ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 21' 13.2728"
16.3536869
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 34' 46.3354"
99.5795376
เลขที่ : 192531
โมเดลเกวียน
เสนอโดย กำแพงเพชร วันที่ 23 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 23 มีนาคม 2563
จังหวัด : กำแพงเพชร
0 279
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

วิถีชีวิตของชาวบ้านวังพระธาตุสมัยก่อน ประกอบอาชีพ

ทำไร่ทำนาและขายน้ำยางเป็นหลัก ในการไปไร่ไปนา ก็จะใช้เกวียนเทียมวัว หรือควาย เป็นพาหนะในการขนพืชผลทางการเกษตร หากจำเป็นต้องนอนพักค้างแรม ก็จะนอนใต้เกวียน เพราะเชื่อว่าเป็นที่ที่ปลอดภัยจากภูตผีและ

สัตว์ร้าย เนื่องจากตอนสร้างเกวียนก่อนที่จะประกอบส่วนประกอบแต่ละชิ้นนั้น ได้มีการลงคาถาอาคมไว้รอบเกวียนแล้ว ชื่อเรียกส่วนประกอบแต่ละส่วนก็สื่อความหมายถึงการคุ้มครอง ปกปักษ์รักษา เช่น สาแหลกบัง

ขวางทาง ครอบ

ในไร่นาของชาวบ้านวังพระธาตุจะมีต้นยางนา เมื่อต้นยางนาโตพอสมควร ก็จะมีการขุดโพรงที่โคนต้น (บ่อง) และสุมไฟให้น้ำยางไหลลงมาขังอยู่ในบ่อง หาภาชนะรองด้านล่าง ตักเอาน้ำยางใสๆ ด้านบนใส่ปี๊บและเศษด้านล่างข้นๆ (ขี้โล้) นำมาผสมกับไม้ผุ (ขี้พุก) ปั้นเป็นขี้ไต้ ห่อด้วยใบกะพร้อ

ใส่เกวียนไปขายให้เรือเมย์ (เรือเขียวหรือแดง) ล่องเรือไปขายที่จังหวัดนครสวรรค์

เกวียน จึงเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการทำมาหากินของชาวบ้านวังพระธาตุในสมัยก่อน

ส่วนประกอบ

- ใช้ไม้สักหรือไม้เนื้ออ่อน ในการทำ กง กรรม ดุม

สาแหลกบัง ขวางทาง เพลา ครอบ ท้าวแขน ทูบ แอก

ลูกแอก เรือนล้อ ไม้ตะค้ำ

- ใช้ลวดหรือหวายในการทำ อ้อม

- ใช้ กาว เดือย สลัก ในการเชื่อมต่อแต่ละชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน

สถานที่ตั้ง
ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
เลขที่ ๑๓๗ หมู่ที่/หมู่บ้านซอย - ถนน -
ตำบล ไตรตรึงษ์ อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
บุคคลอ้างอิง ปฐมาภรณ์ จริยวิทยานนท์ อีเมล์ kainui106@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ตำบล ไตรตรึงษ์ อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
โทรศัพท์ ๐๕๕๗๐๕๐๘๙ โทรสาร ๐๕๕๗๐๕๐๙๐
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่