นับเป็นงานประเพณีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น ซึ่งได้อนุรักษ์สืบทอดต่อเนื่องมาแต่บรรพบุรุษนับร้อนปี จนนับได้ว่าเป็นมรดกแห่ศิลปวัฒนธรรมและจารีตประเพณีของอำเภอกาญจนดิษฐ์ ชักพระเป็นศัพท์ของชาวใต้ หมายถึง การชักพระหรือลากพระเป็นพิธีบุญอย่างหนึ่งที่กระทำสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลจนกระทั่งปัจจุบันนี้ จะถือเอาวันเข้าพรรษา ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 อัญเชิญพระพุทธรูปให้พุทธศาสนิกชนชักลากแห่นำไปบำเพ็ญกุศลและสมโภชเพื่อความเป็นสิริมงคล โอยนิยมกระทำกันทั้งทางบกและทางน้ำซึ่งปกติเรียกว่า “ชักพระทางบก ชักพระทางน้ำ” เป็นการจำลองเหตุการณ์ตามเรื่องราวเทโวโรหนสูตร ซึ่งกล่าวไว้ว่า ประเพณีแห่พระเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาแต่ครั้นสมัยพุทธกาลเมื่อสมัยครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปตำพรรษาชั้นดาวดึงส์เพ่อโปรดพุทธมารดา ครั้นถึงวันออกพรรษา ซึ่งเป็นวันปวารณา จึงทรงเสด็จลงมาจากดาวดึงส์พิภพสู่โลกมนุษย์ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวต่างปิติชวนกันเฝ้ารอตักบาตร รับเสด็จกันอย่างคับคั่ง จนเกิดประเพณีตักบาตรเทโวขึ้นควบคู่กับประเพณีชักพระ
ประเพณีชักพระของชาวอำเภอกาญจนดิษฐ์ กรทำกันทั้งทางบกบริเวณทั่วไปทุกตำบลและทางน้ำที่วัดท่าไทร ก่อนถึงวันชักพระ วันออกพรรษาของแต่ละปี ทางวัดและชาวบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงจะช่วยกันจัดเตรียมเรือ รถ ประดับประดาตกแต่งอย่างสวยงามแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานบนบุษบก นมพระ บนเรือพระ รถพระจะมีการประโคมกลองเพื่อเตือนให้รู้ว่าชาวบ้านรู้ว่าในวันดังกล่าวจะมีการชักพระซึ่งมักจะประคบกลองก่อนวันลากพระ
ตอนเช้าตรู่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะรีบไปตักบาตรหน้าเรื่อพระหลักจากนั้นพระฉันอาการแล้วชักพระ การทบุญตักบาตรอาหารคาวหวาน จะต้องมีขนาดขนมชนิดหนึ่ง ที่จะขาดไม่ได้เรียกว่า ขนมต้ม แล้วจะเริ่ม ออกจากวัดไปสมโภชพร้อมกับตีกลองโพนไปตลอดทาง เพื่อประกาศให้รู้ว่ามีการชักพระแล้ว
ชาวกาญจนดิษฐ์ โดยวัดต่าง ๆ จะชักพระบกบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอในวันก่อนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เพื่อ เข้าพิธีสมโภชร่วมกัน