ความเป็นมา
บรรพบุรุษบ้านผักคำภู มีอาชีพทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้ายเข็นมือ ย้อมคราม/ย้อมเปลือกไม้ เอาไว้ใช้ในครัวเรือน และทำเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ต่อมาลูกหลานได้ตระหนักที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อสืบสานอนุรักษ์และต่อยอดให้เกิดอาชีพ จึงได้มีการรวมกลุ่มกันระหว่าง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้สูงผู้สูงอายุ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้รับจ้างทั่วไปทุกเพศทุกวัย
เมื่อรวมกลุ่มกันแล้วจึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือขับเคลื่อน การตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อความยั่งยืนและการพัฒนาอย่างเป็นระบบ จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยอาสาสมัครแรงงานประจำตำบล เทศบาลตำบลนาใน ที่ประชุมได้มีแลกเปลี่ยนแนวคิดในการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามและสีเปลือกไม้ ซึ่งเป็นไปยุทธศาสตร์ ”สกลนครเมืองผ้าคราม” แต่เนื่องจากว่าในตำบลนาใน มีกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านอูนดง-หนองไชยวาลย์ ซึ่งเป็น Otop ระดับ 5ดาว ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว หากจัดตั้งกลุ่มทอผ้าย้อมครามเหมือนกัน ก็จะทำให้เกิดการทับซ้อน และจะไม่สามารถแข่งขันทางการตลาดกับกลุ่มเดิมที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว จึงได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษากลุ่ม ปลัดเทศบาลตำบลนาใน ให้คำแนะนำ จัดตั้งกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีเปลือกไม้ เพื่อให้เกิดความแตกต่างและไม่ทับซ้อนกลุ่ม Otop ที่มีอยู่แล้ว
แรกเริ่มก่อตั้งกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีเปลือกไม้ บ้านผักคำภู ได้รับความอนุเคราะห์งบประมาณในการฝึกอบรมพัฒนาให้ความรู้และวัสดุอุปกรณ์ ในการทอผ้าฝ้ายย้อมสีเปลือกไม้ให้มีคุณภาพ ผ่านเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานประจำตำบลนาใน ตามโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ ประจำปี 2560 - 2561 จากสำนักงานแรงงานจังหวัดสกลนคร
สมาชิก
สมาชิกเป็นประชาชนบ้านผักคำภู ทั้ง 3หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านผักคำภู ม.6, ม.9, ม.11แรกเริ่ม ปี 2560 ถึงปัจจุบัน มีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด จำนวน 66 ราย
วิสัยทัศน์ของกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายย้อมสีเปลือกไม้ หลากหลายสีสัน สู่ OTOP 5 ดาว
หลักสำคัญ
1. พัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน มผช. สู่การคัดสรรดาว
2. พัฒนาการตลาดสู่ตลาดภายในและต่างประเทศ
3. พัฒนาสีสันจากธรรมชาติให้หลากหลาย
4. สร้างความพอเพียงให้กลุ่มและชุมชน
การบริหารจัดการ
แผนการผลิต/ตลาด
ฝ่ายการตลาดวิเคราะห์การตลาดล่วงหน้า ตามห้วงฤดูกาล รวมถึงการเตรียมวัตถุดิบล่วงหน้า เพื่อการผลิตและรับงานสั่งทอ ประเภทผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าห่ม ผ้าเมตร
คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการผลิต ตั้งแต่ การคัดเลือกเส้นฝ้าย /การย้อม / การทอ / กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ส่งต่อให้กับลูกค้า
กระจายช่องทางการจำหน่ายสินค้า ผ่านการตลาดออนไลน์ และผ่านร้านค้าปลีกย่อยเกี่ยวกับผ้า และร้านค้าที่แปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า เพื่อเพิ่มปริมาณและยอดจำหน่ายสินค้า โดยใช้โมเดล เซเว่น มีตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ
การสร้างความยั่งยืนให้กับกลุ่มและชุมชน โดยยึดหลักความพอเพียง สมาชิกกลุ่มมี 3สร้าง
กิจกรรมความมั่นคงทางอาหาร
การปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เลี้ยงวัวพื้นบ้าน ทำนา
อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำร่วมกับชุมชน เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารในชุมชน
การสร้างความยั่งยืนของกลุ่ม โดยยึดหลักความพอเพียงสมาชิกกลุ่มมี 3สร้าง
กิจกรรมสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
ปลูกฝ้ายผสมผสาน
การปลูกป่าชุมชน เพื่อสร้างวัตถุดิบทางด้านสีธรรมชาติ
การคัดแยกขยะในครัวเรือน เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน เนื่องจากเทศบาลตำบลนาใน ไม่มีบริการเก็บ ขน และกำจัดขยะ เพื่อออมตามโครงการสวัสดิการชุมชน เทศบาลตำบลนาใน และนำเงินมาสงเคราะห์สมาชิกที่สูญเสียชีวิต ศพละ 14,300บาท นอนโรงพยาบาล ปีละ ไม่เกิน 300บาท/ครัวเรือน คลอดบุตร ปีละไม่เกิน 500 บาท/ครัวเรือน
การสร้างความยั่งยืนของกลุ่ม โดยยึดหลักความพอเพียงสมาชิกกลุ่ม มี 3สร้าง
กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
1. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน กลุ่มมีกองทุนมาจากการออมของสมาชิกและให้สมาชิกยืม จำนวนทั้งสิ้น 33,000 บาท
2. วัสดุสิ่งของในการผลิต เช่น กี่ทอ อัก ฟืม ฝ้าย ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลนาใน ปีละ 30,000 บาท เพื่อให้สมาชิกหมุนเวียนยืมใช้ในการผลิต โดยไม่มีดอกเบี้ย
แผนการควบคุมวัตถุดิบ
ตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านสีธรรมชาติ การย้อม การทอ ให้มีความหลากหลายทางสีสัน และมีความคงทนและมีคุณภาพ
1. สี
2. เส้นใย+ที่มีคุณภาพ
3. ออกแบบลวดลาย ตามความต้องการของตลาด
4. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าพันคอ ขนาดกว้าง 40ซม. ยาว 200ซม. คลุมไหล่ ขนาดกว้าง 80ซม. ยาว 200ซม. ผ้าห่ม ขนาดกว้าง 100 ซม. ยาว 200ซม. ผ้าเมตร หน้ากว้าง 100 ซม.
การจัดทำระเบียบข้อบังคับ
คณะกรรมการมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อติดตาม มอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่
สมาชิกประชุมเป็นประจำทุก 2 เดือน
การปันผล /สวัสดิการเงินทุนหมุนเวียน
การจัดทำบัญชี