ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 59' 34.7449"
13.9929847
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 31' 33.6029"
100.5260008
เลขที่ : 84048
วัดบางหลวง
เสนอโดย ปารีส คงทรัพย์ วันที่ 30 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย ปทุมธานี วันที่ 25 มีนาคม 2555
จังหวัด : ปทุมธานี
0 2265
รายละเอียด

วัดบางหลวง

วัดบางหลวง เป็นวัดโบราณที่มีอายุยาวนานกว่า 300 ปี โดย พระรามัญมุนี ( สุทธิ์ ญาณรสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางหลวง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้บันทึกไว้ เมื่อ พุทธ ศักราช 2451 ว่า "วัดบางหลวงใน หรือวัดบางหลวงไหว้พระนี้ แต่ ก่อนมิได้สร้างวัดนี้เป็นทำเลพงแขม รก ด้วยหญ้าลัดดาวัลย์ เป็นที่อาศัยของสัตว์จตุบาทวิบาท มีเสือดาว กวางทราย เป็นต้น มีลำคลอง เข้าไปทุ่งนาแห่งหนึ่งเรียกคลองบางหลวง พง ป่ารกชัฏตามริมคลองเป็นที่เปล่าเปลี่ยวผู้ คนไปมา คลองนี้แต่ก่อนกว้างประมาณ 3 - 4 วา และมีจระเข้ตัวเล็ก ๆ ชุกชุม มัจฉา ชาติก็มาก สกุณชาติต่าง ๆ ก็มาก อาศัยอยู่ ตามต้นไม้ พวกพรานเที่ยวสัญจรหาละมั่งกวางทราย จับนกจับปลาไปไว้เป็นภักษาหาร ครั้นมนุษย์มาก ขึ้นความเจริญของภูมิประเทศก็ดีขึ้นทุกขั้น ต่อมาเมื่อประมาณ พุทธศักราช 2246 หรือจุลศักราช 1065 สมเด็จพระสรรเพ็ชรที่ 8 ทรงพระนามเดิม ว่า "พระพุทธเจ้าเสือ" (ดอกเดื่อ) เป็นพระเจ้าแผ่นดินในพระนครศรีอยุธยาทาราวดี คือกรุงเก่าได้ ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นที่ตำบลปากคลองบางหลวง ฝั่งใต้ พระราชทานนามว่า "วัดสิงห์"

ในบันทึกนี้น่าจะเป็นความจริงอยู่มาก เพราะวัดบางหลวงมี ๒ วัด คู่ กัน คือ วัดบางหลวงนอก กับวัดบางหลวงใน วัดบางหลวงในคือวัดบางหลวงที่อยู่ปัจจุบันนี้ ส่วน วัดบางหลวงนอกได้ทรุดโทรมปรักหักพังร้าง ไปหมดแล้ว

เจ้าอาวาสวัดบางหลวง แทบทุกรูปได้สนใจการศึกษามาโดย ตลอด เช่น พระราชสุเมธภรณ์ (มังกรกัสสโป) ได้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สามเณรอุทัย เกลี้ยงเล็ก ศิษย์ของท่านสอบบาลีได้เปรียญธรรม 9 ประโยค อุปสมบทเป็นนาคหลวง ในรัชกาลสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พุทธศักราช 2506 และปัจจุบัน พระสุเมธาภรณ์ ( เทียน ฐานุตตโม) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีก็ได้ เปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีต่อมา ส่วนการ ศึกษาภาษาไทยเกี่ยวกับวิชาทางโลกนั้นพระรามัญ มุนี (มะลิ บัญติโต) ได้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนของชาติ โดยจัดตั้งโรง เรียนมัธยมศึกษาขึ้นในบริเวณวัด ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ให้ชื่อโรงเรียนว่าโรง เรียนปทุมธานีนันทมุนีบำรุงซึ่งยังเปิดทำการสอนมาจนปัจจุบัน

ข้อสันนิษฐาน : วัดบางหลวงนอก น่าจะสร้างมาก่อนสมัยพระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์ ครั้นมาถึงสมัยพระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ได้ทรงเกณฑ์คนขุดคลองลัด เตร็ดใหญ่จากวัดไก่เตี้ย ตัดทรงลงมาทะลุคลองบางหลวงเชียงรากตรงวัดศาลเจ้า เมื่อปีพุทธศักราช 1251 ในการขุดคลองคราวนี้ ได้พบพระ พุทธรูปสมัยเชียงรากแสนองค์หนึ่ง ขนาดหน้าตัก กว้าง 2 ศอกเศษ กล่าวกันว่าเมื่อพบพระพุทธรูปแล้ว ชาวบ้านได้ช่วยกันเอาซุกซ่อนไว้ไม่ให้หลวงหรือทางราชการเห็น โดยเอาพระพุทธรูปซ่อนไว้ที่วัดบางหลวงนอก ซึ่งเดิมทีเมื่อสร้างวัดใหม่ ๆ สันนิษฐานว่าวัดไม่ได้ชื่อวัดบางหลวงคงชื่ออื่น ต่อมาเมื่อภายหลังขุดคลองลัดเตร็ดใหญ่ พบพระพุทธรูปเชียงแสนเอาหลบซ่อนไว้ในวัดเรียกว่าบังไม่ให้หลวงเห็น จึงพูดกันติดปากว่า "บังหลวง" หรือวัดบังหลวง เมื่อเวลาผ่านเลยมานาน คำว่า "บังหลวง " จึงกลายเป็น "บางหลวง" พระพุทธรูป องค์นี้ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ มีพุทธศาสนิก ชนพากันมาเคารพสักการะกราบไหว้กันอยู่เสมอ พอถึงเทศกาลงานประจำปี วันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ จะมีประชาชนมากราบไหว้นมัสการกัน มากมิได้ขาด จนล่ำลือไปทั่ว ชาวบ้าน พูดกันติดปากว่า "บางหลวงไหว้พระ" เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

หลักฐานในวรรณกรรม: ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระมอญมาเป็นสมภารเจ้าวัดฝ่ายรามัญ ซึ่งใน พระราชพงศาวดารฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าว

"......อนึ่ง พระราชคณะฝ่ายรามัญนั้นยังหา ตัวมิได้ จึงทรงพระกรุณาให้จัดพระมหา เถระฝ่ายรามัญซึ่งรู้พระวินัย ปริยัติได้ ๓ รูป ทรงตั้งเป็นพระมหาสุเมธาจารย์องค์หนึ่งพระ ไตรสรณธัชองค์หนึ่ง พระสุเมธน้อยองค์หนึ่ง เมื่อ สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถาน มงคลทรงสร้างวัดตองปุขึ้นใหม่ โปรดให้พระ สงฆ์รามัญมาอยู่วัดตองปู และให้พระสุเมธ จารย์เป็นเจ้าอาวาส พระไตรสรณธัชนั้นมีพระ ราชโองการให้อยู่วัดบางหลวง เป็นเจ้าคณะรามัญ แขวงเมืองนนทบุรีและสามโคก พระสุเมธน้อยนั้นโปรด ให้ครองวัดบางยี่เรือใน........."

เมื่อสิ้น แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัช กาลที่ ๒ แล้ว สุนทรภู่ขาดที่พึ่ง ต้องระทม ทุกข์หนักระเหเร่ร่อนนับเป็นชีวิตที่ทุกข์ เข็ญมาก บวชอยู่วัดราชบูรณะได้ ๓ พรรษาก็ มีมารมารังแก ต้องลงเรือน้อยลอยลำขึ้น ไปนมัสการภูเขาทอง เพื่อสะเดาะเคราะห์เสียให้สิ้น หนูพัด และลูกศิษย์ติดตามไปด้วยได้เขียน นิราศภูเขาทอง กล่าวถึง บางหลวงว่า

" ถึงบางหลวงเชิงรากเหมือนจากรัก สู้ เสียศักดิ์สังวาสพระศาสนา"

ปฏิทินวัฒนธรรม:วัดบางหลวงจะจัดกิจกรรมทุกวันสำคัญทางพุทธศาสนา โดยมีกิจกรรมสำคัญดังนี้

1. ประเพณีปิดทองหลวงพ่อเพชรจัดขึ้นทุกปีในวันแรม 4 ค่ำเดือน 11 เป็นงานประจำปีของวัด จะมีการทำบุญตักบาตรในภาคกลางวัน

2. ประเพณีตักบาตรพระร้อยหลังออกพรรษาทุกปี

3. ประเพณีสงกรานต์ จะมีกิจกรรมสรงน้ำพระ

วัดบางหลวงมีสิ่งที่สำคัญ คือ พระอุโบสถทรงไทยโบราณที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน พระอุโบสถทรงไทยโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นศิลปะที่พิเศษ คือ ไม่มีเสาและใช้วัสดุก่อสร้างแบบโบราณ

วัดบางหลวงมีมีโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรแล้วและยังไม่ขึ้นทะเบียนดังนี้

1. เจดีย์มุเตา ขึ้นทะเบียนแล้ว

2. เจดีย์ชเวดากอง ขึ้นทะเบียนแล้ว

3. พระอุโบสถทรงไทยโบราณ ขึ้นทะเบียนแล้ว

4. จิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติในพระอุโบสถ ขึ้นทะเบียนแล้ว

5. กุฏิศิลปะผสม

6. อาคารเรียนไม้ 2 ชั้นโรงเรียนรามัญมุนี

7. สะพานโค้งศิลปะตะวันตกสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ด้านริมคลองหน้าวัด ไม่ปรากฎปี พ.ศ.ที่สร้าง แต่จากการสอบถามผู้สูงวัยได้บอกว่า สะพานโค้งนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อม ๆ กับวิหารของวัดบางหลวง สาเหตุที่มีลักษณะโค้งสูงเพราะว่าในสมัยก่อนมีเรือสำปันที่มีหลังคาสูงผ่าน ไปมาตลอด ทำให้สามารถลอดผ่านออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ ซึ่งปากแม่น้ำเจ้าพระยาก็เลยออกไปประมาณ 50 เมตร

8. วิหารวัดบางหลวงสร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5

9. เสาหงส์เป็นสัญลักษณ์ของมอญ ซึ่งจะตั้งอยู่หน้าวัดหันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แสดงให้ทราบได้ว่าวัดนี้เป็นวัดมอญ ซึ่งชาวมอญได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณวัดบางหลวงแห่งนี้ และได้ทำนุบำรุงวัดบางหลวงมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีคนที่พูดภาษามอญได้อยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งวัดบางหลวงยังเป็นสถานที่ รวมตัวกันของชมรมชาวไทยเชื้อรามัญปทุมธานีอีกด้วย

วัดบางหลวงจะมีพระพุทธรูปโบราณที่สำคัญๆ อยู่หลายองค์ คือ

1. หลวงพ่อใหญ่ พระประธานปางมารวิชัยในพระอุโบสถทรงไทยโบราณเป็นพระประธานที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในจังหวัดปทุมธานี

2. หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายบิดไปมาได้ หล่อด้วยสัมฤทธิ์ตันทั้งองค์ สมัยเชียงแสน มีหน้าตักกว้าง 25 นิ้ว สูง 39 นิ้ว ที่ถูกค้นพบขณะที่ขุดคลองลัดเตร็จใหญ่ ในสมัยพระเอกาทศรถ ประมาณ พ.ศ. 2151 จะนำออกให้ประชาชนกราบไหว้สักการะบูชาปิดทองพระเป็นประจำทุกปีในวันแรม 4 ค่ำเดือน 11

3. พระปทุมธรรมราช พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยโลหะผสม หน้าตักกว้าง 3คืบ พระสุคตประมาณ 40นิ้ว สูง 50นิ้ว ห่มจีวรสังฆาฏิพาด ตั้งอยู่บนฐานบัว สูง 8นิ้ว ยาว 47นิ้ว วัดความสูงถึงยอดพระเกตุมาลาได้ 65นิ้ว เป็นพระประจำจังหวัดปทุมธานี สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5โดย พระศาสนโสภณ ( อ่อน ) เมื่อครั้งยังเป็น "พระธรรมไตรโลกาจารย์ " วัดพิชัยญาติการาม ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลกรุงเทพมหานคร เห็นว่าในเขตปกครองของท่านยังไม่มีพระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง จึงดำริกับ พระรามัญมุนี ( สุทธิ์ ญาณรํสี ) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เจ้าอาวาสวัดบางหลวงในสมัยนั้น พร้อมด้วย "พระยาพิทักษ์ทวยหาญ" เจ้าเมืองปทุมธานี และกรรมการบ้านเมือง ได้ร่วมจัดหาทุนทรัพย์ในการหล่อพระพุทธรูปประจำจังหวัดเริ่มลงมือสร้างเมื่อเดือนมกราคม ร.ศ.118 ( พ.ศ. 2443 ) พระธรรมไตรโลกาจารย์ ได้นำช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูปมาจากกรุงเทพ ฯ โดยประกอบพิธี ณ โรงพิธีวัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งในการสร้างพระพุทธรูปครั้งนี้ ได้สร้างขึ้นพร้อมกันจำนวน 4องค์ ซึ่งมีพุทธลักษณะที่เหมือนกันทุกองค์ เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปประจำเมือง 4เมือง ต่อมาเมื่อปั้นหุ่นพระพุทธรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้มีกำหนดการเททอง สำหรับพระพุทธรูปประจำเมืองปทุมธานี ได้ประกอบพิธีเททองเมื่อ วันที่ 19กุมภาพันธ์ ร.ศ. 119 ( พ.ศ. 2443 ) ณ โรงพิธีวัดบางหลวง สิ้นเงิน 513บาทเศษ เมื่อได้สร้างพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระธรรมไตรโลกาจารย์ จึงได้นำความขึ้นทูลเกล้าขอพระราชทินนามพระพุทธรูป ทั้ง 4รูป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5ทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปประจำจังหวัดปทุมธานีว่า “ พระปทุมธรรมราช” แล้วทรงมีพระรับสั่งให้นำมาประดิษฐานไว้ ณ วิหารวัดบางหลวง นับแต่นั้นมา

4. “พระงอก” บนพระอังสามีลักษณะยื่นออกมา(ประดิษฐานไว้ในกุฏิเก่าของท่านเจ้าคุณพระราชสุเมธาภรณ์)

ที่ตั้ง ตำบลบางหลวง อ.เมือง ปทุมธานี สอบถามโทร. 0-2581-7895 02 581 6948 http://www.bangloungtemple.cc.cc/s1p_Baby_253397

การเดินทางจากศาลากลางจังหวัดหลังเก่าไปตามถนนปทุมธานีสายใน ประมาณ 3 กม. พอข้ามคลองบางหลวงก็ถึงประตูวัดอยู่ซ้ายมือ

แหล่งที่มาข้อมูลจาก : www.amazingpathum.com

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดบางหลวง
อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
บุคคลอ้างอิง ประคอง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 025934270 โทรสาร 025934406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่