พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(ปัญญาขุขันธิน)เจ้า เมืองขุขันธ์คนที่๙เดิมชื่อท้าวปานเป็นบุตรของพระยาขุขันธ์ฯคน ที่๘(ท้าววัง) เป็นหลานพระยาขุขันธ์ฯ(เชียงขันธ์)และเป็นพี่ชายของท้าวบุญจันทร์(ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏผีบุญ)ปีพ.ศ๒๔๒๖ ท้าวปานกับ
พระรัตนวงษา(จันดี)ได้นำช้างพังสีประหลาดและช้างพังตาดำนำทูลเกล้าฯถวายณกรุงเทพมหานครการแสดงถึงความจงรักภักดีครั้งนี้จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งท้าวปานเป็น"พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน "เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่๙ และโปรดเกล้าฯ ให้พระรัตนวงษา
เป็นปลัดเมืองขุขันธ์บริหารราชการเมืองต่อไป
ปีพ.ศ.๒๔๒๘รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ตัดทางโทรเลขจากนครจำปาศักดิ์ไปเมืองขุขันธ์ จากเมืองขุขันธ์ไปเมืองเสียมราชโดยเกณฑ์ เมืองขุขันธ์เมืองสังขะตรวจตัดทางโทรเลขอยู่ ณ เมืองขุขันธ์อุทุมพรพิสัยและมโนไพร
ปีพ.ศ.๒๔๓๓ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชการบริหารแผ่นดินมากมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ข้าหลวงใหญ่ที่มีอำนาจเต็มในภาคอิสานให้ทำการแทนพระเนตรพระกรรณโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ประทับณ
เมืองอุบลราชธานีเรียกหัวเมืองลาวกาว
ปีพ.ศ.๒๔๓๘ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระศรีพิทักษ์(หว่าง)เป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์ปีพ.ศ.๒๔๓๖ฝรั่งเศสยกกองทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง สีทันดรสามโคกซึ่งเป็นอาณาจักรไทยเมือขุขันธ์เมืองสุรินทร์เมืองศรีสะเกษเมืองมหาสารคามและเมืองร้อยเอ็ด
เมืองละ๘๐๐และเมืองสุวรรณภูมิเมืองยโสธรเมืองละ๕๐๐คนให้ฝึกการรบดีแล้วให้ส่งกำลังเข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสและในเดือนตุลาคมเหตุการณ์จึงสงบโดยต่างฝ่ายต่างถอนกำลังทหารออก
ปีพ.ศ.๒๔๓๖ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปอำลาตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์แทน
ปีพ.ศ.๒๔๓๗ทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนมณฑลเทศาภิบาลมณฑลลาวกาวเดิมเป็นมณฑลอิสาน
ปีพ.ศ.๒๔๔๓ทางราชการได้ยุบเมืองเล็กลงเป็นอำเภอและแบ่งเมืองใหญ่ออกเป็นหลายอำเภอพร้อมกับแต่งตั้งตำแหน่งผู้ปกครองเมืองและผู้ปกครองอำเภอขึ้นใหม่และในปีนี้เองที่ท้าวบุญจันทร์ท้าวทันและหลวง รัตนกรมการเมืองที่หมดอำนาจไม่ได้รับแต่งตั้งใดๆเกิดความไม่พอใจ ได้มีปฏิกิริยาต่อต้านทางการจนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏผีบุญ จึงถูกปราบและเหตุการณ์ได้สงบลงปีพ.ศ.๒๔๔๗ ได้ย้ายที่ทำการเมืองขุขันธ์ มาตั้งที่อำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบันและยังคงใช้ชื่อเดิมว่า"เมืองขุ ขันธ์"และต่อมาเปลี่ยนอำเภอขุขันธ์เป็นอำเภอ "ห้วยเหนือ" ปีพ.ศ.๒๔๕๐มณฑลอิสานแบ่งออกเป็น๒บริเวณคือบริเวณอุบลราชธานีบริเวณร้อยเอ็ดบริเวณสุรินทร์บริเวณขุขันธ์และบริเวณ ขุขันธ์แบ่งออกเป็น๓เมืองคือ
๑.เมืองขุขันธ์พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(ปัญญาขุขันธิน)เป็น ผู้ว่าราชการเมืองมี๓อำเภอคืออำเภอเมืองขุขันธ์อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอเมืองกันทรลักษ์
๒.เมืองศรีสะเกษพระยาภักดีศรีนครลำดวน(เหง้า)เป็นผู้ว่าราชการเมืองมี๔อำเภอ
๓.เมืองเดชอุดมพระสุรเดชอุตมาภิรักษ์(ทองปัญญา)เป็นผู้ว่าราชการเมืองมี๓เมือง
ปีพ.ศ.๒๔๕๕ในรัชการที่๖แยกมณฑลอิสานออกเป็น๒มณฑลคือมณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุทุมพรพิสัยมณฑลอุบลราชธานีมีเมืองในสังกัด๓เมืองคือ
๑.เมืองอุบลราชธานี
๒.เมืองขุขันธ์
๓.เมืองสุรินทร์
ปีพ.ศ.๒๔๕๙รัชสมัยรัชกาลที่๖กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนชื่อ เมืองทุกเมืองเป็นจังหวัดผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เมืองขุขันธ์เปลี่ยนเป็น จังหวัดขุขันธ์เมื่อวันที่๑๙พฤษภาคม๒๔๕๙
ปีพ.ศ.๒๔๘๑รัชสมัยรัชกาลที่๗มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อจังหวัด ขุขันธ์เป็นจังหวัดศรีสะเกษและเปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์เป็นอำเภอห้วยเหนือ มีหลวงสุรรัตนมัย (บุญมีขุขันธิน)เป็นนายอำเภอคนแรกเมืองขุขันธ์จึงเป็นอำเภอหนึ่งของ จังหวัดศรีสะเกษ
เนื่องจากพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน(ปัญญาขุขันธิน)เริ่มรับ ตำแหน่งเจ้าเมืองเมื่ออายุ๒๖ปีพ.ศ.๒๔๒๖ถึงปีที่มีการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งในปีพ.ศ.๒๔๕๕ได้แสดงความรับผิดชอบในโดยไม่ขอรับตำแหน่งใดๆแต่ได้สนับ สนุนให้พระยาบำรุงบุระประจันต์(จันดี)ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นพ่อตาให้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษคนแรกและสนับสนุนหลวงสุ ระรัตนมัย(บุญมีขุขันธิน)ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นบุตรเขยให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอขุขันธ์รวมอยู่ในตำแหน่งราชการ๒๙ปีและถึงแก่ อนิจกรรมปีพ.ศ.๒๔๗๐ รวมอายุได้๗๐ปีนับเป็นเจ้าเมืองคนที่๙ (คนสุดท้าย)ของตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์