ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 40' 37.0956"
13.676971
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 31' 13.116"
100.52031
เลขที่ : 167887
พระวิหารหลวงพ่อหินแดง (วิหารโบราณ วัดแจงร้อน)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 12 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 12 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 1610
รายละเอียด

พระวิหารหลวงพ่อหินแดง เป็นวิหารที่ตั้งอยู่ในวัดแจงร้อน ก่อสร้างด้วยอิฐก้อนใหญ่ถือปูน กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร ผนังก่ออิฐทึบ ไม่มีหน้าต่าง มีแต่ประตูหน้าและประตูหลัง ซึ่งเป็นหลักฐานทางปูชนียวัตถุที่สำคัญ ที่พอสันนิษฐานลักษณะโครงสร้างได้ว่าเป็นลักษณะโครงสร้างที่นิยมสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2303 - 2394 ซึ่งเป็นศิลปะในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จากการสันนิษฐาน พระวิหารหลวงพ่อคำแดง คงสร้างมาก่อนนานแล้ว แต่ได้ปล่อยให้โครงสร้างหลังคาพระวิหารเสื่อมสลายลงไปตามกาลเวลา เนื่องจากความรกร้างว่าเปล่า ขาดการทะนุบำรุงรักษา ตามสภาพของวัดในสมัยนั้นๆ คงเหลือแต่โครงสร้างโดยรอบพระวิหาร และหมู่กลุ่มพระประธานบนฐานชุกชี ภายในพระวิหาร ซึ่งประกอบไปด้วยพระพุทธรูปสลักด้วยหินทรายแดง (หลวงพ่อหินแดง) และหมู่พระพุทธรูป 27 องค์

โครงสร้างพระวิหารหลวงพ่อหินแดงนั้น ในเขตราษฏร์บูรณะ มีการสร้างลักษณะเดียวกันนี้อยู่หลายวัด โดยเฉพาะวัดที่อำเภอพระประแดง มีลักษณะโครงสร้างใกล้เคียงกัน โครงสร้างพระวิหารหลวงพ่อหินแดง มีโครงหลังคาไม้ ประกอบหน้าจั่วก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา ซึ่งเป็นลักษณะฝีมือช่างจีน เป็นลักษณะฝีมือช่างที่สำคัญที่ปรากฏให้เห็นในสมัยรัชกาลที่ 3 ลวดลายที่ปรากฏโดยรอบพระวิหารหลวงพ่อหินแดง ลวดลายภายในกรอบหน้าจั่วที่เรียกว่าหน้าบันและบนกรอบซุ้มประตูเป็นลวดลายปูนปั้นที่สง่างามทั้งสองด้านตรงกลางของลวดลายปูนปั้น เป็นภาพครุฑยุคนาคและรูปเทพนม จึงนับว่าเป็นแม่ลายโดยมีลายก้านขดและลายดอกไม้เป็นหน้าบันไม่มีช่อฟ้าใบระกา ลวดลายปูนปั้นบนกรอบซุ้มประตูด้านหน้าพระวิหาร ใจกลางของลวดลายประกอบอยู่โดยรอบ ส่วนบนของกรอบซุ้มประตูทำเป็นหน้าบุคคล ลักษณะหน้าคล้ายคนจีน ส่วนตรงกลางของกรอบลายซุ้มประตู ทำเป็นลวดลายรูปเทพนมรองรับด้วยลวดลายก้านขดต่อดอก ที่ทำเป็นลักษณะคล้ายคบเพลิง โดยมีลวดลายก้านขดเป็นส่วนประกอบโดยรอบและประดับด้วยจานเคลือบลายต่างๆ และจานเชิงตามช่อลายก้านขด ซึ่งเป็นลวดลายที่นิยมทำกันมากในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นลักษณะทรงจีน

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดแจงร้อน
ซอย ราษฎร์บูรณ ถนน ราษฎร์บูรณะ
อำเภอ เขตราษฎร์บูรณะ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่