ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 45' 14.8356"
13.754121
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 22.662"
100.506295
เลขที่ : 162565
พิธีห่มผ้าแดงองค์พระเจดีย์ บรมบรรพต (ภูเขาทอง)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 2 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 2 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 1153
รายละเอียด

พิธีห่มผ้าแดงองค์พระเจดีย์ บรมบรรพต (ภูเขาทอง) เป็นพิธีโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ สืบทอดกันมานานนับร้อยปี ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างภูเขาทอง ต่อจากรัชกาลที่ 3และรัชกาลที่ 4 จนแล้วเสร็จ พระองค์ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากรัฐบาลอินเดีย ที่ขุดได้จากกรุงกบิลพัสดุ์ (โดยมิสเตอร์ วิลเลียม เปปเป ชาวอังกฤษ) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บรรจุประดิษฐานไว้บนองค์บรมบรรพต ภูเขาทอง และโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา 7วัน 7 คืน ในช่วงเทศกาลลอยกระทง จนกลายเป็นประเพณีนมัสการพระบรมสารีริกธาตุของทุกปี การที่พระองค์ท่านได้จัดพิธีห่มผ้าแดงขึ้น อีกนัยหนึ่งเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ชาวพระนคร มองเห็นแต่ไกลๆ และทราบถึงงานภูเขาทองที่จะเวียนมาถึงอีกวาระหนึ่ง

ในปัจจุบันพิธีห่มผ้าแดง จะมีก่อนงานภูเขาทอง 3 วัน ระหว่างงานจะมีประชาชนหลั่งไหลจากทั่วสารทิศเดินทางมาร่วมงาน ซึ่งเชื่อว่าหากได้เขียนชื่อ-สกุลของตนเอง และครอบครัวบนผ้าแดง แล้ว จะพบแต่สิ่งดีๆ พ้นภัยและวิกฤตทั้งปวง ประเพณีดังกล่าว จัดขึ้นตามแบบโบราณ มีขบวนช้าง สมณชีพราหมณ์ ผู้ทรงศีล คนแต่งชุดเทวดา ตามด้วยชุดไทยโบราณ และขบวนพุทธศาสนิกชน ไปตามถนนสายต่าง ๆ จากนั้นจึงอัญเชิญผ้าแดงซึ่งยาวนับพันเมตรขึ้นห่มองค์พระเจดีย์ บรมบรรพต (ภูเขาทอง) การประกอบพิธีดังกล่าว เพื่อช่วยให้บ้านเมืองพ้นวิกฤตและภัยพิบัติต่างๆ และเป็นสิริมงคลสืบไป

สถานที่ตั้ง
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
ซอย บรมบรรพต
ตำบล บ้านบาตร อำเภอ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่