ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 17' 57.23"
15.2992305555556
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 6' 24.84"
105.1069
เลขที่ : 169943
แคน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1685
รายละเอียด
แคนเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่อยู่คู่กับชาวไทยอีสานและชนชาติลาวมานานแล้ว ในการแสดงพื้นเมืองของทางอีสาน จะต้องมีแคนร่วมอยู่ด้วยเสมอ ในขณะที่เครื่องดนตรีประเภทอื่น เช่น ซอ ยังอาจไม่นำมาใช้ในการแสดงได้ แคนจัดเป็นเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องเป่าแบบมีลิ้น มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ (1) ลูกแคน คือ ไม้ซางขนาดต่าง ๆ นำมาเจาะทะลุเพื่อให้ลมผ่าน (2) เต้าแคน มีลักษณะกลมเป็นกระเปาะ หัวท้ายสอบ ตรงกลางเจาะบากเป็นรูทะลุรูปสี่เหลี่ยม สำหรับใส่ลูกแคน ด้านหน้าเจาะรูกลมทะลุถึงรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง สำหรับเป่าให้ลมเข้า ซึ่งจะทำให้ลิ้นแคนภายในสั่นสะเทือน ด้านท้ายเหลาตกแต่งเป็นรูปทรงคล้ายหัวนม ซึ่งเต้าแคนของช่างแคนแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งสามารถแสดงเอกลักษณ์ของหมอแคนได้ อีกส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ(3) ลิ้นแคน เป็นแผ่นโลหะบาง ๆ ใส่ไว้ตรงรูที่เจาะไว้ของลูกแคนแต่ละลูก เมื่อลมผ่านกระทบลิ้นแคนนี้ก็จะทำให้เกิดเสียงขึ้นมาได้ การเป่าแคนต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้างอุ้มเต้าแคนไว้ แล้วเป่าลมเข้าหรือสูบลมออกที่รูเต้า แล้วใช้นิ้วทั้งห้าปิดและเปิดรูเสียงตามที่ต้องการ
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดสว่างพิมพ์ธรรม หมู่ 8 ถ.สถิตย์นิมมานกาล
เลขที่ บ้านสว่างอ
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดสว่างพิมพ์ธรรม หมู่ 8 ถ.สถิตย์นิมมานกาล
เลขที่ หมู่ 8 ถ.ส หมู่ที่/หมู่บ้าน สว่าง
อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่