ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 25' 58.1592"
17.432822
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 47' 16.9584"
99.788044
เลขที่ : 169156
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2642
รายละเอียด
ชื่อแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อายุ เมืองศรีสัชนาลัยมีพบหลักฐานของชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเมื่อครั้งที่ผู้คนในบริเวณนี้ยังมิได้นับถือพุทธศาสนา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 9 มาจนถึงสมัยทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ 12-16 และสมัยลพบุรี ในพุทธศตวรรษที่ 17-18 อย่างต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัยในพุทธศตวรรษที่ 19 ที่อยู่/แหล่งที่ตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กรมศิลปากรตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย ที่มีโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และเป็นต้นแบบของศิลปะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน จึงเข้ามาดำเนินการอนุรักษ์โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เมืองศรีสัชนาลัย เป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ ต่มาจึงได้บูรณะและพัมนาในรูปแบบของอุทยานประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป สมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอุทธยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2533 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและกำแพงเพชร ได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การ UNESCO ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 สถานภาพของสถานที่ (เช่น อำเภอหรือแม่น้ำ) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัยลงมาทางอำเภอสวรรคโลก 11 กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 550 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ส่วนตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 45.14 ตารางกิโลเมตร ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถานทั้งหมด 281 แห่ง ความสำคัญในอดีต ศรีสัชนาลัยเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นสุโขทัย ที่มักจะปรกฏชื่อควบคู่ไปกับเมืองหลวงในจารึก “ศรีสัชนาลัยสุโขทัย” โดยปัจจัยหลักแห่งความรุ่งเรืองของเมืองศรีสัชนาลัย น่าจะมาจากอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสังคโลกในสมัยสุโขทัยและอยุธยาส่งขายไปยังเมืองต่างๆ อันสร้างรายได้ให้แก่เมืองเป็นจำนวนมากและจากความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจนี้เองที่ทำให้เมืองศรีสัชนาลัยได้รับการปกครองจากเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในสมัยสุโขทัยก่อนที่จะถูกยึดครองโดยรัฐต่างๆ ที่เข้มแข็งกว่าในเวลาต่อมา เช่น ล้านนาเรียกเมืองนี้ว่า “เชียงชื่น” กรุงศรอยุธยาเรียกว่า “สวรรคโลก” แต่หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 อุตสาหกรรมการผลิตสังคโลกที่เมืองศรีสัชนาลัยก็ยุติลง ส่งผลให้เมืองศรีสัชนาลัยถูกลดฐานะลงเป็นเพียงหัวเมืองชั้นโท จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยจึงถูกทิ้งร้างไปโดยสิ้นเชิง โดยผู้คนได้อพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านวังไม้ขอม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน สภาพทางภูมิศาสตร์ (ที่ราบหรือที่ดอน) เมืองศรีสัชนาลัย อยู่บนพื้นที่ราบแม่น้ำยม มีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่านเมืองคือแม่น้ำยม และที่ลาดเชิงเขาพระศรี เขาใหญ่ เขาสุวรรณคีรี และเขาพนมเป็นที่เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐาน สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นเมืองกลางศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจเ ดิมชื่อว่า “เมืองเชลียง” แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ศรีสัชนาลัย” ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม (ใช้วัสดุอะไรในการก่อสร้าง) ศิลปะสมัยสุโขทัย สถานที่สำคัญ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่โบราณที่สำคัญและควรเที่ยวชม อาทิ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดพระศรีมหาธาตุเชลียง กลุ่มเตาสังคโลก เตาทุเรียงบ้านป่ายาง บ้านกาะน้อย และแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นเป็นต้น
สถานที่ตั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ตำบล ศรีสัชนาลัย อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ตำบล ศรีสัชนาลัย อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 0 - 5567 - 9211
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่