ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 8' 46.417"
19.146226944444
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 56' 25.991"
100.94055305556
เลขที่ : 183404
หมากแห้ง
เสนอโดย อำเภอปัว วันที่ 11 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 6 กันยายน 2556
จังหวัด : น่าน
0 1054
รายละเอียด

ชื่อหมาก

ประวัติความเป็นมาของหมาก

หมากเป็นพืชที่คู่กับคนไทยมานานแล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมกินหมากกัน แต่หมากยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปหมากสดและหมากแห้ง หมากแห้งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย และทำยารักษา โรค และผลหมากสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย รักษาโรคเหงือกและฟัน เป็นต้น นอกจากนี้หมากยังมีความสำคัญในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของคนไทย เช่น การนำหมากเพื่อเลี้ยงถวายพระแม่ธรณี โดยมีความเชื่อว่าพระแม่ธรณีจะปกปักรักษาให้ครอบครัวอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข หมากสามารถแปรรูปได้หลายประเภท ดังนี้

๑. หมากซอย
นำหมากดิบ หรือหมากสด เฉาะเอาเนื้อแล้วผ่าเป็น ๒ ซีก จากนั้นซอยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ ๐.๓ ซม. แล้วตากแดดให้แห้ง หมาก ๑,๐๐๐ ผล ได้หมากซอย ๓-๕ กก.
๒. หมากกลีบส้ม
ใช้หมากดิบปอกเอาเนื้อ แล้วผ่าประมาณ ๕-๗ กลีบ ตากแดดให้แห้ง
๓. หมากเสี้ยว
ใช้หมากดิบผ่าตามยาว ๔-๕ ชิ้น แล้วนำมาเจียน แกะเอาเนื้อให้ติดเปลือกนอก ตากแดด ให้แห้ง
๔. หมากแว่น
นำหมากสงที่เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เฉาะเปลือกออก แล้วหั่นหรือไสด้วยเครื่องไสหมากให้เป็นแว่น จากนั้นตากแดดให้แห้ง หมาก ๑,๐๐๐ ผล ได้หมากแว่น ๑๔ - ๑๕ กก.
๕. หมากผ่าซีก
ใช้หมากสุก ผ่าตามยาวเป็น ๒ ซีก นำไปตากแดด 1 แดด แล้วแกะเนื้อออกจากเปลือก ตากแดดอีก ๔ - ๕ แดด จนแห้ง หมาก ๑,๐๐๐ ผล ได้หมากแห้ง ๑๕ กก. ส่วนหมากผ่าสี่ และหมากแห้งทั้งเมล็ด ตากแดด 1 แดด แล้วแกะเอาแต่เนื้อเหมือนหมากผ่าซีก

วิธีการเก็บรักษาหมากแห้ง
ควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น เมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรนำออกผึ่งแดดเป็นระยะเพื่อไล่ความชื้นที่สะสมอยู่ในภาชนะ

สถานที่ตั้ง
ตำบลศิลาแลง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ศิลาแดง อำเภอ ปัว จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง -
ชื่อที่ทำงาน -
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ศิลาแดง อำเภอ ปัว จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55120
โทรศัพท์ - โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่