ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 25' 12.806"
12.4202239
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 31' 47.2901"
102.5298028
เลขที่ : 171153
นิทานพื้นบ้าน ปากเป็นเอก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 13 ธันวาคม 2564
จังหวัด : ตราด
0 3009
รายละเอียด

นิทานปากเป็นเอก มีชายคนหนึ่งศีรษะล้านเป็นคนใจน้อยเข้าตำรา แกมีลูกสาวสวยคนหนึ่ง ตัวแกเองเป็นช่างฝีมือดี แกต่อเกวียนไว้เล่มหนึ่งสวยงามมาก นอกจากนี้แกยังมีวัวคู่หนึ่ง ลักษณะดีถูกต้องตามตำรา เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว มีผู้พยายามไปขอซื้อให้ราคาสูงเท่าใด แกก็ไม่ยอมขาย วันหนึ่งข่าวนี้รู้ถึงหูเจ้าเมืองเข้า ก็มีความอยากได้ จึงประกาศแก่ทาสทั้งหลายว่า ถ้าทาสคนใดสามารถไปเอาเกวียนและวัวจากชายศีรษะล้านมาได้ จะได้รับรางวัลและปลดปล่อยให้เป็นไท มีทาสอาสาสมัคร 3 คน เจ้าเมืองจึงให้จับฉลาก ทาสคนที่ 1 เมื่อไปถึงก็ขู่ตะคอกว่า “ไงเจ้าหัวล้าน เจ้าเมืองให้ข้ามาเอาเกวียนและวัว จะให้หรือไม่ให้” ว่าแล้วตรงไปจะแก้วัวมาเทียมเกวียน ชายศรีษะล้านจึงใช้ไม้ไล่ตี ทาสคนที่ 1 สู้ไม่ได้ต้องหนีกลับจวน จึงเป็นหน้าที่ของทาสคนที่ 2 ทาสคนที่ 2 ใช้วิธีออดอ้อนหว่านล้อมต่าง ๆ นานา ตั้งแต่บ่ายจนถึงเที่ยงคืนก็ไม่สำเร็จ ทาสคนที่ 3 ซึ่งได้ไปยังบ้านของชายศีรษะล้าน เมื่อไปถึงก็ทำความเคารพอย่างนอบน้อมและกล่าวว่า “ท่านผมดกปรกไหล่ หน้าไล้เฉลิมทอง เกวียและวัวทั้งสองจะขายราคาสักเท่าไร” ชายศีรษะล้านพอใจในคำพูดของทาสคนที่ 3 มาก จึงตอบว่า “ลูกพูดถูกหู เกวียนและวัวทั้งคู่ พ่อยกให้” ส่วนลูกสาวของชายศีรษะล้านกลับมาจากตลาดสวนทางกับทาสคนที่ 3 เห็นเกวียนและวัวของพ่อก็จำได้ จึงร้องถามว่า “พ่อรูปงามไปทั้งตัว พ่อได้เกวียนและวัว มาจากไหน” ทาสคนที่ 3 ตอบว่า “แม่อกงามดังดอกบัว ตาแก่หัวล้านรูปชั่ว มันยกให้” ลูกสาวชายศีรษะล้านโกรธมาก รีบกลับไปฟ้องพ่อ ผู้พ่อโกรธจนตัวสั่น คว้าปฏักด้ามทอง รีบไปคิดว่าถ้าตามทันจะแทงด้วยปฏักให้สมแค้น ลูกสาวตกใจรีบวิ่งตามไป ฝ่ายทาสคนที่ 3 เห็นเข้าจึงหยุดรอ แล้วร้องถามว่า “พ่อผมดกปรกหลัง วิ่งละล้าละลัง มาหาลูกทำไม” ชายศีรษะล้านได้ยินคำว่า ผมดกปรกหลัง ถูกใจมาก หายโกรธทันที ร้องตอบว่า “ลูกพูดถูกต้อง ลูกลืมปฏักด้ามทอง พ่อจึงตามเอามาให้” นิทานเรื่องนี้แสดงให้เห็น ถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการอบรมสั่งสอนกุลบุตร กุลธิดา เรื่องการพูด ใช่เพียงพูดดีเท่านั้น ยังต้องพูดให้เหมาะสมตามกาลเทศะและบุคคลอีกด้วย

สถานที่ตั้ง
จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จังหวัด ตราด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่