ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 58' 47.1865"
6.979774023188783
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 25' 23.5861"
100.42321835600592
เลขที่ : 166143
เครื่องจักรสานด้วยกระจูด
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สงขลา
0 2809
รายละเอียด

เนื่องจากสงขลามีพื้นที่ติดทะเลทำให้มีป่าพรุจำนวนมาก ดังนั้นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำมาจากกระจูดจึงมีเป็นจำนวนมากในหลายพื้นที่ของสงขลา นั่นยังเป็นการสะท้อนอีกด้วยว่าสงขลามีจำนวนของป่าพรุที่อุดมสมบูรณ์เพราะเป็นแหล่งกำเนิดของกระจูด ในสมัยโบราณผู้ชายจะใช้เวลาว่างออกไปหากระจูดกลับมาให้แม่บ้านหรือลูกๆช่วยกันตากกระจูด เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปทำการจักรสานเป็นเครื่องใช้ภายในครัวเรือน ในปัจจุบันเครื่องจักรสานจากกระจูดยังสามารถเป็นสินค้าสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อีกด้วย

ที่มาของการจักรสานด้วยกระจูดเริ่มขึ้นเมื่อสมัยร้อยกว่าปี มีพระธุดงค์ที่ชื่อหลวงพ่อลิ้นดำ (คลองสอ) นำพันธุ์กระจูดมาจากประเทศมาเลเซียมาปลูกในป่าพรุ ในเขตพื้นที่หมู่3 ตำบลควนลัง เมื่อเวลาผ่านไปกระจูดเจริญเติบโตแพร่พันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ทวดจันทร์แก้ว ธรรมโชเตก็ได้นำกระจูดมาลองทำการจักรสานเป็น เสื่อ กระสอบ หมุก เซียนหมาก และเครื่องใช้อื่นๆภายในครัวเรือน ภูมิปัญญาเรื่องการจักรสานกระจูดถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานในหมู่บ้าน จนปัจจุบันนำโดย นางคำนึง แย้มสุวรรณ ได้จัดตั้งกลุ่มจักรสานกระจูดตำบลควนลัง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 53/1 หมู่ 3 ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หมายเลขโทรศัพท์ 074-251402, 08-6293-7704

สถานที่ตั้ง
กลุ่มจักสานกระจูดตำบลควนลัง
เลขที่ 53/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล ควนลัง อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กลุ่มจักสานกระจูดตำบลควนลัง
บุคคลอ้างอิง นางคำนึง แย้มสุวรรณ
เลขที่ 53/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล ควนลัง อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา
โทรศัพท์ 08-6293-7704
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่