ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 37.6548"
13.743793
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 5.2884"
100.501469
เลขที่ : 164328
พระศาสนสถานคุรุดวารา(วัดซิกข์)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 14 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 14 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 1361
รายละเอียด

เมื่อราวปี พ.ศ.2454 ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาซิกข์ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะนั้น ยังมิได้มีศาสนสถานเพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนา ดังนั้นชาวซิกข์ทั้งหลายจึงได้ผลัดเปลี่ยนกันใช้บ้านของพวกเขาเอง เป็นสถานที่ในการประกอบกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ เช่น กิจกรรมการเจริญธรรมเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ วันสังกราน และในวันคุรปูรับต่างๆ

ต่อมาปี พ.ศ.2475 ชาวซิกข์ได้รวบรวมเงินเพื่อซื้อที่ดินผืนหนึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ในการสร้างศาสนสถาน โดยใช้เวลาก่อสร้างนาน 5 เดือน สำเร็จในปี พ.ศ. 2476ใช้ชื่อว่า"ศาสนสถานสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา"เป็นศูนย์รวมของซิกข์ศาสนิกชน และชาวไทยที่นับถือศาสนซิกข์ในประเทศไทย

เวลาผ่านไป 46 ปี สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา และความร่วมมือร่วมใจของชาวไทยซิกข์ ได้ก่อสร้างคุรุดวาราเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 5 ชั้น และชั้นลอย รวมเป็น 6 ชั้น บนที่ดินเดิม โดยชั้นที่ 4 จะเป็นที่ชาวซิกข์นั่งฟังพระธรรม โดยมีแท่นประทับเพื่อใช้ในการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์คุรุครันธ์ซาฮิบยิ โดยจะมีศาสนจารย์นั่งอยู่ทางด้านหลังของ พระมหาคัมภีร์ เพื่อสวดมนต์ภาวนาเจริญธรรม และอ่านหลักธรรมคำสอนในพระคัมภีร์ และท่านจะคอยทำความเคารพ พระมหาคัมภีร์ด้วยการโบกพู่ที่ทำขึ้นจากหางม้าไปมาและในเวลาเช้าตรู่ประมาณ4.30 น. ของทุกวัน ศาสนจารย์จะอัญเชิญ นำพระมหาคัมภีร์ศรีคุรุครันธ์ซาฮิบ เสด็จมาประทับบนแท่นบัลลังก์ แล้วศาสนจารย์จะทำการ "ปัรกาส" อัญเชิญเปิดอ่านเป็นครั้งแรกทุกเช้า จากนั้นก็จะคลุมไว้ด้วยผ้าคลุมถึงพระอาศน์ ในเวลาค่ำประมาณ 18.30 น. อีกด้วย

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
ถนน จักรเพชร
ตำบล วังบูรพาภิรมย์ อำเภอ เขตพระนคร จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่