ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 31' 39.1674"
13.5275465
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 47' 44.2313"
99.7956198
เลขที่ : 197366
เจดีย์หัก
เสนอโดย ราชบุรี วันที่ 14 กันยายน 2565
อนุมัติโดย ราชบุรี วันที่ 14 กันยายน 2565
จังหวัด : ราชบุรี
2 1552
รายละเอียด

ประวัติ : เจดีย์หักตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมืองราชบุรี ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเชื่อกันว่าเป็นที่อยู่ของคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีหรือวิปัสสนาธุระ

หลักฐานทางด้านโบราณคดีของเจดีย์องค์นี้ ลักษณะเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมทรงสูงขนาดย่อมก่อด้วยอิฐ และศิลาแลงฉาบปูน อิฐในฐานชั้นแรกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ในเนื้ออิฐมีแกลบข้าวปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก คล้ายกับอิฐที่พบโดยทั่วไปตามโบราณสถานสมัยทวารวดี ฐานชั้นที่สองก่อด้วยศิลาแลงเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ้อนกัน 2 ชั้น ส่วนของเรือนธาตุและส่วนยอดทลายลงมาหมดเมื่อปี พ.ศ. 2481 ทางด้านทิศตะวันตกของฐานเจดีย์ มีซากฐานอาคารสันนิษฐานว่าเป็นวิหาร ด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูป พบเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดง ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัยและปางสมาธิ กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะเจดีย์หัก เมื่อปี พ.ศ. 2532

ลักษณะของเจดีย์หักนี้คล้ายคลึงกับกลุ่มของเจดีย์แบบที่เรียกกันว่า “แบบเมืองสรรค์” พบที่เจดีย์วัดพระแก้ว อำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท ซึ่งกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 และกลุ่มเจดีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรี “แบบสุวรรณภูมิ” ซึ่งก่อสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19 เช่น เจดีย์วัดพระรูป เจดีย์รายวัดไก่เตี้ย และเจดีย์วัดพระแก้ว เป็นต้น

ผลการศึกษาสรุปได้ว่าเจดีย์หัก วัดเจติยารามนั้นเป็นเจดีย์ที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัย ทวารวดี แต่ได้พังทลายลง ต่อมาจึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เจดีย์หัก วัดเจติยาราม นั้น น่าจะมีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบและวิวัฒนาการร่วมกับเจดีย์แปดเหลี่ยม วัดพระแก้ว อำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท วัดพระรูปและวัดไก่เตี้ย จังหวัดสุพรรณบุรี

การกำหนดอายุสมัย : สมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-22)

การประกาศขึ้นทะเบียน : ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 38 ง วันที่ 20 พฤษภาคม 2541 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 1 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวา

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
โบราณสถานเจดีย์หัก
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ถนน เขางู
ตำบล เจดีย์หัก อำเภอ เมืองราชบุรี จังหวัด ราชบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางศรีไพร รอดจิตต์
ชื่อที่ทำงาน สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
เลขที่ 162 ถนน ไกรเพชร
ตำบล หน้าเมือง อำเภอ เมืองราชบุรี จังหวัด ราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70000
โทรศัพท์ 032-3232267
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่