วัดวารินทราราม มีเนื้อที่ ๒๕ ไร้ โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๗๒ อาณาเขตทิศเหนือ จดถนนอําเภอ ทิศใต้ จดถนนทหาร ทิศตะวันออก จดถนนอําเภอ ทิศตะวันตก จดถนนคําน้ำแซบ อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๙.๓๑ เมตร ยาว ๒๒.๖๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๒.๕๐ เมตร ยาว ๓๐.๕๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ กุฏิสงฆ์ จํานวน ๑๓ หลัง เป็นอาคารไม้ ๖ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๖ หลัง และตึก ๑ หลัง ศาลาบําเพ็ญกุศล จํานวน ๑ หลัง และมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม ๑ หลัง พระประธานในอุโบสถชื่อว่า พระมหาวารีปทุมรัตน์ขนาดหน้าตัก กว้าง ๔๘ นิ้ว สูง ๔๘ นิ้ว
วัดวารินทรารามเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดและตั้งวัด เมื่อ พ.ศ.2478สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ บ้านคําน้ำแซบ มีบ่อน้ำแซบ อยู่แห่งหนึ่งมีรสอร่อยมาก ชาวบ้านจะมาเอาน้ำดื่มเป็นประจํา ในสมัยนาย บัว ชินโคตร เป็นกํานันนายบ้านโดยท่านพระครูวิโรจน์รัตนอุบล เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ได้ส่งพระชมพูธิราช และพระอ่อน มาสร้างที่พักสงฆ์จําพรรษาทางทิศตะวันออกของบ่อน้ำเพื่อให้ชาวบ้านได้ทําบุญ ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดคําน้ำแซบ การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระผง ไชยภาค พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๕๒ รูปที่ ๒ พระทา พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๕๔ รูปที่ ๓ พระชู พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๕๕ รูปที่ ๔ พระหมา พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๕๗ รูปที่ ๕ พระคํามี พ.ศ. ๒๔๕๘-๒๔๕๙ รูปที่ ๖ พระลา พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๔ รูปที่ ๗ พระแสง พ.ศ. ๒๔๖๕-๒๔๗๐ รูปที่ ๘ พระผุย พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๕๗๑ รูปที่ ๙ พระครูวุฒิพิศาล พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๘๒ รูปที่ ๑๐ พระกมลวิสุทธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๕๑๑ รูปที่ ๑๑ พระครูวิรุฬสุตการ พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๒๒ รูปที่ ๑๒ พระสุพจน์อุบลรัตน์ พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๒๙ รูปที่ ๑๓ พระครู วารินทร์ธรรมรัตน์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑
สถานที่ตั้ง