พื้นที่เป็นป่ารกทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากและเป็นที่ที่นำตัวเจ้าพญาปัตตานีมาผูกหรือล่ามไว้ที่นี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนกลุ่มแรกที่เริ่มมาก่อตั้งหมู่บ้าน โต๊ะปาดอ และพรรคพวก ซึ่งแยกมาจากบ้านกุลพร้อมกับการแยกของโต๊ะนายศรี เพื่อต้องการที่จะขยายพื้นที่ทำกินภายในหมู่บ้านยังมีเนื้อที่จะมาสร้างเป็นครอบครัวอยู่ได้ และมีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์
โบราณสถาน ดังนี้
๑. สถูปหลวงพ่อไกรสถูปหลวงพ่อไกร เป็นสถูปฐานสี่เหลี่ยม ยอดปราสาทมีมุขยื่นทั้ง 4 ด้านๆหนึ่งเป็นทางเข้า ด้านในกว้างขนาดคนเข้าไปได้ไม่เกิน ๖ – ๗ คน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ภายในมีรูปปั้นหลวงพ่อไกรหลายรูป ทั้งขนาดรูปเท่าคนจริงและเล็กกว่า รวมถึงพระพุทธรูป
๒. โบสถ์มหาอุดตำนานที่เกี่ยวข้อง/โดยสังเขป เป็นอาคารปูนชั้นเดียว ทรงไทย มีกําแพงแก้ว ไม่มีประตูหลัง เรียกว่าโบสถ์มหาอุด ซึ่งคนโบราณมีความเชื่อว่ามีพุทธคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่จะช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป และใช้สำหรับการปลุกเสธพระเครื่อง
แหล่งเรียนรู้/พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จำนวน…..๒……..แห่ง ดังนี้
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๑.ความเป็นมา/วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสวนเกษตรอินทรี มี พิช ผัก ผลไม้หลากหลายชนิด เปิดให้ประชาชนที่สนใจ ศึกษาดูงาน
๒. กิจกรรมที่จัดแสดง/จัดให้มีในแหล่งเรียนรู้ การสาธิตการทำเกษตร
๓. วัน/เวลา/ที่เปิดแสดง ติดต่อเข้าโปรดแจ้งล่วงหน้าก่อน ๑ วัน
๔. เจ้าของ/ประธานศูนย์/ประธานกลุ่ม นายธัญญา แก้วเจริญ
แหล่งท่องเที่ยวชุมชน จำนวน ๔ แห่ง
๑)น้ำตกบูตงเป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีน้ำไหลตลอดปี มีสายธารที่ยาว และมีแหล่งที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำได้ด้วยความสนุกสนานเป็นระยะ ๆ เนื่องจากมีแอ่งที่ไม่ลึกและน้ำใสสะอาด นอกจากนี้ ยังอยู่ใต้ร่มไม้ที่ร่มรื่นอีกด้วย
๒)วังน้ำเขียวตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา วังน้ำเขียวเป็นแหล่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ของตำบลลำพะยา บ่อน้ำนี้เกิดจากเรือขุดในสมัยการทำเหมืองแร่ ซึ่งสมัยก่อนลำพะยามีแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก บรรยากาศของวังน้ำเขียวจะมีทิวทัศน์ที่สวยงาม
๓)เขื่อนลำพะยาเป็นเขื่อนที่เกิดจากการที่บริษัท ปัตตานีทิน จำกัด ทำเหมืองแร่ดีบุกในสมัยก่อน เขื่อนลำพะยาเป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนซอกเขามีลําธารน้ำตกตื้นๆที่มีก้อนหินใหญ่ น้อยไหลลงจนเกิดเป็นทะเลสาบ
๔)ลานหินเพลง หรือบ่อเพลงตั้งอยู่หมู่ ๒ ตำบลลำพะยาเป็นลานหินที่มีลักษณะเป็นรูซึ่งถูกกัดกร่อนไป ตามธรรมชาติ รูหินดังกล่าวมี ๗ รูและมีขนาดแตกต่างกันเมื่อมีฝนตกน้ำไหลลงไปทําให้เกิดเสียงกังวาน เหมือนเสียงดนตรี
ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ผลิตภัณฑ์ชุมชน/ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
๑)ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มกะลามะพร้าวประเภท ของใช้ ของตกแต่ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นับว่าเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน ตลอดจนเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้เพื่อนำกะลามะพร้าวที่เป็นวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของใช้ภายในบ้าน พวงกุญแจ หรือวัสดุตกแต่งบ้านได้อีกด้วย
๒)วังน้ำเขียวตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา วังน้ำเขียวเป็นแหล่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ของตำบลลำพะยา บ่อน้ำนี้เกิดจากเรือขุดในสมัยการทำเหมืองแร่ ซึ่งสมัยก่อนลำพะยามีแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก บรรยากาศของวังน้ำเขียวจะมีทิวทัศน์ที่สวยงาม
๓)เขื่อนลำพะยาเป็นเขื่อนที่เกิดจากการที่บริษัท ปัตตานีทิน จำกัด ทำเหมืองแร่ดีบุกในสมัยก่อน เขื่อนลำพะยาเป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนซอกเขามีลําธารน้ำตกตื้นๆที่มีก้อนหินใหญ่ น้อยไหลลงจนเกิดเป็นทะเลสาบ
๔)ลานหินเพลง หรือบ่อเพลงตั้งอยู่หมู่ ๒ ตำบลลำพะยาเป็นลานหินที่มีลักษณะเป็นรูซึ่งถูกกัดกร่อนไป ตามธรรมชาติ รูหินดังกล่าวมี ๗ รูและมีขนาดแตกต่างกันเมื่อมีฝนตกน้ำไหลลงไปทําให้เกิดเสียงกังวาน เหมือนเสียงดนตรี
ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ผลิตภัณฑ์ชุมชน/ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
๑) ชื่อผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มกะลามะพร้าว ประเภท ของใช้ ของตกแต่ง
เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นับว่าเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน ตลอดจนเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้เพื่อนำกะลามะพร้าวที่เป็นวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของใช้ภายในบ้าน พวงกุญแจ หรือวัสดุตกแต่งบ้านได้อีกด้วย
๒) ชื่อผลิตภัณฑ์ เครื่องแกงตำมือ ประเภท ของใช้ เครื่องปรุงอาหาร
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา กลุ่มสตรีบ้านลำพะยา ผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชนประกอบด้วย – เครื่องแกงตำมือ เครื่องแกงตำมือภาคใต้ เป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่โดดเด่นแตกต่างจากเครื่องแกงในภูมิภาคต่าง ๆ มีรสจัด เข้มข้น นิยมใส่ขมิ้นเป็นหลัก ปัจจุบันอาหารท้องถิ่นของภาคใต้ได้รับความนิยมทั่วไป การจะปรุงให้ได้รสชาติจะต้องใช้เครื่องเทศให้ครบถ้วน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร เครื่องแกงสำเร็จรูปจึงได้รับความนิยมอย่างมาก ตำบลลำพะยา มีวัตถุดิบในการแปรรูปเครื่องแกงโดยเฉพาะขมิ้น พริก ตะใคร้ และเครื่องเทศต่าง ๆ กลุ่มแม่บ้านจึงได้รวมตัวกันนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในตำบลมาแปรรูปเป็นเครื่องแกงตำมือ สำหรับใช้ประกอบอาหารและได้ทดลองนำไปวางจำหน่าย ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริโภคจึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มและดำเนินการเรื่อยมา เครื่องแกงตำมือของกลุ่มสตรีบ้านลำพะยามี ๓ อย่าง ประกอบด้วย เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงส้ม และเครื่องแกงผัดเผ็ด
๓) ชื่อผลิตภัณฑ์ ขนมดอกจอก ประเภท อาหาร
เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่ง รสชาติหวานนิดหน่อย มัน กรอบ อร่อย พร้อมกลิ่นหอมละมุนลิ้น เหมาะสำหรับทานเล่นและของว่างทานคู่กับเครื่องดื่มแก้วโปรดได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านพรุ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านพรุ
๔. อาหารพื้นถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จำนวน ๑ ชนิด (ระบุรายละเอียดพร้อมภาพประกอบ) ดังนี้
๑) ชื่ออาหาร ขนมม่อฉี่ ประเภท อาหารหวาน
ขนมม่อฉีเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ และชาวบ้านเรียกกันว่าขนมแป้งแต่เมื่อทหารญี่ปุ่นมาเห็นก็เรียกว่าขนมโมจิ และคนใต้เรียกตามไม่ชัดจนกลายเป็นขนมม่อฉีจนถึงปัจจุบัน สำหรับส่วนประกอบหลักของขนมม่อฉี ก็คือ แป้งข้าวเหนียวนึ่งผสมใบเตย แป้งขาวเหนียวขั้ว และใช้น้ำตาลโตนดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับงาดำงาขาวสำหรับทำเป็นไส้