พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวนเชียงฆะหรือเชียง เตา) เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ ๔ เดิมชื่อเชียงฆะหรือเชียงเตา เป็นหัวหน้า เขมรป่าดงร่วมคณะผู้นำจับพญาช้างเผือก ส่งกลับกรุงศรีอยุธยา ปี ๒๓๐๒ เมื่อตากะจะได้รับการทรงโปรด เกล้าฯ ให้รับบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงแก้วสุวรรณ" เชียงฆะ ได้รับโปรดเกล้าฯ บรรดาศักดิ์เป็น "หลวงเพชร" หัวหน้านายกอง ว่าราชการดูแลบ้านอัจจะ- บะนึง (สังฆะ) ภายหลังยกฐานะเป็น เมืองสังขะ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงเพชรเป็น "พระสังฆะบุรีนครอัจจะเจ้าเมืองสังขะ"
หลังจากที่กองทัพกรุงเทพฯ ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เรียบร้อยแล้ว เมือง ขุขันธ์ขาดเจ้าเมืองปกครอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ(เชียงฆะ) มาเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์โปรดเกล้าฯ ให้พระใน (ท้าวใน) เป็นพระภักดีภูธรสงครามปลัดเมือง โปรดเกล้าฯ ให้พระสุเพี้ยน(ท้าวนวน) เป็นพระมนตรี ยกบัตรเมือง หลังทรงโปรดเกล้าฯให้ท้าวหล้า (บุตรพระยาขุขันธ์(เชียงขันธ์) เป็นพระ มหาดไทย และให้ท้าวอินทร์ บุตรพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ (เชียงฆะ) เป็น"พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ" เจ้าเมืองสังขะ แทนบิดา
พระยาขุขันธ์ฯ (เชียงฆะ) ได้สร้างความเจริญความเป็นปึกแผ่น มั่นคงให้แก่เมืองขุขันธ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะได้ทำศึกสงครามกับเขมรและญวน ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖และพ.ศ. ๒๓๘๓ ได้ขอพระบรมราชานุญาตตั้งบ้านไพรตระหนักหรือบ้านสีดาขึ้นเป็นเมืองโดยได้นามเมืองว่า "เมืองมโนไพร" และ โปรดเกล้าฯ ให้หลวงภักดีคำนาหรือทิดพรหม เสมียนตราเมืองขุขันธ์ เป็นเจ้าเมืองนโนไพรพระยาภักดีศรีนครลำดวน(เชียงฆะ) ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. ๒๓๙๓ ได้อยู่ในตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ได้ ๒๒ ปี