พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์คน ที่๒เดิมชื่อขันธ์หรือเชียงขันธ์ เป็นน้องชายตากะจะ(เจ้าเมืองคนที่๑) เป็นหัวหน้าเขมรส่วยป่าดง คู่บารมีพี่ชาย คือตากะจะได้ร่วมจับพญาช้างเผือก ครั้งแตกโรงจากกรุงศรีอยุธยาปีพ.ศ.๒๓๐๒พร้อมคณะทั้ง๕คนได้ความชอบจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงปราบ"ช่วยราชการเมืองขุขันธ์
เมื่อเมืองขุขันธ์ได้ร่วมยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์พ.ศ.๒๓๑๙นั้น หลวงปราบได้แสดงฝีมือให้กองทัพประจักษ์จนได้รับชมว่าเป็นทหารเอกของเมืองขุขันธ์ทำศึกจนชนะ เมื่อยกทัพกลับได้นางคำเวียงหญิงหม้ายตระกูลใหญ่จากประเทศลาวเป็นภรรยาและได้อพยพครอบครัวนางคำเวียงพร้อมด้วยบ่าวไพร่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านบก(บ้านบกหมู่๑๓ต.ห้วย เหนืออ.ขุขันธ์จ.ศรีสะเกษ)และยังได้ท้าวบุญจันทร์บุตรชายของนางคำเวียง มาเป็นบุตรเลี้ยงด้วย
ปีพ.ศ.๒๓๒๒สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(ตากะจะ) ถึงแก่อนิจกรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หลวงปราบเป็นพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองคนที่๒ และได้ย้ายเมืองขุขันธ์จากบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนหรือบ้านดวนใหญ่ไป ตั้งที่เมืองขุขันธ์ในปัจจุบันตามที่พระยาขุขันธ์คนที่1คือ ตากะจะได้วางแผนเอาไว้แล้วในการย้ายเมืองขุขันธ์มาตั้งณที่แห่งใหม่ใน ครั้งนี้ได้มีหลักฐาน
คือการฝังหลักเมืองณมุมวัดกลางอมรินทราวาส(ด้านตะวันตกเฉียงใต้)
ในปีพ.ศ.๒๓๒๕ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระยา ขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(เชียงขันธ์)ได้มีใบบอกขอตั้งท้าวบุญจันทร์ บุตรเลี้ยงเป็น"พระไกร" ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมือง และทรงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนพระนามเจ้าเมืองขุขันธ์จากนามเดิมพระยาไกรภักดี ศรีนครลำดวน เป็น"พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน" จึงทำให้เจ้าเมืองขุขันธ์ต่อๆมาใช้นามในฐานะ เจ้าเมืองขุขันธ์ ว่า "พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมา"พระไกร"ไม่พอใจพระยาขุขันธ์ฯที่มักเรียกพระไกรว่าลูก เชลยเมื่อมีโอกาสจึงกล่าวโทษไปยังกรุงเทพฯว่าพระยาขุขันธ์ฯ(เชียงขันธ์) คิดคบกับญวนต่างประเทศ จะเป็นกบฏ เพื่อพิจารณาคดีที่กรุงเทพฯพระยาขุขันธ์ฯ(เชียงขันธ์)ถูกจำ คุกอยู่กรุงเทพฯ๓ ปีถือว่าเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ คนที่๒ที่สร้างคุณประโยชน์อย่างยิ่งแม้จะอยู่ในตำแหน่งเจ้าเมืองได้๔ปี