.๔ ตนกูอับดุลมุตตอลิบ (Tenku Abdul Muttalib) หรือนิปิ น้องชายของตนกูอับดุลกอเดร์ นับเป็นเจ้าเมืองสายบุรีคนสุดท้าย (สมัยรัชกาลที่ ๕) ๖.๕ นายอดุลย์ ณ สายบุรี (ทายาทรุ่นที่ ๕ ของนิอาดัส) ๗. จัดจ้างทำป้ายโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ๘. จัดซื้อและจัดหาภาพถ่ายที่มีความสำคัญต่างๆ อาทิเช่น พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯขณะเสด็จเยี่ยมเยี่ยมประชาชน ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จบึงบัวทอง ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) รูปถ่ายเจ้าเมืองสายและบุคลสำคัญต่างๆ รูปถ่ายกำแพงเมืองยี่งอ รูปถ่ายสุสานเจ้าเมืองนิอาดัส รูปถ่ายปืนใหญ่พญาตานี รูปถ่ายกริชและดาบซึ่งเป็นอาวุธประจำกายของเจ้าเมืองยี่งอ เป็นต้น ๙. จัดซื้อครุภัณฑ์ชุดรับแขก รูปแบบศิลปะท้องถิ่น ๑๐. จัดซื้อครุภัณฑ์ประจำอาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ อาทิเช่น ชั้นวางดอกไม้ โต๊ะและเก้าอี้สำหรับเขียนสมุดเยี่ยม ๑๑. จัดทำแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมือง ยี่งอ เมื่อได้ดำเนินการตกแต่งภายในอาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอแล้วเสร็จสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการ ห้องครัว ตลอดจนการจัดตกแต่งสวน ภูมิทัศน์บริเวณรอบๆอาคารให้มีความสวยงาม สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย ๖ ในเวลาต่อมาเทศบาลตำบลยี่งอได้กำหนดจัดพิธีเปิดโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอขึ้น ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยได้รับเกียรติจากดร.กมล รอดคล้าย รองผู้อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มาเป็นประธานเปิดโครงการฯในครั้งนี้ ซึ่งได้เชิญบุคคลสำคัญอีกหลายท่านมาร่วมงานดังกล่าว อาทิเช่น รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส นายอำเภอยี่งอ นายกเทศมนตรีตำบลหนองจิก นายกเทศมนตรีตำบลยะหา ท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส นายกเทศมนตรีทุกเทศบาล ในจังหวัดนราธิวาส นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา เด็กนักเรียน ผู้นำศาสนาในพื้นที่อำเภอยี่งอ ฯลฯ จำนวนทั้งสิ้น ๕๐๐ คน การจัดทำพิธีเปิดโครงการย้อนรอยฯในครั้งนี้เทศบาลตำบลยี่งอได้จัดกิจกรรมต่างๆมากมายที่น่าสนใจดังนี้ ๑. การแสดงปัญจะสิละของเด็กนักเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ๒. การร้องเพลงอนาซิสภาษาไทยและภาษาอังกฤษของเด็กนักเรียนอัครศาสน์วิทยา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ๓. การสาธิตการจักสานผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาของกลุ่มแม่บ้านอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ๔. การสาธิตการทำเครื่องขันหมากเพื่อใช้ในงานมงคลสมรสของชาวไทยมุสลิม ๕. การแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยโบราณ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ ๖. การจัดทำขนมพื้นเมืองจากผู้ที่มีฝีมือในการทำขนม อาทิเช่น ขนมลอปะตีแก ขนมซราแบ ขนมปลีตอ ขนมกาโต ขนมบาเด๊าะ ขนมบาตาบูโร๊ะ ขนมนิบ๊ะ ขนมกอและห์ลือเมาะ ขนมสอดไส้ ขนมตรีมานี อาเก๊าะ ข้าวหมาก ฯลฯ หลังจากที่เทศบาลตำบลยี่งอได้จัดทำพิธีเปิดโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ชื่อเสียงของโครงการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอเป็นที่รู้จัก อย่างแพร่หลาย จึงส่งผลทำให้บุคคลภายนอก ตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เข้ามาเยี่ยมชม เพื่อที่จะศึกษา ดูงานอาคารย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งออย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น คณะอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยจากกรุงจาร์กาตาในประเทศอินโดนีเซีย คณะจากหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และคมชัดลึก ฯลฯ ภายใต้การดูแลของเทศบาลตำบลยี่งอ โดยนางวิลาวัลย์ ต่วนเพ็ง นายกเทศบาลตำบลยี่งอ

สถานที่ตั้ง
บริเวณเทศบาลตำบลยี่งอ
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๗ ตำบลยี่งอ ซอย - ถนน -
อำเภอ ยี่งอ จังหวัด นราธิวาส
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง นางวิลาวัลย์ ต่วนเพ็ง
ชื่อที่ทำงาน เทศบาลตำบลยี่งอ
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๗ ซอย - ถนน -
ตำบล ยี่งอ อำเภอ ยี่งอ จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96110
โทรศัพท์ 0819575456 โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่