ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 16' 43.2919"
15.2786922
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 14' 38.004"
104.2438900
เลขที่ : 101754
หอมแดง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
เสนอโดย ssk วันที่ 4 กรกฎาคม 2554
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 730
รายละเอียด

หอมแดงราษีไศลเป็นหอมแดงที่มีเปลือกนอกสีม่วงปนแดงเปลือกหนาและเหนียวขนาดหัวใหญ่ สม่ำเสมอหัวมีลักษณะกลมใน ๑ หัว มี ๑-๒ กลีบ กลิ่นฉุนจัด มีรสหวานระหว่างการเจริญเติบโตจะสร้างดอกและเมล็ดมาก ซึ่งจะต้องหมั่นตรวจดูและเด็ดทิ้งให้หมด มิฉะนั้นจะทำให้ได้ขนาดหัวเล็กและจำนวนหัวน้อยโดยทั่วไป เมื่อปลูก๑ หัวจะแตกกอให้หัวประมาณ๘-๑๐ หัว การแตกกอและลงหัวช้ากว่าหอมบั่วเล็กน้อยมีอายุเมื่อหัวแก่เต็มที่ให้ฤดูหนาว ๑๐๐วันขึ้นไป และฤดูฝน๔๕วันให้ผลผลิตแตกต่างกันไปตามฤดูปลูกและการดูแลรักษาได้ประมาณ๑๐๐๐-๕๐๐๐กิโลกรัม/ไร่การปลูกหอมแดง ในอำเภอราษีไศล มีมากในตำบลหนองหมี ตำบลส้มป่อย ตำบลไผ่ และในหลายๆตำบล เป็นวิถีชีวิตของทั้งอำเภอ ราษีไศล ซึ่งทำรายได้ต่อปีให้กับชาวบ้านที่ปลูกเป็นอย่างมากหอมแดงมีหลายพันธุ์ เช่น หอมลำพูน หอมลับแล และหอมราษีไศล เป็นต้น ระยะเวลาในการปลูกและลักษณะ ก็จะแตกต่างกัน โดยเฉพาะหอมราษีไศล จะมีหัวใหญ่กว่าทั้งสองพันธุ์ ใช้เวลาในการปลูก หรืออายุก่อนการเก็บเกี่ยว ประมาณ ๗๐-๘๐ วัน การปลูกหอมแดงจะปลูกกันปีละสองครั้ง คือ ช่วงเดือนตุลาคม ปลูกหอมแดง ที่จะใช้ทำพันธุ์ และช่วงเดือนธันวาคม จะนำหอมแดงที่เป็นพันธุ์ มาปลูกเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว หอมแดงชอบอากาศหนาว ปลูกในช่วงนี้จะได้ผลผลิตที่ดี หอมแดง มีหัวใหญ่กว่าปลูกในช่วงอื่นๆ ผลผลิตที่ได้จากหอมแดงนอกจาก หัวหอมแดงแล้ว ยังนำผลผลิตที่ได้ คือ ดอกหอมแดง สามารถนำไปทำอาหารได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ลวก นึ่ง ดอง เป็นต้น

นายพิเนตร พรหมศร อายุ ๔๑ ปี เกษตรกรชาวอำเภอราษีไศล ผู้ที่สืบทอดการปลูกหอมแดงในปัจจุบัน เล่าว่าเมื่อสมัยก่อนนั้น การทำหอมพันธุ์นั้นจะทำกันไม่ได้เลย เพราะยังไม่มีวิธีการและความรู้ในการเก็บหอมพันธ์ให้อยู่ได้งานและผลผลิต ที่ได้ก็ไม่มีน้ำหนักจึงคิดหาวิธีหาหอมแดงพันธ์ใหม่ คือ การไปซื้อพันธ์หอมที่ทนต่อสภาพอากาศ โดยนำหอมพันธ์จากชุมชนใกล้เคียงมาพัฒนาเป็นหอมพันธ์พื้นบ้านหอมพันธ์ที่จังหวัดลำพูนช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ในช่วงเดือนสิงหาคม โดยการเดินทางไปซื้อที่จังหวัดลำพูนเอง โดยซื้อมากิโลกรัมละ ๓ บาท/๑,๐๐๐ กิโลกรัม มัดจุกแล้วเก็บเอาไว้ในที่แห้งจากการเปลี่ยนหอมพันธ์ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นและได้นำเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลต่างๆมาใช้ อย่างเช่น เครื่องสูบน้ำ รถไถเดินนาเดินตาม สายยางเพื่อรดน้ำ ในการปลูกก็ใช้วิธีในการปลูกเหมือนอย่างเดิมที่เคยทำรุ่นก่อน ผลผลิตก็เริ่มดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็มีปัญหากับสภาพอากาศที่ร้อนเพราะหอมลำพูนจะสู้อากาศที่ร้อนที่ศรีสะเกษไม่ได้เลยทำให้หอมนั้นเป็นโรคพืชเลยคิดหาวิธีที่จะทำให้หอมนั้นทนต่อสภาพอากาศในชุมชน และค่าใช้จ่ายในแต่ละปีในการเดินทางไปซื้อหอมพันธ์ที่จังหวัดลำพูน ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จึงคิดว่าจะทำหอมพันธ์ที่เป็นพันธ์พื้นบ้านเอง และรักษาหอมพันธ์ไว้สามารถเก็บไว้เองได้

สถานที่ตั้ง
พื้นที่ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ตำบล ส้มป่อย อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 ถนน เทพา
ตำบล เมืองเหนือ อำเภอ เมืองศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33000
โทรศัพท์ 045-617811-12 โทรสาร 045-617812
เว็บไซต์ https://sisaket.m-culture.go.th/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่