ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 12' 57.5773"
19.21599369451051
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 9' 53.3971"
100.16483253593753
เลขที่ : 192262
งานสืบสานตำนานไทลื้ออำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
เสนอโดย พะเยา วันที่ 24 มกราคม 2560
อนุมัติโดย พะเยา วันที่ 30 ตุลาคม 2566
จังหวัด : พะเยา
0 1469
รายละเอียด

งานเทศกาลไทลื้อ “โฮ่มฮีต โตยฮอย ร้อยใจไทลื้อ” จังหวัดพะเยา เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2537 ในชื่องาน“สืบสานตำนานไทลื้อ”หรือ“งานไทลื้อ”เป็นงานประจำปีของอำเภอเชียงคำ จัดทุกศุกร์ เสาร์-อาทิตย์ แรกของเดือนมีนาคมของแต่ละปี ณ วัดพระธาตุสบแวน จังหวัดพะเยา เพื่อส่งเสริม เผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทลื้อและชาวล้านนา รวมทั้งเสริมสร้างความสามัคคีของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีกิจกรรมและการสาธิตหลากหลายรูปแบบ สะท้อนถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ เช่น จัดแสดงขบวนแห่ การจำลองหรือสาธิตการทำอาหารและขนมไทลื้อ การแต่งกายแบบไทลื้อ การละเล่นพื้นบ้าน กิจกรรมนันทนาการ รวมไปถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อ

การจัดงานดำเนินต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ.2546 นับเป็นครั้งที่ 9 จึงได้ปรับรูปแบบจัดงานโดยจัดงานสัญจรไปตามจังหวัดที่มีชาวไทลื้ออาศัยอยู่ ได้แก่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และปีพ.ศ.2548 จัดงานสืบสานตำนานไทลื้อโลกขึ้น ชาวไทลื้อในสาธารณรัฐประชาชนจีน พม่า ลาว เวียดนาม และชาวไทลื้อ 7 จังหวัดภาคเหนือได้มาจัดกิจกรรมร่วมกัน มีพิธีลงนามสถาปนาบ้านพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดพะเยากับเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านวิชาการวัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจ

หลังจากนั้นรูปแบบของการจัดงานสืบสานตำนานไทลื้อได้เปลี่ยนเป็นรูปแบบของการร่วมกันจัดงานโดยชาวไทลื้อจากบริเวณพื้นที่ต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยมี “สมาคมไทลื้อแห่งประเทศไทย” เป็นผู้ประสานงาน ในปีพ.ศ.2552 จังหวัดพะเยา จัดงานสืบสานตำนานไทลื้อ ครั้งที่ 10 เพื่อร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทลื้อทั้งที่อยู่ในจังหวัดพะเยาและพี่น้องชาวไทลื้อใน 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน จังหวัดพะเยาจัดงานสืบสานตำนานไทลื้อต่อเนื่องจนถึงครั้งที่ 19 ในปี พ.ศ.2562 หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2563 – 2565 จังหวัดพะเยางดจัดงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ปี พ.ศ. 2566 จังหวัดพะเยาได้จัดงานเทศกาลไทลื้อ “โฮ่มฮีต โตยฮอย ร้อยใจไทลื้อ” สืบสานตำนานไทลื้อ ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2566 ณ วัดพระธาตุสบแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็น 1 ใน 16 เทศกาลประเพณีที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อยกระดับไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อภาคเหนือ เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่มีคุณค่าและมูลค่า สามารถนำไปต่อยอดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา ภายในงานมีขบวนแห่ทางศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ 7 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำพูน และลำปาง ขบวนแห่ของหน่วยงานราชการ สถานศึกษา จำนวน 25 ขบวน โดยเริ่มต้นขบวนจากกาดไทลื้อ บ้านธาตุ หมู่ ๒ ไปยังวัดพระธาตุสบแวน การสาธิตแห่ครัวตานเข้าวัด สาธิตประเพณีตานธรรม นิทรรศการมีชีวิต “วิถีวัฒนธรรมไทลื้อ” การสาธิตการอีดฝ้าย (แยกเอาเมล็ดออกจากปุยฝ้าย) การปั่นฝ้ายและการทอผ้า นิทรรศการผ้าลายดอกสารภี ผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดพะเยา ผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อภาคเหนือ การเดินแบบการแต่งกายชุดชาติพันธุ์และชุดผ้าทอลายอัตลักษณ์ประจำจังหวัดในภาคเหนือ การสาธิตทำอาหารไทลื้อ การจำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ และการให้บริการนั่งรถรางชมแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตของชุมชนไทลื้อ 5 หมู่บ้าน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สถานที่ตั้ง
วัดพระธาตุสบแวน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล หย่วน อำเภอ เชียงคำ จังหวัด พะเยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา
ตำบล เวียง อำเภอ เมืองพะเยา จังหวัด พะเยา รหัสไปรษณีย์ 56000
โทรศัพท์ 054485781
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่