วัตถุดิบและส่วนประกอบการทำข้าวซ้อมมือ1. ข้าวหอมมะลิ2. ถุงบรรจุภัณฑ์3. เครื่องสีข้าว4. เครื่องร่อน5. ตราชั่ง6. เครื่องซีนถุงด้วยระบบสุญญากาศ แปรรูปข้าวซ้อมมือขั้นตอนการทำข้าวซ้อมมือ1.นำข้าวหอมมะลิ ที่เก็บเกี่ยวเเล้วนำข้าวเปลือกในลานตากข้าวใช้เวลา 2 วัน โดยการตากในตอนเช้าเก็บรวบรวมในตอนเย็นวันรุ่งขึ้นนำมาตากอีกโดยการกลับกองข้าววันละ 4 ครั้ง2.ทำการรวมเก็บขึ้นฉางข้าวโดยการเทกองเก็บไว้เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้ข้าวแห้งและมีข้าวเปลือกหมุนเวียนออกมาสีได้ตลอดปี ข้าวตาก แล้วจะมี ความชื้น 15 % ชั่งน้ำหนักข้าวแห้งก่อนสีทุกครั้งในการสีข้าว 1 ตันใช้เวลา 6 ชั่วโมง3.นำมาสีกะเทาะเปลือก โดยใช้ครก4.นำข้าวที่สีแล้วนามาผ่านขั้นตอนการคัดแยกเมล็ดโดยการคัดแยกแกลบออกแล้ว นำมาคัดสิ่งเจือปนออก ให้หมดแล้วค่อยนามาร่อนอีก 1 รอบเพื่อให้ได้ข้าว นำมาบรรจุ ส่วนข้าวที่ร่อนออกไปคือข้าวท่อน5.ข้าวที่ผ่านการร่อนแล้วนำมาบรรจุถุงแล้วชั่งนาหนักให้ได้ถุงละ 1 กก.6.ก่อนนำมาแพคด้วยด้วยระบบสุญญากาศแล้วนำมาติดสติ๊กเกอร์ตราสัญญาลักษณ์ “ข้าวไทย ข้าวซ้อมมือ”7.นำไปบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ ทำให้ยืดอายุการเก็บได้นาน ถึง 3 เดือน และถุงบรรจุจะบอกวันเดือนปีที่ผลิตและวันที่หมดอายุ 1 ถุงจะบรรจุหนัก 1 กิโลกรม ซึ่งเป็นขนาดที่พอเหมาะและสะดวกในการซื้อขาย ข้าวเปลือกที่จะนำมาใช้จะต้องเป็นข้าวหอมมะลินาปีเท่านั้น นำมาตากแดดให้แห้ง 2 วัน เพื่อให้ข้าวแห้งและมีข้าวเปลือกหมุนเวียนตลอดทั้งปี- ข้าวตากแดดแล้วมีความชื้นประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์- ข้าวเปลือกสด 1 ตัน ตาก 2 วัน อันตราสูญเสียน้าหนัก 18 เปอร์เซ็นต์- ข้าวเปลือกสด 1 ตัน ตากแล้วมีน้าหนักคงเหลือ 820 กก.